อิฐเก็บน้ำ
อ่าน: 4493การประกวด “การออกแบบนานานชาติอินชอน” Incheon International Design Awards สำหรับปี 2010 ซึ่งประกาศผลแล้ว มีนวัตกรรมอยู่อันนึ่งซึ่งน่าสนใจ คืออิฐเก็บน้ำจากเกาหลีครับ
อิฐบ้านเราก็เป็นอิฐทื่อๆ เช่นอิฐมอญ อิฐบล็อค บางทีก็ใช้วัสดุอื่นเช่น ดิน+ทราย+ปูน ผสมคลุกเคล้าแล้วอัดเป็นก้อน บางทีก็ทำบล็อคให้เรียกก้อนตรงเอาไว้ก่อเป็นกำแพง บางทีก็ทำบล็อคโค้งให้ก่อแล้วเป็นส่วนโค้ง
การออกแบบของเกาหลี เซาะร่องด้านหนึ่งเป็นรางเพื่อเก็บกักน้ำฝน จะทำให้น้ำฝนที่มาปะทะกับอิฐบล็อคไหลมารวมกัน เพื่อที่ง่ายต่อการกักเก็บครับ
วัสดุเค้าก็ใช้วัสดุเหลือใช้เช่นเศษใบไม้ และเศษพลาสติก นำมาป่นให้เป็นผง แล้วนำมาอัดรวมกัน ใช้ใยไฟเบอร์ธรรมชาติในใบไม้มาผสมกับพลาสติก ซึ่งเมื่อนำมาอัดแล้ว สามารถยึดไฟเบอร์ไว้ด้วยกันได้
น้ำฝนที่มาปะทะกับอิฐ ไหลลงมาตามร่อง ทำให้สามารถรวบรวมไปเก็บไว้ใต้ดิน เพื่อนำน้ำที่ไม่ต้องกรองหรือบำบัดไปใช้
เวลาเราพูดถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มันก็ยังเลื่อนลอยอยู่ในหมู่นักคิด ไม่สามารถจะขับเคลื่อนไปไหนได้เพราะคนโดยทั่วไป ไม่เข้าใจว่ามันดียังไง
6 ความคิดเห็น
ชอบใจแฮะ แต่สงสัยว่าทำไมต้องให้ลายมันคดด้วยล่ะคะ ทำร่องตรงไม่ดีกว่าหรือ?
แบบกระเบื้องลอนของเราไงคะ ไหลเป็นรางเลย
เรื่องนี้อยู่ที่พิมพ์บล็อค ที่ผมมีอยู่ สามารถทำเพิ่ิมเติมได้ แถมยังประหยัดดินด้วย น่าสนใจๆๆ
อู้ววววววววว….เรื่องนี้กำลังสนใจอยู่พอดีเลย….ว่าแต่ว่าอิฐแบบนี้ ใช้หิน+ดิน+ทราย+พลาสติก+ใบไม้+ไฟเบอร์ อัดเข้าด้วยกันแล้ว จะให้เป็นอิฐต้องเผาไม่ใช่เหรอ เวลาเผาแล้วมันไม่ไหม้หรือไร แล้วพลาสติกโดนความร้อนอ่ะนะ ไม่ดีต่อสุขภาพนา พลาสติกโดนความร้อนแล้วให้ไอก๊าซคลอรีนได้นา ไอก๊าซแบบนี้ไม่ดีกับปอดนา พอบอกได้มั๊ยว่าควรใช้ความร้อนเท่าไรอิฐจึงสุกและปลอดภัยจากไอก๊าซได้ด้วย
เหมือนกับที่เขียนไว้ในบันทึกในย่อหน้าที่ 4 คือเอาเศษใบไม้ กับเศษพลาสติก มาป่นละเอียด (pulverization) ผสม (blending) แล้วอัดสองอย่างนี้เข้าด้วยกันในบล็อคครับ ข้อมูลต้นทางซึ่งลิงก์ไว้ให้ในบันทึก ก็ไม่ได้บอกว่าอัดแรงแค่ไหน แต่ผมคิดว่าคงจะแรงกว่าอิฐบล็อคที่ทำกันในบ้านเรานะครับ