การขาดมิติในข่าวสาร

อ่าน: 3101

เมื่อเกิดเหตุความไม่สงบเมื่อปีก่อนและอีกครั้งเมื่อกลางปีที่แล้ว ผมบ่นในทวิตเตอร์ว่าข่าวสารไม่มี timestamp ทำให้ไม่รู้ว่าเป็นข่าวเก่าหรือข่าวใหม่ เนื่องจาก Retweet/Share/Forward ส่งต่อกันทางอิเล็กทรอนิกส์ไปเรื่อยๆ

สักพักการรายงานข่าวก็เปลี่ยนไปบ้างครับ มีเวลาแปะข้างหน้ามาก่อน ไม่ว่าจะเป็นผู้รายงานข่าวต้นทางหรือสำนักข่าวตระหนักได้เองหรือไม่ก็ตาม ในฐานะผู้บริโภค ผมก็ขอขอบคุณที่ให้ความกระจ่างในข่าวสารครับ

ที่เสนอเรื่อง timestamp นี้ เพราะเป็นบทเรียนจากสึนามิปี 2547 ซึ่งมีความอลหม่านมาก ข่าวถูกก็อบปี้ไปมาจนไม่รู้ว่าอะไรเก่าอะไรใหม่ ข้อมูลต้นทางก็ไม่มีให้ตรวจสอบ ทั้งความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ความเห็นส่วนตัว ข่าวลือ แซวเล่น รายงานเหตุการณ์ เรื่องเล่า ปนเปกันไปหมด แล้วไม่รู้ด้วยว่า “ข่าว” อันนั้น อยู่บนบริบทอะไร

ช่วงนี้มีการตื่นข่าวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นเกิดมีปัญหาขึ้นมาจากภัยธรรมชาติ ก็เกิดการอลหม่านขึ้นอีกแล้ว ตื่นรังสีจากข่าวที่ถูกส่งต่อซ้ำๆ กันโดยไม่มีเวลา บริบท ตลอดจนแหล่งข่าว ด้วยความแตกตื่น แล้วก็มีข่าวให้เอาเบตาดีน (น้ำยาใส่แผลสด) ทาคอ นัยว่าการทายาที่มีส่วนผสมของไอโอดีนที่ดูดซึมผ่านเนื้อเยื่ออ่อน จะทำให้ไอโอดีนเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งไอโซโทปของไอโอดีนที่มากับฝุ่นกัมมันตภาพรังสี ไม่สามารถเข้าไปในต่อมไทรอยด์ได้เพราะ “เต็มแล้ว” หรือว่าเป็นข่าวลือขายยาก็ไม่รู้ แต่ว่าทั้งยาเม็ดและยาใส่แผล ขาดตลาดไปเรียบร้อยแล้ว

เรื่องนี้ อ.วิบุล วงศ์ภูวรักษ์ ท่านรวบรวมข้อมูลไว้

ผมยังเห็นว่าในการเผยแพร่ข่าวสารนั้น จะเป็นต้องระบุต้นทางของข่าวด้วยลิงก์ ถ้าข่าวต้นทางไม่ใช่ข่าวออนไลน์ ก็ควรจะลงเวลาไว้ด้วย และเป็นเวลาที่เกิดข่าว ไม่ใช่เวลาที่ได้อ่าน/ได้ฟังข่าว เพื่อที่ผู้รับข่าวต่อ จะได้แยกแยะบริบทของข่าวได้

ส่วนการเตือนนั้น ไม่ผิดหรอกครับ เพียงแต่ว่าต้องบอกให้ครบ เพื่อไม่ให้เกิดการตื่นกลัวและฟุ้งซ่าน — การเตือนก็เตือนล่วงหน้าทั้งนั้นล่ะครับ เตือนเพราะไม่อยากให้พลาดด้วยความไม่รู้ ถึงเหตุการณ์จะไม่เกิดขึ้นตอนนี้ แต่ถ้ามีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต เตือนไว้ก็ไม่เสียหายอะไร ดังนั้นบริบทของข่าวจึงจำเป็นต้องชัดเจน และเป็นเรื่องที่ถูกต้องนะครับ

การเตือนจำเป็นต้องให้คนเข้าใจบริบททั้งหมด เรื่องใดเป็นความรู้ที่ท่านเข้าใจดี ก็ต้องกล้าอธิบาย ชี้แจง ตอบข้อซักถามได้ ถ้าเรื่องใดที่เป็นความรู้มือสอง ซึ่งท่านเห็นว่าน่าสนใจ กรุณาพิจารณาทิ้งลิงก์เอาไว้ให้ผู้ที่สนใจไปศึกษาเพิ่มเติมด้วยครับ

« « Prev : ตาข่ายคลุมฟ้า (2)

Next : ไปภูเก็ตช่วงดวงจันทร์โคจรใกล้โลก » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2011 เวลา 0:10

    อยู่ต่างจังหวัดยังอาศัยรองน้ำฝนจากหลังคาไว้ดื่ม
    เพราะอยู่ห่างไกลจากโรงงานและควันพิษอื่นๆ
    หลังจากปล่อยน้ำฝนทิ้งในช่วงแรกๆ
    กะว่าหลังคาสะอาดก็รองน้ำฝนใส่ถังเก็บไว้
    แต่พอมีข่าวรังสีลอยฟ่องในบรรยากาศ
    ก็เป็นกระต่ายตื่นตูม
    ไม่แน่ใจว่าจะรองน้ำฝนมาใช้ดื่มได้เหมือนเดิมรึเปล่า

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2011 เวลา 0:14
    ตอนนี้ได้ครับ ญี่ปุ่นอยู่ไกลมาก ในจีนหนาวเย็นจัด ลมหนาวพัดจากจีนไปญี่ปุ่น ทำให้ฝุ่นกัมมันตภาพรังสีพัดจากญี่ปุ่นไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก และความเย็นจากจีนกำลังแรงมากอีกส่วนหนึ่ง ก็แผ่ลงมาอีสาน จึงควรรีบสำรองน้ำฝนไว้ใช้ให้เต็มแม็กเลยครับ
  • #3 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2011 เวลา 16:03

    ฝนบ่ตก นะสิครับ อิอิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.088750839233398 sec
Sidebar: 0.17313599586487 sec