ภาวะฉุกเฉินกับป้ายสัญญลักษณ์
อ่าน: 3447ไม่รู้เป็นอะไร ผมย้อนกลับมานึกถึงภาวะสับสนอลหม่านในการจัดการวิกฤติสึนามิครับ ตอนนั้นไม่รู้เลยว่าอะไรอยู่ที่ไหน โรงพยาบาลสนาม คนหลง คนหายระบบโทรคมนาคม อาหาร/น้ำสะอาด อยู่ตรงไหน ไม่รู้เลย
มาคิดดูอย่างง่ายๆ ว่าสถานที่ที่มีบริการแบบนี้ และยังให้บริการได้ น่าจะประกาศให้คนเห็นได้ในระยะไกล ก็ใช้บัลลูนส่งป้ายสัญลักษณ์ ลอยขึ้นไปในอากาศสัก 50 เมตรก็คงพอนะครับ แต่ดูอย่าอยู่ใกล้สายไฟ
บัลลูนใช้ก๊าซที่เบากว่าอากาศ ซึ่งน่าจะเป็นฮีเลียม แต่ถ้าฉุกเฉินจริงๆ หาฮีเลียมไม่ได้ ก็อาจใช้ไฮโดรเจนหรือมีเทน (ก๊าซธรรมชาติหรือ NGV) ได้ แต่จะต้องระวังให้มากเพราะก๊าซพวกหลังนี้ติดไฟได้
ทีนี้ เมื่อเอาบัลลูนขึ้นอากาศแล้ว ก็อาจใช้บัลลูนนั้นเป็นสถานีทวนสัญญาณโทรคมนาคมได้ ซึ่งไม่น่าจะหนักเกิน 2 กก. รวมแบตเตอรี่แล้ว
ที่ payload 2 กก. จะต้องใช้บัลลูนทรงกลม ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางดังนี้
บัลลูนฮีเลียม: เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ฟุตครึ่ง
บัลลูนไฮโดรเจน: เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ฟุต
บัลลูน NGV: เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ฟุตครึ่ง
สำหรับโรงพยาบาลสนาม อาจจะใส่ LED ลงไปในบัลลูน เพื่อให้มองเห็นได้ในเวลากลางคืนด้วย
« « Prev : เที่ยวงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี ๒๕๕๓
Next : เที่ยวงานเกษตรแฟร์ ปี ๒๕๕๓ » »
2 ความคิดเห็น
ในตึกต้องมีป้ายทางหนีด้วยครับ ถังดับเพลิงไว้ช่วยตัวเอง ตามถนนควรมีป้ายชี้ไปพวกโรงพยาบาลกับที่หนีภัยกรณีสึนามิ บ้านเราระบบป้ายแย่คอดๆ ไปตามป้ายโดนมันหลอกก็มี -_-’
ผมนึกถึงป้ายหลังจากเกิดเหตุครับ เป็นเรื่องที่จะต้องคิดและเตรียมการล่วงหน้า น่าจะมีประโยชน์มากเมื่อะไรๆ ก็ไม่อยู่ในที่ที่ควรจะอยู่ และมองเห็นได้จากระยะไกลครับ
ป้ายที่ติดตั้งก่อนเกิดเหตุ อาจอยู่หรือไม่อยู่ก็ได้ อาจมีการย้ายสถานที่ไปยังที่อื่นได้ หากโครงสร้างพื้นฐานตรงนั้นไม่พร้อม เรียกว่าไม่มีเหตุ ก็ไม่เอาบัลลูนขึ้น แต่ถ้าปล่อยขึ้นไป หมายความว่าตรงนั้นมีบริการที่ใช้ได้จริงๆ
กรณีคนหลงป่าก็เช่นกัน แทนที่จะส่งทีมย่อยตระเวนหา บางทีให้เขาเดินมาหา อาจง่ายกว่า เพียงแต่เวลาคนหลงนั้น ไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหน