ไม่ต้องรีบ เดี๋ยวหัวคะมำ
อ่าน: 3029ฟังธง ก. พูดให้ชัดเจน ตัดสินด้วยความเชื่อมั่น — พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พิพากษา ก. ตัดสินคดีโดยศาล — พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
คำแนะนำไม่ให้รีบฟันธง ไม่ให้รีบพิพากษานั้น ไม่ได้เป็นคำแนะนำอะไรที่ผิดไปจากที่ควรจะเป็น — ไม่ได้เป็นการเรียกร้องให้เพิกเฉย หลอกตนเอง/แสร้งทำเป็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น — ที่จริงกลับเป็นคำแนะนำให้ละวางอคติ เปิดใจรับฟังข้อมูลรอบด้าน ฟังจนได้ยินถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังแม้ไม่ได้พูด ใคร่ครวญดูให้ดี ก่อนตัดสิน
สิ่งใดอยู่ใกล้ตัว มักเห็นเป็นภาพขนาดใหญ่ ถ้าหมกมุ่นกับเรื่องที่อยู่เฉพาะหน้ามากเกินไป ก็มักจะคิดว่านั่นเป็นเรื่องใหญ่ ลืมสังเกตไปว่าเรื่องนั้นบังอะไรอยู่ข้างหลัง ถ้าเพ่งดูแต่เรื่องนั้น คิดแต่เรื่องนั้นตลอดเวลา (อินมาก) มันก็จะบดบังทุกสิ่งทุกอย่างไปหมด เมื่อมองเห็นอยู่แต่ด้านที่อยู่ข้างหน้า (เพราะมันใหญ่ บังอย่างอื่นหมด) เหมือนฟังความข้างเดียว เราจะตัดสินใจได้ดีได้อย่างไร
ชีวิตไม่ได้ขึ้นและไม่เคยขึ้นกับอะไรเรื่องเดียวหรอกนะครับ สิ่งใดที่ไม่รู้ จะตัดสินไปเลยทั้งๆ ที่ไม่รู้ได้อย่างไร เมื่อไม่รู้ ก็เรียนรู้ซะ; ถ้าหากมั่นอกมั่นใจว่าสิ่งที่รู้ถูกต้อง ทำไมจึงไม่กล้ารับฟัง “ความจริงอีกด้านหนึ่ง” ครับ
2 ความคิดเห็น
ชอบบันทึกนี้ ขอบคุณค่ะ พระอาจารย์ไร้กรอบกล่าวว่า แขวนคำพิพากษาไม่ใช่ ไม่ตัดสิน หากแต่ สังเกต ๆๆๆ เรียนรู้ๆๆ ไปให้สุด ปราศจากอารมณ์ ปราศจากอคติ ปราศจากตัวตน ซึ่งที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรที่สุดนอกจากเป็นสัจธรรม ถ้ายังไม่เป็นสัจธรรมก็ย่อมมีกาล มีเหตุ มีผลจากเหตุ ต่อๆไป
เรื่องทางโลกอย่างเดียวกัน ตีความได้หลายอย่าง ขึ้นกับมุมมองใช่ไหมครับ แต่โลกวุ่นวายเพราะเราดันติดมุมมองอันเดิม ไม่ตระหนักว่ายังมีมุมมองอื่นๆ หรือไม่ก็ตัดสินใจล่วงหน้าไปแล้วก่อนที่จะฟัง (อคติ) อันนี้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ซึ่งเราก็มักจะเข้าใจว่าการรับรู้เป็นการเรียนรู้