ช่วย…ไม่ช่วย…ช่วย…ไม่ช่วย
อ่าน: 3660วันนี้ ตื่นเช้ามาด้วยความสดชื่น แต่งเสื้อยืดกางเกงยีนส์กะจะไปช่วยอาสาดุสิต ซึ่งเปิดเต้นท์รับบริจาคช่วยผู้ประสบอุทกภัย ที่โรงแรมดุสิตธานีเป็นวันแรก (ยอดบริจาคที่เต้นท์วันแรก 102,453.50 บาท)… ปรากฏว่างานเข้าวุ่นวาย
ตอนเช้ามีงานของมูลนิธิอีกอันหนึ่งที่ไม่รู้ตัวมาก่อน คือมีการประชุม “ภัยพิบัติญี่ปุ่น อนาคตของไทย” ที่โรงพยาบาลภูมิพล เมื่อคืนก็ประสานให้เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิไปช่วย เผอิญว่าเพื่อนของเจ้าหน้าที่มูลนิธิฆ่าตัวตาย บ้านอยู่ต่างจังหวัด ภรรยาทำอะไรไม่ถูก เขาจึงต้องไปช่วยเรื่องขั้นตอนของทางราชการก่อน จะเรียกว่าเป็นภัยพิบัติในกำหนดการก็ได้ จากสิบโมง ดูเวลาอีกทีบ่ายโมงกว่าแล้ว ตอนบ่ายสองโมง ผมมีประชุมอีกอันหนึ่ง ซึ่งจับพลัดจับผลูไปเป็นกรรมการเข้า (ไม่รู้ว่าใครเสนอชื่อเข้าไป แต่ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธเพราะคิดว่าช่วยคิดช่วยกวนได้) เลยต้องไปประชุมก่อน หวังว่าจะเลิกเร็วแล้วค่อยย้อนไปดุสิตธานี แต่กว่าจะเลิกประชุมก็ค่ำแล้ว ซินเดอร์เรลโล่หมดโควต้าของเวลา เนื่องจากไม่ชอบขับรถกลางคืนเป็นอย่างยิ่ง ต้องตรงกลับบ้าน
ในบรรดาผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับภัยพิบัติ เป็นที่รู้กันว่าการระดมความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์ของภัยพิบัตินั้น เป็นภัยพิบัติในตัวของมันเองอีกอันหนึ่ง เพราะเต็มไปด้วยความอลหม่าน ต่างคนต่างช่วย ต่างคนต่างทำเนื่องจากความเร่งด่วนของสถานการณ์ และมักจะเต็มไปด้วยความไม่รู้ การไม่ประสานกัน ซ้ำซ้อน ยุ่งเหยิง
ภาครัฐก็พิลึกกึกกือเป็นที่สุด ช่วยต่างประเทศอย่างด่วนจี๋ แต่พอเป็นภัยในประเทศกลับล่าช้า
ที่ว่าล่าช้านี้ โ.ค.ต.ร.ช้าเลยครับ เงินบริจาคสำหรับน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่แล้วยังมีเหลือเลย!
เมื่อภาคประชาชนจะช่วยกันเอง กลับยากลำบาก เช่นนิติบุคคล(ซึ่งมีกำลังมาก)จะบริจาค การบริจาคนั้นจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม เนื่องจากกรมสรรพากรไม่ได้รับรองเงินบริจาค ดังนั้น ถ้านิติบุคคลจะบริจาค ก็ต้องไปบริจาคให้ภาครัฐซึ่งการเบิกจ่ายก็ล่าช้า ไม่เกิดผลขึ้นทันทีสมกับความตั้งใจของผู้บริจาค … ว่าจะไม่บ่นแล้วเชียว
แต่ก็นั่นล่ะครับ สิ่งที่ต้องทำ ก็ต้องทำ ชิมิ
เมื่อจะช่วย ก็ช่วยเลยครับ อย่ามาลีลาเลย เสียเวลาครับ
Next : ความไม่รู้เป็นภัยอันยิ่งยวด » »
5 ความคิดเห็น
ช่วยเถอะครับ ไอ้ที่ต้องแก้ไขก็ว่ากันไป คำว่า Red tape ยังเป็นคำที่ใช้ได้เหมือนเมื่อสามสิบปีที่แล้ว อิอิ
นี่แหละครับ สมภาษิตผมว่า คนไทยทำงานเป็นทีมไม่ได้ ยกเว้นทำความเลว อิอิ
เรามีกลไกระดับ กรม ที่มีขรก.ทำงานประจำ เชียวนะ (กรมบรรเทาสาธารณภัยหรือไงเนี่ย) แต่พอมีภัยพิบัติทีไร ไฉนมันเป็นอย่างนี้ทุกที หรือว่ากรมบรรเทาสาธารณภัยคือสาธารณภัยเสียเอง? (ต้องเสียภาษี)
ระเบียบราชการเป็นระเบียบแห่งการไม่ไว้ใจกัน รวบอำนาจ ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่าข้าราชการจะโกง จึงเต็มไปด้วยขั้นตอนการอนุมัติ และแพะ ส่วนการทำสิ่งที่ต้องทำภายใต้ระเบียบราชการนั้น เลิกคิดไปได้เลยครับ ทำอะไรก็ไม่ได้นอกจากจะอยากเป็นโคถูกเชือดเสียเอง จะต้องรอการสั่งการ แล้วอย่าไปนึกว่าคนสั่งจะรับผิดชอบนะครับ ตัวเองนั่นแหละแพะ ฉึก ฉึก
26 ธันวาคม 2547 สึนามิเข้าชายฝั่งอันดามัน 6 กุมภาพันธ์ 2548 เลือกตั้งใหญ่ พรรคไทยรักไทยได้รับการสนับสนุนถล่มทลาย ไม่ต้องผสมพันธุ์กับพรรคใดอีก ผมคิดว่าเสียงสนับสนุนส่วนหนึ่ง คงต้องการให้รัฐฟื้นฟูผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องนะครับ แต่ผ่านไปหกปี ชาวบ้านยังอยู่มาได้เพราะตัวของเขาเอง [บทความของ นพ.บัญชา พงษ์พานิช From Insecure - Badly Affected to a Strong and More Prepared Community: NAM KHEM, a fisherfolk village in the midst of 2004 Tsunami]
น้ำท่วมปลายปีที่แล้ว เท่าที่บันทึกไว้ กลุ่มอาสาดุสิตจัดทำถุงยังชีพเก้าหมื่นถุง มูลค่า 28 ล้านบาท ขนด้วยแรงของอาสาสมัครขึ้นรถบรรทุก บางส่วนขนขึ้นรถไปส่งยังคาร์โกของนกแอร์ครับ
http://www.youtube.com/watch?v=qImPVuGN54s