π เพื่ออะไร?

โดย Logos เมื่อ 15 March 2009 เวลา 0:05 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 3276

ค่าไพ (Pi π) เป็นค่าคงที่ที่รู้จักกันดีทั่วโลก π เป็นสัดส่วนระหว่างเส้นรอบวงของวงกลมกับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมวงเดียวกัน สำหรับคนทั่วไป ใช้ค่า 3.14 หรือ 22/7 ก็พอแล้ว ในการคำนวณทางเทคนิคที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง ก็ใช้ค่า 3.14159

อาร์คีมิดีส (287-212ก่อนคริสต์กาล) เคย “วัด” ค่า π ไว้ที่ 3.1419 เมื่อเขาศึกษาวงกลม; ต่อมาในปี ค.ศ. 480 ปราชญ์จีนชื่อ Zu Chongzhi ได้คำนวณค่า π ไว้ที่ 3.1415926 ซึ่งเป็นค่าที่เที่ยงตรงที่สุดในโลกต่อมาเป็นเวลา 900 ปี; จำนวนทศนิยมของ π ยาวขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการช่วยเหลือของคอมพิวเตอร์ ทะลุพันล้านตำแหน่งในปี ค.ศ.1989 สองแสนล้านตำแหน่งในปีถัดมา และไปถึง 1.24 ล้านล้านตำแหน่งในปี 2005 ด้วยสูตรการประมาณค่า

สำหรับมนุษย์ สถิติโลกการจำค่า π ได้ตามที่หนังสือกินเนสบันทึกไว้ เป็นของนักศึกษาชาวจีน อายุ 24 ซึ่งจำได้เลขหลังจุดทศนิยมได้ 67,890 ตำแหน่ง ใช้เวลาท่องออกมา 24 ชั่วโมง 4 นาที โดยไม่ผิดเลย

มีการกล่าวอ้าง แต่ไม่มีผู้ยืนยันว่า Akira Haraguchi อายุ 60 ปี ชาวญี่ปุ่น ได้ท่องค่า π ได้ 83,431 ตำแหน่งระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2005 — ข่าวบางกระแสอ้างว่าเขาท่องได้ถึงหนึ่งแสนตำแหน่งในปีถัดมา

สถิติของประเทศไทยเป็นของ James Brennan อายุ 10 ปี ท่องได้ 410 ตำแหน่ง ใช้เวลา 4 นาที อยู่ที่ลำดับ 74 ของโลก

เขียนมาตั้งนาน ผมไม่รู้ว่าเขาท่องกันไปทำไม (และผมเขียนเรื่องนี้ทำไม)

« « Prev : บ้านประหยัดพลังงาน

Next : Practical Utopia สัมภาษณ์ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 March 2009 เวลา 10:07

    เป็นเรื่องดีสำหรับคนที่่ไม่อยู่ในวงการนี้ จะได้รู้ความเคลื่อนไหวว่าโลกเขาไปถึงไหน

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 March 2009 เวลา 11:27

    นักพัฒนาสังคมแบ่งความรู้ออกเป็น 3 กลุ่มคือ

    1. ความรู้ที่จำเป็นต้องรู้
    2. ความรู้ที่ควรรู้
    3. ความรู้ที่รู้ก็ได้ ไม่รู้ก็ได้

    คนมีความหลากหลายโดยเฉพาะ พื้นฐานความเป็นคนที่ดี กับหน้าที่การงาน ดังนั้น ความรู้ชุดหนึ่งนั้น จึงอยู่ในระดับที่ต่างกันตามเงื่อนไขของบุคคลนั้น สำหรับความรู้เรื่อง pi นั้น สำหรับเราแล้ว รู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้  แต่เราก็ถือว่า รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม อิอิ

    เอามาเถอะ ความรู้ทั้งหมดนั้นสักวันหนึ่งในชีวิตอาจจำเป็นอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อนก็ได้ครับ

  • #3 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 March 2009 เวลา 11:57

    ค่าไพจำนวนมากๆนั้นใช้ีประโยชน์อะไรได้บ้างคะ นอกจากแข่งกันจำ ..มีประโยชน์ในการคำนวณอะไรที่ต้องการความละเอียดสูงๆหรือเปล่า?

  • #4 handyman ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 March 2009 เวลา 16:45
    • ส่วนผมนั้นจะเตือนนักศึกษาบ่อยๆว่า .. อย่ามัวแต่เรียน(แบบเดิมๆ) มากนัก  เดี๋ยวจะโง่  มีแต่ความรู้(แท้จริงคือความจำ)  ทำอะไรไม่เป็น
    • เรียนรู้เพื่อจะไปทำอะไรที่มีประโยชน์ มีคุณค่าให้ได้ดี และสำเร็จ นั้นคือทางที่น่าจะเดิน
    • เมื่อรักการทำงาน .. เส้นทางแห่งการงานอันบริสุทธิ์ จะทำให้เราทนไม่ได้ที่จะไม่ แสวงหาความรู้ ตามความจำเป็น มาช่วยในการทำงาน เกิดการเรียนรู้แบบเพลิดเพลินได้ ไม่ต้องมีใครมาฉุดกระชาก ลากถูอย่างที่เห็นๆกันอยู่
    • ผิด ถูกอย่างไรไม่ทราบได้  แต่ผมเชื่อของผมอย่างนั้น  โดยเฉพาะตามลักษณะวิชาชีพของนักศึกษาที่ผมสอนๆอยู่
  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 March 2009 เวลา 19:51
    π เป็นตัวอย่างของจำนวนอตรรกยะ (irrational number หรือจำนวนที่ไม่สามารถแสดงในรูปของเศษส่วนได้ ทำให้เวลาเขียนเป็นเลขทศนิยมแล้ว มีตัวเลขไม่รู้จบ); จำนวนอตรรกยะอื่นก็เช่น √2 หรือ e

    ทั้งระยะและเวลา ยากมากที่มนุษย์จะสร้าง precision ที่เที่ยงตรงขนาดหนึ่งในล้าน ดังนั้นเลขหลังทศนิยมห้าหกหลัก (3.1415926) ก็เหลือแหล่แล้วครับ

    ส่วนที่ละเอียดกว่านั้น เช่นการเดินทางระหว่างดวงดาว ตำแหน่งดาวที่สังเกตเห็นบนโลกก็ไม่เที่ยงตรง เนื่องจากแสงโค้งได้ในอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงสูง ดังนั้นจึงมีการค่อยๆปรับวิถีในขณะที่เคลื่อนที่ไป

    ผมเห็นด้วยกับทุกความเห็น ขอบคุณครับ

  • #6 nontster ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 March 2009 เวลา 23:29

    คิดถึงค่าไพจัง


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.57593393325806 sec
Sidebar: 0.39192986488342 sec