อิฐมวลเบา กันร้อน กันหนาว

โดย Logos เมื่อ 26 November 2009 เวลา 0:28 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 7027

ก็รู้ว่าเวลาหนาวนั้น มันทรมาณครับ หนาวซ้ำซาก ก็แก้แบบเดิมๆ ใส่เสื้อกันหนาว ห่มผ้าห่ม ผิงไฟ ผิงไฟ ผิงไผ ผิงไผ

บ้านชาวเขาแบบใต้ถุนสูงนั้น เวลาหนาว นอนก็นอนไม่ได้ น่าจะแก้ที่ตัวบ้านครับ สร้างบ้านดิน หรือขุดโพรงนอน คงจะดีกว่า

« « Prev : ดาวเทียมผ่านหัว

Next : ถ้าโลกนี้มืด… » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

5 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 November 2009 เวลา 4:41

    ที่สวนป่า มีเตาถ่านที่ขุดลงในดินอยู่แล้ว
    ถ้าโลกนี้มันหนาวมากจนถึงขั้นวิกฤตฺ
    ก็ปรับสภาพเตาถ่านเป็นห้องนอนได้
    เส้นผ่าศูนย์กลาง7 เมตร สูง 5 เมตร
    นอนได้สบายๆ4ชีวิต
    เฮ้อ มีเรื่องน่าทำเยอะแยะไปหมด
    จบข่าว

  • #2 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 November 2009 เวลา 5:43

    เชียงใหม่เมื่อยี่สิบปีก่อนหนาวมาก หอพักที่อยู่เขาใช้วิธีก่ออิฐ(บล็อก) สองชั้น อยู่สบายไม่ร้อนไม่หนาวค่ะ เคยไปยืนดูคนสร้างบ้านที่เมืองนอก เขาใช้ผนังไม้อัดกับปูนสลับกันเป็นสามชั้นกันหนาวได้ดีเลยค่ะ

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 November 2009 เวลา 6:00
    ดัชนีความเป็นฉนวนความร้อน เรียกว่าค่า R ครับ ยิ่งมีค่ามากก็ยิ่งเป็นฉนวนที่ดี กล่าวคือ ยิ่งค่า R มาก ความร้อนและความเย็นก็ยิ่งผ่านไม่ได้

    การเพิ่มค่า R เพิ่มได้โดยเลือกใช้วัสดุที่มีค่า R สูง เช่นอากาศ มีค่า R สูงกว่าคอนกรีต ดังนั้นอิฐมวลเบาซึ่งมีช่องว่างของอากาศผสมอยู่ในเนื่ออิฐ หรืออิฐบล็อคซึ่งมีช่องว่างของอากาศเป็นรูเบ้อเริ่มสามรู  จึงมีค่า R สูงกว่าอิฐหรือคอนกรีตตันๆ

    กำแพงสองชั้น (double sided wall) คือกำแพงที่มีช่องว่าเป็นอากาศอยู่ตรงกลาง ก็มีค่า R สูงด้วยเหตุเดียวกัน หรือจะเอาโฟมใส่แทนอากาศก็ได้นะครับ

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 November 2009 เวลา 17:25
    มีช้อมูลของ Papercrete (อิฐมวลเบา ประกอบด้วยกระดาษ กับปูนซีเมนต์ แล้วบางทีก็ผสมทรายหรือดินด้วย) มีหลายสัดส่วนครับ

    เขาใช้เซลลูโลสในเยื่อกระดาษ เป็นตัวเสริมความแข็งแรงของปูนซีเมนต์

  • #5 ลานซักล้าง » ความช่วยเหลือแบบบูรณาการ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 November 2010 เวลา 20:15

    [...] เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ สืบเนื่องจากบันทึก [อิฐกระดาษ อิฐต้นไม้] ซึ่งเขียนเมื่อตอนฝนตกหนักบริเวณเขาใหญ่ แต่น้ำยังไม่ทะลักไปท่วมปากช่อง/ปักธงชัย บันทึกนั้นใช้เซลลูโลสผสมในปูนซีเมนต์ ทำให้ยังคงความแข็งแรงอยู่ได้ แต่ใช้ปูนน้อยลงครับ เหมือนกับเวลาสร้างบ้านดิน เขาเอาดินพอกฟาง ซึ่งฟางคือเซลลูโลสนั่นแหละ มันจะยึดดินให้เกาะอยู่ด้วยกันล่ะครับ [อิฐมวลเบา กันร้อน กันหนาว] [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.21382093429565 sec
Sidebar: 0.15326905250549 sec