ตรรกะผิดเพี้ยน

โดย Logos เมื่อ 23 February 2010 เวลา 19:33 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 7006

ได้ลิงก์น่าสนใจมาจากคุณ @bipole ลิงก์นี้พูดถึงความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ที่ผิดเพี้ยน ฟังความข้างเดียว หรือการด่วนสรุป ไม่ให้เวลากับตัวเองได้พิจารณาให้ถ่องแท้

รู้สึกว่าเป็นศาสตร์เฉพาะ ซึ่งผมไม่ได้เป็นผู้เชื่ยวชาญหรอกครับ อ่านแล้วรู้สึกว่าน่าอ่าน และสังคมไทยน่ากลัวเหมือนกันเพราะผมเห็นว่ามีคนมีอาการอย่างนี้เยอะ จึงวุ่นวายมากเพราะมีคนคิดไปเองเยอะเกินไป

  1. All-or-nothing thinking (splitting) - Thinking of things in absolute terms, like “always”, “every”, “never”, and “there is no alternative”. Few aspects of human behavior are so absolute. (See false dilemma.) All-or-nothing-thinking can contribute to depression. (See depression).
  2. Overgeneralization - Taking isolated cases and using them to make wide generalizations. (See hasty generalization.)
  3. Mental filter - Focusing almost exclusively on certain, usually negative or upsetting, aspects of an event while ignoring other positive aspects. For example, focusing on a tiny imperfection in a piece of otherwise useful clothing. (See misleading vividness.)
  4. Disqualifying the positive - Continually reemphasizing or “shooting down” positive experiences for arbitrary, ad hoc reasons. (See special pleading.)
  5. Jumping to conclusions - Drawing conclusions (usually negative) from little (if any) evidence. Two specific subtypes are also identified:
    • Mind reading - Assuming special knowledge of the intentions or thoughts of others.
    • Fortune telling - Exaggerating how things will turn out before they happen. (See slippery slope.)
  6. Magnification and minimization - Distorting aspects of a memory or situation through magnifying or minimizing them such that they no longer correspond to objective reality. This is common enough in the normal population to popularize idioms such as “make a mountain out of a molehill.” In depressed clients, often the positive characteristics of other people are exaggerated and negative characteristics are understated. There is one subtype of magnification:
    • Catastrophizing - Focusing on the worst possible outcome, however unlikely, or thinking that a situation is unbearable or impossible when it is really just uncomfortable.
  7. Emotional reasoning - Making decisions and arguments based on intuitions or personal feeling rather than an objective rationale and evidence. (See appeal to consequences.)
  8. Should statements - Patterns of thought which imply the way things “should” or “ought to be” rather than the actual situation the patient is faced with, or having rigid rules which the patient believes will “always apply” no matter what the circumstances are. Albert Ellis termed this “Musturbation”. (See wishful thinking.)
  9. Labeling and mislabeling - Explaining behaviors or events, merely by naming them; related to overgeneralization. Rather than describing the specific behavior, a patient assigns a label to someone of themself that implies absolute and unalterable terms. Mislabeling involves describing an event with language that is highly colored and emotionally loaded.
  10. Personalization - Attribution of personal responsibility (or causal role) for events over which the patient has no control. This pattern is also applied to other in the attribution of blame.

นึกถึงเพลง ความดัน(ทุรัง)สูง ของมาช่าครับ

« « Prev : อิฐเก็บน้ำ

Next : คุณภาพอากาศ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

9 ความคิดเห็น

  • #1 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 February 2010 เวลา 21:27

    พอเริ่มอ่าน ทำให้นึกถึงความดำริตอนยังสอนตรรกศาสตร์ ว่าจะสร้างหลักสูตรเพื่อเปิดสอนสาขาตรรกศาสตร์ เพราะเมืองไทยยังไม่มีสถาบันใดเปิดสอนสาขานี้โดยตรง แต่ก็ไม่มีโอกาส (คงสร้างเวรกรรมาเพื่อเป็นสมภารมากกว่า…)

    ตามความเห็นส่วนตัว วิชาทำนองนี้ น่าจะมีคุณูปการในการพัฒนาระบบคิดของคนในชาติยิ่งขึ้น แต่ไม่เห็นมีสถาบันใดเคยดำริเรื่องนี้ อาจเป็นเพราะไม่เห็นผลประจักษ์โดยรูปธรรมอย่างทันที…

    เจริญพร

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 February 2010 เวลา 0:38
    ยังไม่เคยเจอคนบ้าที่รู้ตัวเองว่าบ้าเลยครับ

    ถ้าถอยออกไปอยู่นอกสถานการณ์แล้วมองย้อนกลับมาดูตัวเอง บางทีอาจจะเห็นอะไรแตกต่างออกไปบ้าง แต่ถ้ายังอินอยู่ ก็คิดว่าตนถูกเสมอ

  • #3 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 February 2010 เวลา 8:50

    วิชาที่พาตัวเองถอยออกไปอยู่นอกสถานการณ์แล้วมองย้อนกลับมาดูตัวเองนี่น่าสนใจนะครับ  ทำยังไงครับ????  อิอิ

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 February 2010 เวลา 10:24
    ก่อนจะเริ่มกระบวนการ ต้องเอาตัวเองออกไปก่อน เปลี่ยนตัวเองเป็นคนอื่นที่เราไม่มีอคติต่อเขา (ไม่เกี่ยว ไม่ได้เสีย) บางทีเรียกว่าวิญญูชน; ที่ต้องยกเอาตัวเองออกไปก่อน เพราะตัวเองอยู่ตรงไหน อคติก็อยู่ตรงนั้นครับ

    จากนั้นมีอีกสองกระบวนการคือเอาใหม่ กับย้อนรอย

    กระบวนการเอาใหม่คือให้คนสมมุติเดินมาตามทางที่เราเคยเดิน แต่คราวนี้ลองพิจารณาทางเลือกต่างๆ อีกที อาจเห็นทางเลือกที่เดิมทีมองข้ามไปเพราะอคติ/ความรีบร้อนตัดสินใจโดยไม่ได้พิจารณาให้ถ้วนถี่/ยอมแพ้ต่อข้อจำกัดต่างๆ

    อีกกระบวนการหนึ่งคือให้คนสมมุติเดินย้อนรอยกลับไปตามทางเดิม หมายถึงเดินย้อนกลับไปทางเก่านะครับ; เวลาเราเดินไปข้างหน้า เราก็คิดว่าคิดดีแล้ว แต่ที่จริงสายตาเราเห็นเฉพาะข้างหน้า แคบกว่า 180° เสียอีกครับ บางทีเห็นเฉพาะที่อยากเห็น ถ้ามีเวลาเดินย้อนหลังอย่างไม่มีอคติ อาจจะได้เห็นว่ามองข้ามอะไรมาบ้าง เมื่อเราเดินผ่านมาแล้ว คนอื่นเขามีปฏิกริยาอย่างไรเมื่อลับหลังเรา หรือเราเดินผ่านมาแล้ว

    สรุปเป็นโลกธรรม สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ผ่านไปแล้ว ควรเก็บเกี่ยวเป็นบทเรียนเพื่อที่คราวหน้าจะตัดสินใจได้ดีกว่าเดิมครับ

  • #5 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 February 2010 เวลา 16:04

    วันนี้ต้องแก้ปัญหา “คนคิดไปเองใส่อคติแถมเข้าไปเอง แถมบอกต่อจนปฏิบัติต่อๆกันโดยไม่ตรวจสอบความจริง”

  • #6 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 February 2010 เวลา 16:19
    ฟังดูคุ้นจังเลยครับพี่ อันนี้คงเป็นตัว “หลง” ซึ่งเป็นง่ายหายยาก; คนมีโมหะมาก มักไม่ค่อยมีปัญญาครับ

    มนุษย์ปุถุชนมีโลภ โกรธ หลง; ปุถุชนแปลว่า “คนปกติ” ผู้ซึ่งมีกิเลส แต่หากหลงติดอยู่ในกิเลส แล้วยังไม่ตระหนัก ใครก็แก้ให้ไม่ได้นอกจากแก้ที่สาเหตุด้วยตัวเองนะครับ บางคนแก้ไม่ได้เลย เหมือนว่ายน้ำฟรีสไตล์แต่ไม่โผล่ขึ้นมาหายใจ ไม่กี่วินาทีแรก ก็ยังดันทุรังไปเรื่อยล่ะครับ ยิ่งอินมาก ยิ่งหลงมาก ก็บ้าไปนาน อยู่ที่ใจของเราจะมองเขาอย่างไรใช่ไหมครับ มองเขาด้วยความโกรธ ใจเราก็ทุกข์เอง มองด้วยความสมเพช เกิดมานะเป็นการเปรียบเทียบว่าตัวเราสูงส่งกว่า…

  • #7 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 February 2010 เวลา 16:39

    ก็คิดอย่างนั้น คือจะไม่ไปแก้ไขใครค่ะ แต่ปัญหาที่ต้องไปเกี่ยวข้องแก้ไขเพราะก่อความเสียหายกับผลประโยชน์ของคนอื่นที่ไม่ได้รู้ว่าถูกกระบวนการแบบนี้ไปทำให้เสียหาย…ที่ทำให้ผ่านเรื่องไปไม่ได้…เมื่อสืบค้นจนเจอต้นตอ…ยิ่งสาวยิ่งเจอว่าคนที่ไปเกี่ยวข้องนั้นก็ใช้อคติในการทำ…อืม…

  • #8 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 February 2010 เวลา 17:01
    อย่างนี้เหนื่อยนะครับพี่ ตาชั่งที่ไม่เที่ยงตรง

    โอวาทปาฏิโมกข์ฺ
    สพฺพปาปสฺส อกรณํ    กุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํ    เอตํ พุทฺธานํ สาสนํ ฯ
          ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
          นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
          น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
          สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
    อนูปวาโท อนูปฆาโต    ปาติโมก์เข จ สํวโร
    มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ    ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
    อธิจิตฺเต จ อาโยโค    เอตํ พุทฺธานํ สาสนํ ฯ
    การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑      การบำเพ็ญแต่ความดี ๑
    การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑      นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
          ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
          พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
          ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
          ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
    การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑    การสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑
    ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑    ที่นั่งที่นอนอันสงัด ๑
    ความเพียรในอธิจิต ๑    นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
  • #9 ลานซักล้าง » สึนามิโลก ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 March 2011 เวลา 20:14

    [...] ก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็น [ตรรกะที่ผิดเพี้ยน] และเป็น [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.18134713172913 sec
Sidebar: 0.21031999588013 sec