อาหารสำหรับกรณีฉุกเฉิน
อ่าน: 5303อนุสนธิจากกรณีเหตุภัยพิบัติต่อเนื่องในญี่ปุ่น ความเสียหายลุกลาม จากเหตุหนึ่งนำสู่อีกเหตุหนึ่ง กระทบกันเป็นทอดๆ
น้ำสะอาดและอาหารเป็นปัญหาใหญ่ครับ กรณีของน้ำเป็นความเสี่ยงเรื่องกัมมันตภาพรังสี ปนเปื้อนในอากาศ และตกลงมาสู่แหล่งน้ำผิวดินตาม ดังนั้นน้ำสะอาด สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้พื้นที่ประสบภัยพิบัติจึงเป็นปัญหา ครั้นจะส่งน้ำจากพื้นที่อื่นเข้าไปช่วย ก็เป็นเรื่องโกลาหลเหมือนตอนที่เราส่งน้ำดื่มไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมนั่นล่ะครับ
ในส่วนของอาหาร อาหารสดมีปัญหาจากการปนเปื้อนกัมมันตรังสี ลูกสาวหมอป่วนซึ่งอยู่ร้อยกิโลเมตรทางใต้ของโตเกียวบอก ยังโอเค แต่ขนมปังขาดแคลนเพราะเขาส่งไปช่วยเขตภัยพิบัติ
“ทำไมขนมปัง” แค่คำถามนี้ ก็ถอดบทเรียนได้แล้วครับ ไฟฟ้าไม่มี ก๊าซหุงต้มไม่มี บ้านเรือนเสียหาย ผู้คนอพยพไปยังศูนย์พักพิงหลายหมื่นคน ความช่วยเหลือที่ส่งไปยังพื้นที่เป็นเรื่องลำบาก การประกอบอาหารแทบเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นอะไรที่กินได้ ให้พลังงานแก่ร่างกายโดยไม่ต้องหุงหา จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประสบภัยต้องการที่สุดครับ
ผมน่ะทำอาหารไม่เป็น ขึ้นกับความกรุณาของคนอื่นที่ทำอาหารให้กินมาตลอด กินอาหารก็ไม่ปรุง ทำมาอย่างไรก็กินอย่างนั้น (จริงๆ นะ) แต่ดันอ่านเจอ วิธีการทำ health bars คิดว่าไม่เลวแฮะ ให้พลังงานแก่ร่างกายสำหรับกรณีขาดแคลนจริงๆ พอประทังชีวิตไปได้สักพัก ก็เอามาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกันครับ จะส่งไปช่วยหรือจะเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว ก็แล้วแต่จะพิจารณากันเอง
Health bar (หรือ Energy bar กลายๆ) เป็นอาหารสะดวกกิน ให้พลังงานสูง (ทำให้อ้วนแต่ยังรอดอยู่ได้สักพักหนึ่ง) ไม่ต้องหุงหา เก็บรักษาไม่ยุ่งยาก และเก็บไว้ได้นาน ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าตั้งชื่อเป็น health bar ได้อย่างไร
แต่ภายในเป็นเนยกับน้ำเชื่อม ละลายให้เข้ากัน ทิ้งไว้จนจับตัวเป็นก้อน
เปลือกนอกเป็นช็อคโกแลตเคลือบอยู่
ทั้งก้อนดูไม่น่าจะเปราะจนแตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ส่วนผสม
- ช็อคโกแลต สักถุงหรือสองถุง
- เนย 2 ถ้วย หรือสี่ก้อน
- น้ำตาลเม็ดละเอียด (น้ำตาลไอซิ่ง) 2 2/3 ถ้วย
- น้ำ 1/3 ถ้วย
- น้ำเชื่อม ¼ ถ้วย
วิธีทำ
ละลายเนยในหม้อ ใส่น้ำตาล น้ำ น้ำเชื่อมลงไป ตั้งไฟระดับกลางๆ แล้วคนไปเรื่อยๆ เราไม่ได้ตั้งใจจะให้น้ำตาลไหม้นะครับ ให้ระวังที่ขอบหม้อที่อาจจะร้อนเกินไปด้วย อุณหภูมิประมาณ 140ºC
พอเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ก็เทลงแม่พิมพ์ทิ้งให้เย็น แล้วตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พอคำ
จากนั้นละลายช็อคโกแลตในเตาไมโครเวฟ ทีละ 30 วินาที ถ้ายังไม่ละลาย ก็ต่ออีกทีละ 30 วินาที ไม่ต้องการให้ไหม้ครับ พอช็อคโกแลตละลายแล้ว ก็เอาไอ้ก้อนๆ ที่ทำไว้ในขึ้นแรก มาจุ่มช็อคโกแลต ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วจึงห่อถุงพลาสติก ซิปล็อก หรือตามแต่เห็นสมควร
ดูไปดูมาแล้ว ท่าทางจะออกมาเป็นคาราเมลหุ้มด้วยช็อคโกแลตเสียมากกว่านะครับ ไม่รู้เหมือนกันว่ารสชาติจะเป็นอย่างไร แหม ถ้าเป็นช็อคโกแลตดำ น่าจะดี
« « Prev : ควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่
13 ความคิดเห็น
[...] อาหารสำหรับกรณีฉุกเฉิน [...]
นักกีฬาที่ใช้พลังงานมากๆ เช่นจักรยานทางไกล นักวิ่งมาราธอน นักไตรกีฬาจะใช้ PowerBar หรือ Power Gel (มีหลายรสด้วย) เพื่อทดแทนพลังงานที่ใช้ไปในการฝึกซ้อมหรือแข่งขันครับ อิอิ
แต่เมื่อต้องการจะกิน แต่ไม่ได้เตรียมไว้ ก็จะแห้วนะครับ อิอิ
ดูแล้วน่ากินนะคะ แต่ไม่อยากกินเพราะฉุกเฉินที่เห็นนี้นึกถึงคนไข้เบาหวาน ระยะที่พึ่งพานี้ อาหารเหมาะสมคงหายาก กินอาหารก้อนๆพวกนี้ไปก่อนก็คงดีค่ะ
ทางราชภัฏทำอาหาร น่าจะเก่งเรื่องดัดแปลงแบบนี้นะครับ ถ้ารวบรวมออกมาเผยแพร่เป็นชุดๆ เลยก็น่าจะดีกว่าโผล่มาทีละสูตรสองสูตร ให้คนในแต่ละท้องถิ่นเลือกได้เองว่ามีอะไรอยู่ในท้องถิ่นบ้างครับ
ดูน่ากินจริงๆอย่างอุ๊ยว่าค่ะ…เพราะมีทั้งหวานทั้งมันค่ะ…
คนติดอยู่ใต้ซากตึกถล่ม ผมว่าน้ำสำคัญกว่า ควรมีน้ำกินประทังชีวิตให้นานพอที่จะมีหน่วยกู้ภัยเข้ามาได้ อย่างน้อยอาจถึง 10 วัน แต่น้ำก็ไม่มีอีกต่างหาก
ผมว่าที่สำคัญคือทำไงเวลาฉี่แล้ว จะกลั่นฉี่ของตัวเองเอากลับมาดื่มได้อีก โดยเฉพาะไม่มีภาชนะใดๆเลย
เช่นอาจฉี่ให้ราดกางเกง ให้ชุ่ม แล้วเอามาม้วนให้แน่น เอาเศษอิฐ ปูน ทับไว้ ฉี่ระเหยไปกระทบอิฐ ก็ควบแน่นเป็นหยดน้ำสะอาด หยดลงไปในหลุมขังอะไรสักอย่าง แล้วเอาลิ้นไปเลียดื่มความชื้นนั้น พอประทังชีวิต ยืดออกไปได้สัก สามสี่วัน
อย่าเคลื่อนตัวมาก อย่าตกใจ ทำสมาธิให้จิตนิ่ง จะลดการกิน การดื่มลงได้มาก รอเวลาให้หน่วยกู้ภัยขุดลงมาถึงเรา แต่ถ้าแม้ต้องตาย ก็จะไปสู่สุคติ นี่เป็นเรื่องการฝึกซ้อมการรับภัยภิบัติที่ฝรั่งอาจคิดไม่ถึง
แต่อาหารในบันทึกนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะให้ผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากตึกกินหรอกนะครับ เวลาตึกพัง ก้อนอาหารฉุกเฉินก็ไม่รู้ว่าอยู่ไหน ผมเสนอสำหรับความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ต้องอพยพไปยังศูนย์อพยพครับ เป็นอาหารที่ให้พลังงาน ไม่บูดเน่าเสีย มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ขนส่งไปช่วยได้ง่าย ไม่ต้องหุงหา
อาหารดังว่านี้ ก็ดีครับ แต่ต้องสำหรับกรณีจำเป็นจริงๆ เท่านั้น เรียกว่า กินกันตาย
แต่ถ้าไม่ใช่กรณียิ่งยวดจริงๆ แล้วไม่ควรทำนะครับ เพราะแหม คนตกระกำลำบากขนาดนั้น ถ้าอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ก็ควรให้เขาได้กินอาหารร้อนๆ อร่อยๆ ยิ่งกว่ากินในเหลาเสียอีก จะได้ช่วยให้เขาลืมความทุกข์…อูยพิมพ์กลืนน้ำลายไป ชักอยากประสบภัยกะเขาบ้างแล้วสิ
อีกประเด็นหนึ่งคือมันเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการล่วงหน้าครับ ส่วนจะกินหรือไม่กิน ค่อยพิจารณาตามสถานการณ์อีกที
ความไม่ประมาทคือ สิ่งที่ควรฝึกฝน โดยเฉพาะ การเจริญสติ ความมีสติจะช่วยรู้จักใช้พลังงานต่ำที่สุด เหมือหมีจำศีล ฝึกหายใจจากผิวหนังจากสะดือ ฝึกการหยุดการเคลื่อนไหวใจไม่ฟุ้งสซ่าน ฝึกลมปราณสามารถช่วยยืดชีวิตได้นาน หากความช่วยเหลือมาถึง ก็จะรอด….แต่ถ้าวาสนาอักเสบ ก็ต้องยอมจำนนต่อธรรมชาติค่ะ
สิ่งที่คุณลอดอดส์ นำเสนอ มองในแง่ความเป็นจริงนั้นเป็น….ของโลกที่เจริญด้วยวัตถุนิยม ของไทยเราคือเตรียมกักตุนน้ำตาลปึก(ที่ทำจาก ตาล หรือ มะพร้าว) น้ำตาลก้อน(น้ำตาลกรวด) ใส่ถุงไว้ให้เพียงพอพร้อมน้ำดื่มขวดพลาสติกปริมาณหนึ่งและแก้วพลาสติกสองใบ อย่าลืมไฟฉายที่ไม่ต้องใช้ถ่าน และถุงและยางมัดถุงไว้ใส่ปฎิกูลจากก้น ให้เพียงพอเมื่อน้ำหมดให้ดื่มปัสวะตัวเอง ก่อนสำหรับรักษาชีวิตให้รอดได้ในช่วงเวลาวิกฤติ….ช่วงเวลารอคอยความช่วยเหลือค่ะ