การสื่อสารฉุกเฉิน

อ่าน: 3567

เหลือบไปเห็นข้อความร้องขอความช่วยเหลือใน facebook แต่เพราะผมเล่น facebook ไม่ค่อยเป็นครับ ไม่รู้จะให้ความเห็นอย่างไร

สนข.เด็กและเยาวชน ขบวนการตาสับปะรด was tagged in his own album.

ใครช่วยแนะนำที กรณีสึนามีทั้งที่ไทยและญี่ปุ่น ปัญหาใหญ่คือการติดต่อส่งข่าวสื่อสารระหว่างกัน ท่านใดมีข้อเสนอแนะดีๆบ้างไหมครับ การสื่อสารในยามวิกฤติ จะใช้วิธีใด

ประเด็นเรื่องการสื่อสารฉุกเฉินนี้ มีปฏิญญา Tampere ว่าด้วยการช่วยเหลือจากนานาชาติสำหรับการสื่อสารฉุกเฉินครับ รายละเอียดอ่านได้ที่นี่ แต่เมื่อตรวจดูในรายละเอียดแล้ว ทั้งญี่ปุ่นและไทย ไม่ได้ให้สัตยาบันในปฏิญญาฉบับนี้

ก็หมายความว่า จะไม่มีกระบวนการนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารฉุกเฉินเข้ามาช่วยเหลือภัยพิบัติในประเทศ หรือผ่านแดนไปช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านอย่างรวดเร็วเป็นกรณีฉุกเฉิน… การนำอุปกรณ์เข้ามาช่วยเหลือ จะต้องผ่านกระบวนการพิธีทางศุลกากรตามปกติ คำว่า “ปกติ” นี่ล่ะครับ ที่เป็นปัญหา…ผมไม่บ่นดีกว่า

ช่วงที่เกิดภัยน้ำท่วมต่อกับภัยหนาว มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งกรุณานัดหมายให้ได้พบกรรมาธิการชั้นผู้ใหญ่ของวุฒิสภา ก็ได้พูดกันเรื่องเมืองไทยไม่ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาอันนี้ครับ แต่ว่า…เรื่องก็ไม่ไปไหน ส่วนหนึ่งเพราะช่วงนั้นกำลังจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 มีเรื่องวาระของวุฒิสมาชิกกำลังจะหมดลง และมีเรื่อง กสทช. และอะไรต่อมิอะไร… ถูกช่องทางแต่ไม่ถูกเวลาครับ

สำหรับกรณีประเทศไทย ผมเคยเขียนเรื่องนัยของปฏิญญา Tampere เอาไว้ใน [ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (6)] เมื่อคราวน้ำเริ่มท่วมหนักและกำลังจะลามครับ

เอาล่ะ… ในเมื่อความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เข้ามาได้ยากแล้ว เราก็ต้องช่วยตัวเองล่ะซิ… ซึ่งก็มีหลายฝ่ายพยายามผลักดันกันหลายทาง เช่นสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร้องขอต่อ กทช.ตลอดมา (ตั้งแต่เริ่มมี กทช.) ว่าขอความถี่สำหรับการสื่อสารฉุกเฉิน ผลคือได้ขอ แต่ไม่ได้ความถี่ครับ มูลนิธิผมก็ขอให้ กทช. สนับสนุนเรื่องระบบการสื่อสารฉุกเฉิน และระบบประสานงานความช่วยเหลือสำหรับภัยพิบัติ (ซึ่งอันหลังมั่วมาก ไม่มีระบบ ต่างคนต่างทำ และแย่งกันทำโดยไม่ค่อยมีการประสานงานกัน) กทช. ปฏิเสธเช่นเคย

จนกระทั่งไปคุยกับกรรมาธิการผู้ใหญ่ที่เล่าให้ฟังข้างบนนั่นแหละครับ — ที่จริงไม่ได้ไปขออะไรด้วยซ้ำ เพียงแต่ไปเล่าว่าเมืองไทยยังขาดอะไร — กทช. จึงบอกให้เอาเรื่องเก่าไปเสนอใหม่อีกที แต่ว่า กทช. เองก็หมดอายุลง เปลี่ยนเป็นรักษาการ กสทช. แทน

ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่การบ่นหรือโวยวายหรอกนะครับ กทช. มีกฏกติกาของ กทช. ซึ่งเราก็ต้องเคารพ แต่สรุปว่าเมืองไทยยังไม่มีสิ่งที่ควรจะมี

สภากาชาดสากลเคยขอให้เราเป็นศูนย์กลางการจัดการภัยพิบัติในอุษาคเนย์ พร้อมทั้งเสนอพื้นที่สำนักงานในเจนีวาให้ฟรี แต่ผมปฏิเสธไปครับ เราไม่พร้อมอยู่ดี

พอ กสทช. ตั้งได้แล้ว คงมีงานอีกล้านอย่างที่จะต้องทำ อันที่น่าจะฮ็อตมากๆ คงเป็นการประมูลความถี่ กุ๊ก..กุ๊ก..กู๋ ​(3G)

ดังนั้นเรื่องการสื่อสารฉุกเฉินนี้ ก็คงต้องรอต่อไปนะครับ ผมว่าเกิดภัยใหญ่ครั้งหน้า ก็คงยังไม่มีตามเคย

เอวํ ด้วยประการฉะนี้

« « Prev : อาหารสำหรับกรณีฉุกเฉิน

Next : ตาข่ายคลุมฟ้า (2) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

8 ความคิดเห็น

  • #1 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 March 2011 เวลา 8:09

    เรื่องวิทยุ เดี่ยวนี้มันมีน้อยมากแล้วไม่ใช่หรือครับ

    มือถือ sms  ระหัส sos อะไรทำนองนี้น่าจะสะดวกกว่าไหมครับ

    เช่น คนที่ติดอยู่ในซากปรักหักพังของตึกถล่ม ถ้ากดมือถือส่งสัญญาณได้ก็น่าจะดี โดยเฉพาะถ้ามีพิกัด GPS บอกด้วย

    ถ้าทำแบบว่าผู้ร้องขอกดสัญญาณฉุกเฉินฉึกเดียวบอกอะไรได้หมดทุกอย่างก็จะดีนะครับ แม้ไม่มีเงินก็โทรออกได้

    ทีสำคัญ แบตหมด จะทำอย่างไร ต้องทำมือถือแบบเติมแบตได้ด้วยตนเอง เช่นโดยการเอามือถู เอามือหมุนไมโครมอเตอร์ที่ติดอยู่ในตัวแบต (ไม่โครมอเตอร์นี้ผมว่าน่าทำเป็นโครงการวิจัยได้สบายๆ เพราะไทยเรามีศูนย์ซินโครตรอนแล้ว ตั้งอยู่ในบริเวณม.ผมนี่แหละ )

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 March 2011 เวลา 16:57
    มือถือที่ขายในสหรัฐหลังเหตุการณ์ 9/11 มีข้อกำหนดให้ระบุตำแหน่งด้วย A-GPS ได้ครับ ซึ่งก็หมายความว่ามือถือใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก smart phone ก็ทำอย่างนี้ได้ทั้งนั้น แต่มือถือพวกนี้มีราคาแพง แถมใช้พลังงานเยอะ ไม่ใช่แบบที่ชาวบ้านเอื้อมถึงนะครับ

    A-GPS คำนวณพิกัดของมือถือ ด้วยพิกัดที่ส่งมาจากสถานีฐาน ดังนั้นระบบ A-GPS จึงมีสมมุติฐานอันใหญ่ว่าสถานีฐานที่อยู่ใกล้ๆ จะยังไม่เจ๊งไป และความช่วยเหลือเข้ามาถึงอย่างรวดเร็วก่อนแบตหมด สมมุติฐานทั้งสองกรณี อาจจะเป็นไปได้ยากสำหรับกรณีสึนามิ หรือภัยที่เกิดขึ้นในบริเวณกว้างมาก จนความช่วยเหลือต้องกระจายออกในวงกว้าง… มีเอาไว้ ดีกว่าไม่มี แต่มีเอาไว้ในขณะที่ผู้ช่วยเหลือไม่มีวิธีค้นหา ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรหรอกครับ

    ข่าวนี้ดูเหมือนดี ข้อเท็จจริงก็คือภาคประชาชนไม่มีความถี่ฉุกเฉินใช้ เมื่อไม่มีความถี่ ก็ไม่มีเครื่องวิทยุ ถ้าจะใช้ทำงานก็ต้องมาอาสาช่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจซึ่งอยู่ในที่ตั้ง มันกลับกันหรือเปล่าครับ ตามรัฐธรรมนูญ(40และ50) ความถี่เป็นเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็น่าจะจัดสรรให้ใช้ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะจริงๆ นะครับ

    วิทยุคือการติดต่อระหว่างเครื่องต่อเครื่องในพื้นที่ ไม่ต้องพึ่งสถานีฐานซึ่งอาจจะไม่อยู่แล้ว และรัศมีของวิทยุนั้นไกลกว่ามือถือ (~10 เท่า) สถานีฐานที่จะทวนสัญญาณ อยู่ห่างออกไปเป็นสิบกม. ซึ่งอาจอยู่นอกพื้นที่ภัยพิบัติครับ เมื่อคราวสึนามิปี 2547 โทรทัศน์ไทยมีเกมโชว์ไม่มีข่าว บีบีซีออกข่าวช่องแรก แต่วิทยุสมัครเล่นรายงานก่อนนั้นแล้วและรู้กันไปทั่วโลกแล้ว

    ผู้ที่สอบใบอนุญาตวิทยุสมัครเล่นได้และใช้งานอยู่เป็นประจำ มีประมาณ 2-3 หมื่นคนกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ (สอบได้สองสามแสนคน) ดังนั้นข่าวจากพื้นที่ เร็วกว่าสื่อหรือรัฐอีกนะครับ

  • #3 ลานซักล้าง » ตาข่ายคลุมฟ้า (2) ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 March 2011 เวลา 18:54

    [...] บันทึกที่แล้ว เขียนเรื่อยเจื้อยไปจนจบ จึงเพิ่งนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้แนะทางออกเลย [...]

  • #4 maeyai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 March 2011 เวลา 8:36

    เล่นเฟสบุคง่ายกว่าลานปัญญาแยะเลยค่ะ แต่เล่นลานปัญญาก็ลับสมองดีเหมือนกัน   ขณะนี้ยังทำไม่ได้อีกหลายเรื่อง  อ่านคำแนะนำแล้วก็ยังงงๆ

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 March 2011 เวลา 13:49
    เทียบอย่างนี้ดีกว่าครับ เฟซบุคเหมือนความรู้ในตำรา สะดวกดี มีหลักสูตร มีมาตรฐานการศึกษามาครอบ ทำได้เฉพาะที่เขาเปิดให้ทำ

    ระบบ Wordpress ที่ลานปัญญาใช้ ว่ากันที่จริง ก็เป็นบล็อกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกเหมือนกัน มีลูกเล่นเยอะแต่เราดัดแปลงเยอะเหมือนกันเพื่อให้เข้ากับสมาชิก สมาชิกจะทำอะไรกับบล็อกของตัวเองก็ทำได้ ตราบใดที่ไม่รบกวนเสถียรภาพของระบบใหญ่ คำอธิบายจึงวุ่นวายเหมือนความรู้นอกตำรานะครับ

    เวลาปีนข้ามกำแพงมาแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องย้อนกลับไปปีนอีกครั้งหนึ่ง การตั้งค่าต่างๆ ยุ่งยาก (เพราะมันทำอะไรได้เยอะแยะไปหมด) แต่เมื่อได้ค่าที่พอใจแล้ว ก็ไม่ต้องตั้งใหม่นี่ครับ

    ส่วนจะทำอะไร แบบไหน เป็นสิ่งที่ทุกคนจะพิจารณาเอง เพราะว่าคนเราไม่ได้เหมาะกับทางเลือกทุกแบบ และลานปัญญาก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคนครับ คำแนะนำในลานปัญญา ส่วนที่สมาชิกเขียนก็เป็นประสบการณ์ของสมาชิก ถ้าเปลี่ยนไปดูภาษาอังกฤษ จะให้ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งนะครับ

  • #6 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 March 2011 เวลา 14:16

    ไม่ว่าวิธีไหนที่พูดมาต้องไช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งนั้น เวลาวิกฤติไม่มีไฟ้าฟ้าใช้ อะไรที่ไฮเทค เดทหมด  จะทำอย่างไร ช่วยตัวเองคือวิธีที่ดีที่สุด สอนให้คนเจริญสติ เกิดวิกฤติก็ยังควบคุมสติได้ สามารถช่วยตัวเองได้ระดับหนึ่ง เมื่อฝืนธรรมชาติไม่ได้ก็ยอมรับความเป็นจริงของธรรมชาติค่ะ

  • #7 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 March 2011 เวลา 14:36
    การเตรียมพร้อมนั้น คือการเตรียมการก่อนเกิดเหตุครับ แต่ถ้าทำเมื่อเกิดเหตุไปแล้ว ก็ไม่เรียกว่าเตรียมพร้อมนะครับ

    มนุษย์กระจ้อยร่อย ไม่มีปัญญาไปฝืนธรรมชาติแบบพี่ว่าจริงๆ แทนที่จะปล่อยไปตามยถากรรม ควรจะเตรียมตัว+บอกเพื่อนพ้องเท่าที่ทำได้ตามหน้าที่ของกัลยาณมิตร ไม่ใช่หรือครับ

  • #8 ลานซักล้าง » การสื่อสารฉุกเฉิน (2) ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 April 2011 เวลา 12:33

    [...] เขียนต่อจากตอน 1 สำหรับสถานการณ์อุทกภัยทางใต้นะครับ [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.076797008514404 sec
Sidebar: 0.12977695465088 sec