บทเรียนเกี่ยวกับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวด
อ่าน: 3470โลกได้รับบทเรียนเกี่ยวกับการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวด (Critical Infrastructure) จากการยึดสนามบินในกรุงเทพสองแห่ง ทำให้การคมนาคมทางอากาศและการขนส่งสินค้า ชะงักไปหมด
ผมไม่ประสงค์จะให้บันทึกนี้เป็นเรื่องทางการเมือง แต่อยากชี้ให้เห็นว่ามีความบกพร่องในระบบความคิด และความผิดพลาดในการจัดลำดับความสำคัญ เกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวด
Critical infrastructure is a term used by governments to describe assets that are essential for the functioning of a society and economy.
ในประเทศไทยคณะอนุกรรมการด้านความมั่นคง ของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แบ่งกลุ่มองค์กร และหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มไฟฟ้า พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ
- กลุ่มเกษตรกรรม อาหาร น้ำ และยา
- กลุ่มการเงิน การคลัง การธนาคาร การประกันภัย และหลักทรัพย์
- กลุ่มสื่อสาร โทรคมนาคม ขนส่ง และสื่อสารมวลชน
- กลุ่มข้อมูลสารสนเทศ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กลุ่มความมั่นคงของประเทศ
- กลุ่มความสงบสุขของสังคม
- กลุ่มองค์กรภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล
โดยแบ่งระดับความรุนแรงหลายมิติ (เมื่อบริการพื้นฐานนั้นหายไป) เช่น
ด้านบุคคลที่ได้รับผลกระทบ
* กระทบผู้ใช้จำนวนประมาณน้อยกว่า 10,000 คน จัดเป็นระดับ Low
* กระทบผู้ใช้จำนวนประมาณ 10,000 - 100,000 คน จัดเป็นระดับ Moderate
* กระทบผู้ใช้จำนวนประมาณมากกว่า 100,000 คน จัดเป็นระดับ Highด้านความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพของผู้ใช้งาน
* ไม่ได้รับผลกระทบด้านความเจ็บป่วย จัดเป็นระดับ Low
* หากบาดเจ็บ หรือ ป่วย 1 คน จัดเป็นระดับ Moderate
* หากเสียชีวิตเพียง 1 คน จัดเป็นระดับ Highด้านมูลค่าความเสียหายโดยตรงของผู้ใช้บริการ
* หากเสียหายทางธุรกิจต่อวันมูลค่าประมาณ 1 ล้านบาท จัดเป็นระดับ Low
* หากเสียหายทางธุรกิจต่อวันมูลค่าระหว่าง ประมาณ 1- 100 ล้านบาท จัดเป็นระดับ Moderate
* หากเสียหายทางธุรกิจต่อวันมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท จัดเป็นระดับ Highด้านผลกระทบทางด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของประเทศ
ประเด็นอยู่ตรงนี้ล่ะครับ ผมคิดว่าที่กรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทำออกมานั้นดีมาก แต่จะเกิดผลหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นกับการออกกฏหมาย หรือกฏเกณฑ์มาบังคับหรอกครับ ควรจะเกิดจากความตระหนักรู้ในความสำคัญ และความสำนึกรับผิดชอบของผู้ที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะจัดแผนสำรอง ฝึกซ้อมเป็นประจำ เพื่อไม่ให้เกิดการตื่นตระหนก แต่ละหน่วยงาน จำเป็นต้องมีแผนสำรองของตนเอง
ถึงไม่ได้ดูแลโครงสร้างพื้นฐาน (ที่สำคัญยิ่งยวด) แต่ถ้าไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาท หน่วยงานที่เราทำอยู่ ก็น่าจะพิจารณาถึงแผนสำรองฉุกเฉินเช่นเดียวกันครับ
« « Prev : ใครน่ะ?
Next : อริยะกลัวเหตุ ปุถุชนกลัวผล » »
ความคิดเห็นสำหรับ "บทเรียนเกี่ยวกับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวด"