แผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์

อ่าน: 4025

บันทึกนี้ เขียนก่อนที่สารคดี Megaquake 10.0 จะฉายทาง History Channel ในตอนค่ำนี้ เพื่อที่จะให้แง่คิดอีกด้านหนึ่งสำหรับผู้ชมในวงเล็กๆ ที่อ่านบันทึกนี้ แต่เนื่องจากมันเป็นเพียงแง่คิด ผมไม่รับรองความถูกต้องนะครับ เพราะไม่มีความสามารถใดๆ ในการทำนายทายทักอนาคต แต่ถ้าถามถึงความเสี่ยง…พอตอบได้

มีโอกาสไหมที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์

ตอบ: ไม่รู้ครับ เท่าที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์…มันยังไม่เคยเกิดขึ้นมา

แผ่นดินไหวที่แรงที่สุด ประมาณ 9.5 ริกเตอร์ เกิดบนบกที่ชิลีในเดือนพฤษภาคม 2503 เกิดเพราะแผ่นเปลือกโลกนาซคามุดใต้แผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ แล้วเกิดดีดขึ้นมา (มุดกันมานานๆ เกิดความเค้นที่รุนแรง เรียกว่า Megatrust จนแผ่นดินแตกหัก แล้วดีดขึ้น) เกิดที่ความลึกเพียง 33 กม. จึงรุนแรง

ในอดีต นักธรณีวิทยาศึกษาแผ่นเปลือกโลก ไม่พบว่ามีแผ่นเปลือกโลกมุดตัวอันไหน ที่น่ามีพลังงงานมากพอจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์ — อันนี้ ผมคิดว่ามีข้อโต้แย้งได้เหมือนกัน คือ (1) โลกวันนี้ไม่เหมือนกับโลกเมื่อวาน (2) แผ่นดินไหวไม่จำเป็นต้องเกิดจากแผ่นเปลือกโลกมุดตัวหรือเกยกันเท่านั้น (3) แผ่นดินไหวขนาดที่เล็กกว่า 10 ริกเตอร์ หากเกิดใกล้บริเวณที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น สามารถสร้างความเสียหายได้มากกว่าครั้งที่เกิดรุนแรงแต่เกิดในบริเวณห่างไกล

มีแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัว แล้วเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิขนาดใหญ่อีกหรือไม่

ตอบ: มีสองแห่งเท่าที่มีการศึกษา

อันแรกคือที่แนวมุดตัวคาสเคเดีย ซึ่งเกิดจากแผ่นเปลือกโลกฮวนเดอฟูคา มุดลงใต้แผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ เมื่อสังเกตดูแผ่นดินไหวในบริเวณนั้น พบว่าในแนวมุดตัวคาสเคเดียไม่ปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่อย่างน่าประหลาด ทำให้เกิดข้อสัณนิษฐานว่า มีความเค้นในรอยแยกสูงแล้ว (เพราะไม่รู้จักปลดปล่อย)

หากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ตามแนวนี้ ก็อาจจะเกิดสึนามิ โดยบริเวณเสี่ยงตามฝั่งตะวันตกตั้งแต่ตอนเหนือของมลรัฐคาลิฟอร์เนีย โอเรกอน วอชิงตัน ไปจนแวนคูเวอร์ในรัฐบริทิชโคลัมเบียของคานาดา

อันที่สองก็เจ้าเก่า คือแนวมุดตัวซุนดร้า ที่เคยเกิดสึนามิเมื่อปลายปี 2547 (อย่าเพิ่งแตกตื่นตกใจ)

Wikipedia อธิบายเหตุสึนามิ ในส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกดังนี้

The megathrust earthquake was unusually large in geographical and geological extent. An estimated 1,600 kilometres (1,000 mi) of fault surface slipped (or ruptured) about 15 metres (50 ft) along the subduction zone where the India Plate slides (or subducts) under the overriding Burma Plate. The slip did not happen instantaneously but took place in two phases over a period of several minutes:

  • Seismographic and acoustic data indicate that the first phase involved a rupture about 400 kilometres (250 mi) long and 100 kilometres (60 mi) wide, located 30 kilometres (19 mi) beneath the sea bed—the largest rupture ever known to have been caused by an earthquake. The rupture proceeded at a speed of about 2.8 kilometres per second (1.7 miles per second) (10,000 km/h or 6,200 mph), beginning off the coast of Aceh and proceeding north-westerly over a period of about 100 seconds.
  • A pause of about another 100 seconds took place before the rupture continued northwards towards the Andaman and Nicobar Islands. However, the northern rupture occurred more slowly than in the south, at about 2.1 km/s (1.3 mi/s) (7,500 km/h or 4,700 mph), continuing north for another five minutes to a plate boundary where the fault type changes from subduction to strike-slip (the two plates slide past one another in opposite directions). This reduced the speed of the water displacement and so reducing the size of the tsunami that hit the northern part of the Indian Ocean.

หากเชื่อข้อมูลข้างบน แนวมุดตัวทางด้านเหนือของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดสึนามื ได้ขยับขึ้นแล้ว โอกาสเกิดซ้ำในเวลาไม่นานคงจะยากขึ้น

Dr Kerry Sieh ศาสตราจารย์ทางธรณีวิทยาแห่งคาลเทค ซึ่งมาฝังตัวที่เกาะสุมาตรามาสักสิบปี ใช้ GPS วัดความสูง พบว่าสุมาตราฝั่งใต้ถูกยกให้ลอยขึ้น จนปะการังซึ่งควรจะอยู่ใต้น้ำโผล่พ้นน้ำขึ้นมาเป็นฟุต Dr Sieh เคยเตือนถึงสึนามิมาก่อนปี 2547 หลังจากเกิดเหตุขึ้นแล้ว เขาก็เตือนฝั่งใต้ของเกาะสุมาตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองปาดัง ซึ่งมีประชากรล้านคน มีภูเขาโอบล้อม แต่วิ่งขึ้นเขาได้ลำบากเพราะรอยแยกอยู่ใกล้ฝั่งทำให้มีเวลาน้อย

หากเกิดสึนามิใต้เกาะสุมาตรา ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย — ก็จริงอยู่ที่คลื่นสึนามิวิ่งอ้อมเกาะได้ แต่คงอ้อมเกาสุมาตราไม่ไหว

บนเกาะสุมาตรามีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับอยู่ และมีภูเขาไฟโทบาซึ่งเคยระเบิดแบบมหาวินาศ​ VEI 8 ในอดีตกาลนานมาแล้ว พบเถ้าภูเขาไฟหนา 9 เมตรในมาเลเซีย และ 15 ซม.ในอินเดีย [ภูเขาไฟใกล้ตัว]

มีประเด็นสำคัญอีกหลายประเด็นที่ต้องย้ำกันอีกที

  1. การเกิดแผ่นดินไหว ไม่จำเป็นต้องเกิดสึนามิ
  2. การเกิดสึนามิ ไม่จำเป็นต้องเกิดมาจากแผ่นดินไหว
  3. แทนที่จะตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อคำทำนายทายทัก สู้พิจารณาจนเข้าใจความเสี่ยงของพื้นที่ แล้วเตรียมความพร้อมให้เหมาะกับความเสี่ยงแบบต่างๆ น่าจะดีกว่า
  4. ใครทำนายถูกหรือไม่ถูก ไม่สำคัญเท่ากับชาวบ้านในพื้นที่ เข้าใจความเสี่ยงและผลกระทบของเหตุการณ์ ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ไม่แตกตื่น และรักษาชีวิตเอาไว้ได้

« « Prev : อย่างนี้เมืองไทยไม่มี

Next : กำแพงดินอัด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 April 2011 เวลา 18:43

    อ่านแล้ว นั่งมึนเลย
    ไม่ได้กลัว่ามันจะเกิดหรือไม่เกิด
    แต่เห็นว่าโลกนี้มันป่วนกระชั้นหลายเรื่องหลายที่เหลือเกิน
    ดูทีวี ก็บอกว่าอเมริกาเจอวาตะภัยกวาดไปหลายรัฐ
    ยี่ปุ่นก็ยังไม่นิ่ง น่าสงสารมาก
    พม่า-ลาว-ก็ตุ๊บๆต้อมๆ เพราะมันไม่มีหลักประกันอะไรได้
    ความรู้ที่มนุษย์มีก็ระดับหนึ่ง เท่านั้น
    ความจริงที่ยังค้นไม่พบอีกละ
    ตัวแปรที่อาจจะเกิดอีกละ
    ถ้าแผ่นดินไหวร่วมกับภูเขาไฟระเบิด มันจะเป็นจะไดก็บ่ฮู้เตื้อ อิอิ บ่ออก

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 April 2011 เวลา 22:37
    โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่องครับ บางทีช้าจนไม่สังเกต แต่พอสังเกตเห็นก็ตกใจ ทั้งที่มันเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เหมือนชีวิตเรา เผลอแป๊บเดียว แก่ซะแล้ว (ตกใจเป็นอย่างมาก อิอิ)
  • #3 ลานซักล้าง » แผ่นดินบิด ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 April 2011 เวลา 2:38

    [...] เอกสารในย่อหน้าแรก เป็นงานวิจัยของคาลเทคเหมือนกัน แต่เป็นการมองในภาพที่ใหญ่กว่าสึนามิปี 2547 มาก (อันหลังผมเล่าไว้นิดหน่อย ท้ายบันทึก [แผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์]) [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.0211179256439 sec
Sidebar: 0.71579003334045 sec