เรือที่ต้านน้ำน้อย
อ่าน: 3489ปัญหาหนึ่งที่เจอในพื้นที่ประสบอุทกภัยในช่วงนี้ คือน้ำเชี่ยวมาก ในเมื่อกระแสน้ำมีกำลังแรง เรือพายก็จะทานกระแสน้ำไม่ไหว
บางครั้งความแรงของน้ำหมุนเรือได้ หรือกดให้หัวหรือกราบเรือจมน้ำได้ และทำให้เรือล่มหรือพลิกคว่ำได้ จุดอ่อนของเรือในกรณีอย่างนี้คือว่าเรือมีส่วนที่จมน้ำมาก ดังนั้นก็จะต้านน้ำมาก ทำให้ต้องใช้เครื่องที่มีกำลังแรงซึ่งราคาแพงและกินน้ำมันซึ่งหาเติมได้ยากในพื้นที่ประสบภัย
แต่ว่าเรือเป็นพาหนะจำเป็นสำหรับอุทกภัย ใช้เพื่อเดินทาง นำคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาล และใช้ขนความช่วยเหลือ ในการไปแจกสิ่งของบรรเทาทุกข์ครั้งหนึ่ง พบว่าชาวบ้านต้องเดินลุยน้ำระดับอกมาเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร เพื่อมารับสิ่งของบริจาค แล้วก็ต้องเอาเทินหัวลุยน้ำกลับไปบ้านอีกหลายกิโลเมตร ช่างเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากและอันตรายเหลือเกิน ถ้าเพียงแต่มีพาหนะที่เดินทางในน้ำได้ หรืออย่างน้อยก็ขนของหนักช่วยผ่อนแรงคนก็คงจะดีไม่น้อย
เรื่องนี้ เขียนมาหลายบันทึกแล้วครับ ผมคิดว่าการแจกเรือ ใช้ได้สำหรับสถานการณ์ที่น้ำนิ่งๆ เท่านั้น หากน้ำเชี่ยว ไม่สามารถใช้พายหรือถ่อไปได้ พอต้องติดเครื่องเรือก็ไปกันใหญ่ละ แต่บริจาคเรือก็ยังดีกว่าเดินแบกของลุยน้ำครับ แล้วเครื่องเรือแพงกว่าลำเรือเสียอีก
เรื่องนี้มีอยู่สองปัญหาที่ต้องแก้ คือราคาของเรือ เพราะว่ากำลังในการบริจาคนั้น มีอยู่ไม่มาก ต้องทุ่มเททรัพยากรส่วนใหญ่ไปช่วยผู้ประสบภัยให้พอประทังอยู่ไปได้ก่อน และเรื่องกำลังที่จะขับเคลื่อนเรือไป
เรื่องเรืออะไร ราคาเท่าไร ก็แล้วแต่จิตศรัทธาของผู้บริจาค และราคาที่หาซื้อได้ครับ ช่วงน้ำท่วม ราคาก็ยิ่งแพง ซึ่งถ้าซื้อเรือราคาสูง ก็อาจจะแจกจ่ายไม่ได้ในวงกว้าง เรือสำเร็จรูป มีปัญหาในการขนส่งเหมือนกัน จะให้ดีก็ต้องหาอะไรที่ใส่ท้ายรถกระบะไปได้ เช่นไปติดตั้งเครื่องเรือเอาบริเวณที่จะเอาลงน้ำแทนที่จะประกอบไปจากส่วนกลางเพราะขนส่งลำบาก ฯลฯ แล้วหากซื้อเรือตรวจการขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้แจกของให้ชาวบ้านนั้น ผมไม่เห็นด้วยหรอกนะครับ เงินบริจาคควรจะใช้เพื่อผู้ประสบภัย ไม่ใช่เพื่อตัวเอง
ส่วนเรื่องเครื่องเรือนั้น ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้ใช้กำลังคนครับ เพราะว่าหาน้ำมันเติมในพื้นที่ประสบภัยได้ลำบากมาก ถ้าใช้กำลังคน ก็ต้องพยายามลดแรงต้านของน้ำ ถ้าเป็นลำเรือแบบที่เราคุ้นเคย ลำเรือจะต้านน้ำมาก ทำให้ต้องใช้เครื่องที่มีกำลังแรง (แพงและกินน้ำมัน) ดังนั้นใจผมไม่คิดว่าเรือจะเหมาะหรอกครับ เลี่ยงไปใช้ลักษณะ Small Waterplane Area ดีกว่า SWATH
เมื่อเรือไม่ได้เดินเครื่อง มันก็ลอยอยู่เหมือนเรือธรรมดาครับ แต่เมื่อเดินเครื่องทำความเร็ว ปีกที่อยู่ใต้น้ำ ก็จะสร้างแรงยก ทำให้ลำเรือลอยขึ้นมาเหนือน้ำ น้ำมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศประมาณ 850 เท่า ดังนั้นหากจะสร้างแรงยก x กก. ในอากาศ แล้วต้องใช้ปีกที่มีพื้นที่ a ตร.ม. ที่ความเร็ว v ม./วินาที พื้นที่ปีกที่ร้างแรงยก x กก. และความเร็ว v ม./วินาที ก็เป็นเพียง a/850 ตร.ม. เท่านั้นหากเอาปีกลงไปไว้ใต้น้ำ
เพราะว่าปีกใต้น้ำจะมีขนาดเล็กลงมากเมื่อเทียบกับปีกเครื่องบิน ดังนั้น ก็อาจจะเหมาะกับการสร้างแรงยกให้เรือง ดังที่เห็นในคลิปซึ่งเคยเอามาให้ดูแล้ว ว่าถีบจักรยานก็ยกแพได้
ข้อดีอีกอย่างของการใช้ปีกใต้น้ำสร้างแรงยกก็คือ ลำเรือมีเสถียรภาพมากครับ ไม่กลัวคลื่นและความปั่นป่วนของน้ำ
คลิปต่อไปนี่ เค้าแอ๊บขายหนังสือ… แต่ผู้แต่งบอกหลักการสำคัญของไฮโดรฟอล์ยสามอันเอาไว้
โครงเรือ Catamaran
โครงสร้างของโป๊ะซึ่งลอยอยู่บนทุ่น (จักรยานน้ำ)
โครงของ SWATH ยิ่งทุ่นอยู่ต่ำเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้รับผลจากคลื่นบนผิวน้ำน้อยลงเท่านั้น แต่ก็จะกินน้ำลึกลงด้วย
- เว็บของนักออกแบบเรือของกองทัพเรือสหภาพโซเวียต (สูตรเพียบ)
« « Prev : คลังภาพ
2 ความคิดเห็น
หากน้ำตื้นมากถึงระดับกลางๆ คนสมัยก่อนใช้”ถ่อ” หากเป็นเรือใหญ่ก็ใช้ถ่อสองอันข้างละอัน หากเป็นเรือเล็กก็อันเดียว การถ่อเรือนั้นเหมาะกัยสภาพที่ต้อวผ่านขยะ หรือเศษไม้ หรืออื่นๆที่ลอยมากับน้ำหรือที่ติดอยู่ใต้น้ำบ้าง ถ่อ นั้นสามารถคอนโทลเรือได้ง่าย ยิ่งน้ำตื้นๆถ่อมีประโยชน์มาก หากน้ำลึกถ่อไม่มีความหมายเลย น้ำตื้นกระแสน้ำแรงถ่อก็บังคัยเรือได้ดี ทั้งนี้คนนั้นต้องถ่อเป็น ปัจจุบันไม่เห็นที่ไหนใช้แล้ว สมัยก่อนช่ววน้ำลงในแม่น้ำน้อย แม้เรือเอิี้ยมจุ้นที่บรรทุกข้าวเปลือกของโรสี ยังใช้ถ่อสอวแรงหรือมากกว่าด้วยซ้ำไป ใช้ทั้งขาขึ้น หรือทวนน้ำ ก็จะเลาะไปตามชายฝั่ง หากช่ววขาล่องน้ำ ก็บังคับเรืออยู่กลางลำน้ำให้กระแสน้ำพัดพาเรือไป แต่การถ่อจะช่วยให้เรือเดินทางเร็วขึ้น
ถ่อที่ใช้สำหรับเรือมหญ่ เช่นเรือเอี้ยมจุ้น บรรทุกข้าวนั้น ถ่อจะมีขนาดใหญ่และยาว ปลางข้างที่จุ่มลงน้ำจะมีเหล็กรูปตัว U ขากางๆ ติดที่ปลายถ่อด้านจมน้ำ ส่วนปลายถ่อด้านบนพ้นน้ำ จะใช้ไม้มาเหลา หรือกลึงให้โค้งกว้างๆเอาผ้ารอใส่ด้านบนแล้วประทับบ่าใช้สำหรับออกแรงดันเรือโดยใช้บ่า เรือเอี้ยวจุ้นใหญ่จึงสามารถเดินถ่อตามกราบเรือได้
เดี๋ยวนี้ไม่เห็นภาพนี้แล้วกลายเป็นเครื่องยนต์หมดแล้ว
พอเปลี่ยนไปใช้มอเตอร์ไซค์กัน เลยลืมนึกถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แต่พอนึกขึ้นได้ ก็หากอไผ่ไม่เจอแล้วครับ ไม้ไผ่ ไม้รวกในภาคกลาง และภาคอีสาน ซื้อจากภาคเหนือทั้งนั้น