มองสื่อ

อ่าน: 2747

บล็อกนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองครับ ถ้ามีหลุดไปบ้างก็ไม่ได้ตั้งใจ เพราะผมมีช่องทางอื่นที่จะเขียนเรื่องอื่นครับ

ผมไม่ได้มีวิชาชีพสื่อสารมวลชน แต่เป็นผู้ที่บริโภคสื่อหลายทางหลายมุม จากเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย มีข้อสังเกตดังนี้

  1. ผมไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นสื่อ ผมเลือกและตัดสินใจของผมได้ ไม่ต้องมาคิดแทน ขอบคุณครับ; ทั้งนี้ยกเว้นการปิดกั้นสื่อจะเป็นไปโดยขั้นตอนของกฎหมาย(ไม่ใช่แค่ตามกฎหมาย) กฎหมายเป็นกติกาของสังคมครับ — ถ้าไม่ชอบกฎหมายแบบนี้ ต้องไปแก้ในสภา ไม่ใช่ละเมิดเอาตามใจ
  2. การรายงานของสื่อตามรูปแบบ มักไม่มีเวลากำกับ ทำให้ไม่รู้ความสดของข่าวสาร ภาพเก่าข่าวเก่าเอามาเล่าใหม่ ก็ทำเนียนเหมือนเป็นของสด
  3. ใช้แผนที่และกราฟฟิคกันน้อยเกินไป ถ้าทำกันไม่ไหว ลงทุนหน่อยซิครับ
  4. แปลกใจที่ไม่มีพูลของข่าว! ทำให้นักข่าวในพื้นที่เสี่ยงมากเกินไปหรือเปล่า?
  5. สื่อที่ไม่ใช่หุ่นยนต์มีความเห็นได้ แต่ต้องแยกออกจากข่าวอย่างชัดเจน
  6. บรรณาธิการข่าวต่างๆ ควรเรียนจิตวิทยามาบ้าง จะได้รับผิดชอบผลต่อผู้บริโภคข่าวได้ดีขึ้น ฉลาด…ได้อีก
  7. สื่อภาคประชาชนที่รายงานกันเอง ดูเหมือนจะดี แต่ก็เปิดช่องให้ใช้บิดเบือนเช่นกัน สื่อดิจิตอลตัดต่อแต่งเติมง่าย ต้องระวัง
  8. ในกรณีสื่อความขัดแย้ง (ภาพเหตุการณ์ซับซ้อนจากหลายมุม) ยังไม่มี media archives ที่พอจะช่วยเก็บภาพ/คลิปที่ถ่ายแล้วอัพโหลดกันสดๆ ลดโอกาสตกแต่งบิดเบือน

บ่นแล้วก็นอนต่อ เน็ตเจ๊งอีกแล้วครับ ฮ่วย

Posted by Wordmobi

« « Prev : กระสุนข้าว

Next : แท้หรือเทียม ก็จะทำ — ไม่ใช่มุกและไม่ใช่มุข » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 May 2010 เวลา 18:33

    9. น้ำเสียงที่รายงานข่าวก็สำคัญค่ะ ควรราบเรียบ นิ่งจะทำให้ความรู้สึกของคนดูไม่รนมาก (นึกถึงเสียงของพ.อ.สรรเสริญ โฆษก ศอฉ.นะคะ) แต่ส่วนมากจะกระหืดกระหอบ เร่งร้อน และโทนเสียงสูง (รายงานสถานการณ์สด) จึงยิ่งร้อนเมื่อได้ยิน บวกกับภาพข่าวเก่าที่ตัดไปตัดมายิ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่า “ปิดทีวีดีกว่า” น่ะค่ะ
    10. สำนวนข่าวที่ใช้ควรตัดคำรุงรัง เยิ่นเย้อออก (ทุกรายงานข่าวและทุกช่องเลยนะคะ) ฟังอยู่ 2 นาทียังจับไม่ได้ว่าจะพูดอะไร มีแต่คำพ่วง คำขยายเต็มไปหมด นี่ก็ก่อให้เกิดความรำคาญค่ะ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 May 2010 เวลา 20:04
    ในวงการสื่อสารมวลชน (และวงการนักเขียน) มีคำศัพท์ที่เรียกว่า filler คือคำ/วลี/ประโยค ที่ใส่ลงมาให้ยืดเต็มๆ พื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกสำนักสอนว่าไม่ควรครับ แต่เราก็เห็นแทบทุกที่

    ก็เห็นใจผู้ที่จัดรายการสดโดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับการรายงานสดเข้ามาจากข้างนอกเนื่องจากควบคุมเวลาไม่ได้นะครับ บางครั้งก็อาจจะต้องมี filler บ้าง แต่ไม่น่าจะเป็น filler ตลอดเวลา — ถ้าพูดกับไม่พูดมีค่าเท่ากัน ไม่พูดน่าจะดีกว่าครับ ถ้าไม่เข้าขากัน ก็บอกนักข่าวสนามไปเลยก็ได้ว่ามีเวลา 15 วินาที

    ส่วนบุคลิกของผู้รายงานข่าวนั้น ผมคิดว่าผู้ชมแต่ละคน มี “ขีด” ที่ไม่เท่ากัน อย่างแม่ผมรับผู้สื่อข่าวภาคสนามซึ่งควงหน้าหรือกระพริบตาตลอดเวลาไม่ได้เลย บอกว่าเวียนหัว แล้วก็รับคนที่หายใจแรงๆ เหมือนหอบซี่โครงบานไม่ได้เหมือนกัน เจอหน้าปุ๊บ เปลี่ยนช่องทันที

    สถานการณ์ความไม่สงบนี้ เกิดมายาวนาน ก็น่าเห็นใจผู้ดำเนินรายการเหมือนกัน ทางสถานีก็อาจจะต้องหมุนเวียนผู้ดำเนินรายการมาผลัดเปลี่ยนกันบ้าง แต่การควบคุมตัวเองของผู้ดำเนินรายการเป็นทักษะที่ต้องฝึก บางคนพอตื่นเต้นแล้วเสียงแหลม บางคนถามคำถามที่ไม่น่าถาม (ไม่ถามเสียดีกว่า) บางคนก็ผิวเผินฉาบฉวยมาก ต้องการรู้แค่เกิดอะไรใครพูดอะไรที่ไหนอย่างไร แม้หลักการจะเป็นทำนองนั้น แต่ขืนทำได้แค่นี้ ก็คงพอๆ กับนักข่าวโรงเรียนเลยนะครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.42685079574585 sec
Sidebar: 0.6127769947052 sec