อย่างนี้เมืองไทยไม่มี
อ่าน: 3007ในสหรัฐมีหน่วยงานวิจัยหลายหลายรูปแบบ ของรัฐ ของเอกชน ของมหาวิทยาลัย วิจัยส่วนตัวตามความสนใจ
แต่พอเป็นเรื่องที่สำคัญต่อประเทศชาติแล้ว จะเป็นของรัฐครับ แต่รัฐไม่ยุ่ง นักการเมืองไม่ยุ่ง ระเบียบราชการก็ไม่ต้องมายุ่ง ปล่อยให้เป็นเรื่องของมืออาชีพที่ทำเพื่อชาติจริงๆ — อันนี้เป็นโครงสร้างที่ดีมาก เพราะจะให้คนไม่รู้เรื่อง และระเบียบที่ไม่ไว้ใจใครเลยเข้ามายุ่มย่ามได้อย่างไร
Mitre Corporation เป็นหน่วยงานวิจัยที่รับเงินทุนวิจัยจากรัฐ เขาบริหารผ่าน Board of Trustees ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่การล็อบบี้/block vote จะไม่มีผล บอร์ดของเขาไม่ใช่ผู้รู้ไปหมด ไม่ต้องเป็นเซเล็บผู้มีชื่อเสียง แต่เลือกสรรมาจากนักบริหารเทคโนโลยี (คนที่จะไม่ถูกความซับซ้อนของงานวิจัยหลอกต้มเอาง่ายๆ และรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร ต้องเอื้ออะไรบ้างจึงจะเดินถึงเป้าหมายนั้น ถึงเป้าหมายแล้วจะทำอะไรต่อ)
The MITRE Corporation is a not-for-profit organization chartered to work in the public interest. As a national resource, we apply our expertise in systems engineering, information technology, operational concepts, and enterprise modernization to address our sponsors’ critical needs.
MITRE manages Federally Funded Research and Development Centers (FFRDCs): one for the Department of Defense (known as the DoD Command, Control, Communications and Intelligence FFRDC), one for the Federal Aviation Administration (the Center for Advanced Aviation System Development), one for the Internal Revenue Service and U.S. Department of Veterans Affairs (the Center for Enterprise Modernization), and one for the Department of Homeland Security (the Homeland Security Systems Engineering and Development Institute). MITRE also has its own independent research and development program that explores new technologies and new uses of technologies to solve our sponsors’ problems in the near-term and in the future.
แหล่งเงินของ MITRE มาจากรัฐห้าทางใหญ่ๆ คือกระทรวงกลาโหม (DoD) ศูนย์บริหารจัดการการบิน (FAA) กรมสรรพากร (IRS) กระทรวงทหารผ่านศึก (VA) และกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยของมาตุภูมิ (DHS)
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รับเงินสนับสนุนการวิจัยทางเศรษฐกิจจากภาคเอกชน ที่ต้องการให้เกิดงานวิจัยเชิงเศรษฐกิจอย่างถูกต้องและเป็นกลาง
สำนักงานสนับสนุนกองทุนการวิจัย (สกว.) มีการแบ่งหมวดหมู่ที่ดี แต่ตัวงานวิจัยเองมักจะไปทางลึก-ตามความสนใจของนักวิจัย ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้แคบ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) น่าจะมีโครงสร้างที่เหมาะสมที่สุด แต่ติดขัดด้วยระเบียบ (แม้จะคล่องตัวมากกว่าส่วนราชการอื่นๆ ก็ตาม) ถึงแม้จะดูว่า สวทช.อยู่ในแนวของการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ เท่าที่ผมเห็น งานของ สวทช.เข้าใกล้ชีวิตของชาวบ้านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นะครับ ใกล้กว่างานของ สกว.เสียอีก
ผมคิดว่าเมืองไทยยังขาดถังความคิด (Thinktank) ที่กล้าคิดครับ อาจจะมีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ซึ่งผมเรียกเล่นๆ ว่าสภาไม่พูด ซึ่งดีกว่าสภาน้ำท่วมทุ่งมากมาย) โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดที่แล้วที่มี ดร.โคทม อารียา เป็นประธาน น่าจะเหมาะสำหรับหน้าที่นี้มากกว่าสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ — เพียงแต่ว่าสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั้นเป็นที่ปรึกษา ซึ่งคณะรัฐมนตรีอาจไม่ฟังก็ได้ ในขณะที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็มีหน้าที่ต่างๆ มากมายจนแทบไม่มีเวลามาดูภาพใหญ่อีกแล้ว หลังๆ มานี่ เคยได้ยินแนวทางพัฒนาอะไรใหม่ๆ จากสภาพัฒน์บ้างไหมครับ ?
นอกจาก thinktank ที่ทำ roadmap แบบสะใจแล้ว องค์กรต่างๆ ที่มีอยู่ ยังขาดการประสานกันด้วยครับ วันนี้ นอกจากคำกล่าวอ้างอันสวยหรูว่าประเทศชาติจะรุ่งเรืองแล้ว ก็ยังไม่เห็นว่าจะเดินทางใดไปสู่ความรุ่งเรืองนั้น แค่รักเมืองไทยอย่างเดียว ไม่พอหรอกครับ ต้องลงมือทำด้วย
« « Prev : คนเมืองแบบคนป่า คนป่าแบบคนเมือง
Next : แผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์ » »
1 ความคิดเห็น
ถังความคิด มีแต่ขยะ
ถังไม่คิด ว่างเปล่า
ถังคิดิเล็กคิดน้อย เข้าไม่ถึงทุน
เมืองไทยจึงมีแต่ถัง
ใครอยากทำอะไรก็ดิ้นตายทำเอง