การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานหรือไม่ คนไทยตอบว่า “ควร” แต่…
อ่าน: 3385สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษ รายงานผลของการสำรวจอันหนึ่งว่า Internet access is ‘a fundamental right’ ซึ่งบีบีซีทำการสำรวจ “ผู้ใหญ่” สองหมื่นเจ็ดพันคน ใน 26 ประเทศ ซึ่งผลสำรวจโดยละเอียดดาวน์โหลดได้ที่นี่
การสำรวจนี้ รวมการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมืองไทยด้วย กับคนหนึ่งพันคนในเขตเมือง ระหว่าง 6-27 มกราคม ปีนี้ (แต่เค้าไม่ได้ถามผม และผมไม่เคยโดนสุ่มถามโดยโพลไหนๆ เลย)
Thailand
While Thai web users believe very strongly that internet access should be a fundamental right (91%), they emerge as somewhat more wary than average about expressing their opinions online—58 per cent disagree that the internet is a safe place to do this, compared to a little over two in five who agree (42%). In this, opinion in Thailand is closer to opinion in Japan than to other Asian developing economies in the sample. Nevertheless, a higher proportion than average (83%) agrees that the internet has increased their freedom. Social networking sites are also more popular in Thailand than in many other countries—two-thirds of Thai web users say they enjoy spending their spare time on such sites. While fraud is the main public concern relating to the internet across the 26 countries, violent and explicit content is clearly the greatest worry for Thai respondents (42%).
ในฝั่งทั้งของผู้ออกกฎหมายและผู้รักษากฎหมาย ผมคิดว่าทั้งคู่ยังเข้าใจธรรมชาติของอินเทอร์เน็ต คลาดเคลื่อนไปมาก
- ใครจะไปดูอะไร ที่ไหนนั้น ผู้ชมเค้าเลือกไปของเค้าเอง ไม่มีใครไปบังคับเขา หรือบังคับให้ไปดูอะไร
- แต่ก็จริงอยู่ที่มีหลายอย่างที่ล่อแหลม หรือแม้แต่ผิดกฎหมาย ซึ่งถ้าผิดก็ต้องจับ ไม่ใช่ปกปิดทำเป็นว่าไม่มีปัญหานะครับ
- การปิดกั้นไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย ตำรวจก็เคยบ่นมาเกือบสี่ปีแล้ว http://bit.ly/9uyEG0
- มาตรา 36 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รองรับเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย และ “ห้าม” การตรวจ กัก ดัก แอบดู หรือเปิดเผย ข้อความที่สื่อถึงกัน — ยกเว้นว่าจะมีกฎหมายกำหนดไว้ *และ* จะต้องเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษา ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อีกด้วย
Next : จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน จากมุมมองของมนุษย์ธรรมดา » »
4 ความคิดเห็น
เห็นด้วยเลยค่ะ คนจะออกกฏหมาย คนจะบังคับใช้กฏหมาย ควรมีข้อกำหนดให้ต้องออนไลน์อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 1 เดือน
และต้องใช้บริการทุกอย่างที่ประชาชนเขาใช้กัน จะได้เข้าใจวิถีชีวิตคนออนไลน์ได้ เรียนรู้จากตำรา กับแค่นั่งคิดแล้วสั่งเนี่ย เชยมาก
เจอบทความนี้ค่ะ น่าสนใจดี เห็นว่าต่อเนื่องจาก blog นี้พอดี
78% of adults believe Internet access a fundamental right; 50% want no regulation
อย่างไรก็ตาม กฎหมายเป็นกติกาของสังคม จะชอบหรือไม่ชอบก็ต้องรับนะครับ บกพร่องตรงไหน บอกสอสอ (ฮา)