ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?! ตอนต่อมา

อ่าน: 4502

ต่อจากนี้ไป เราจะได้ยินคำเตือนเรื่องดินถล่ม ทุกครั้งที่คาดว่าจะมีฝนตกหนัก แล้วในที่สุดก็จะรู้สึกเฉยๆ ไปในที่สุด… ความรู้สึกแบบนี้อันตรายครับ ถึงเตือนแล้วไม่เกิด หรือว่าเตือนแล้วไม่มีทางออกให้ก็ตาม

บ้านเรือนที่ตั้งอยู่เชิงเขามีความเสี่ยงต่อดินถล่มเสมอ ไม่ว่าฝนจะตกหนักหรือไม่ และไม่ว่าจะมีใครเตือนภัยหรือไม่

FEMA อธิบายไว้ว่า

A landslide is defined as “the movement of a mass of rock, debris, or earth down a slope”. (Cruden, 1991). Landslides are a type of “mass wasting” which denotes any down slope movement of soil and rock under the direct influence of gravity. The term “landslide” encompasses events such as rock falls, topples, slides, spreads, and flows, such as debris flows commonly referred to as mudflows or mudslides (Varnes, 1996). Landslides can be initiated by rainfall, earthquakes, volcanic activity, changes in groundwater, disturbance and change of a slope by man-made construction activities, or any combination of these factors. Landslides can also occur underwater, causing tsunami waves and damage to coastal areas. These landslides are called submarine landslides.

Failure of a slope occurs when the force that is pulling the slope downward (gravity) exceeds the strength of the earth materials that compose the slope. They can move slowly, (millimeters per year) or can move quickly and disastrously, as is the case with debris-flows. Debris-flows can travel down a hillside of speeds up to 200 miles per hour (more commonly, 30 - 50 miles per hour), depending on the slope angle, water content, and type of earth and debris in the flow. These flows are initiated by heavy, usually sustained, periods of rainfall, but sometimes can happen as a result of short bursts of concentrated rainfall in susceptible areas. Burned areas charred by wildfires are particularly susceptible to debris flows, given certain soil characteristics and slope conditions.

ในกรณีของเมืองไทยซึ่งอยู่ในเขตมรสุม อาจมีปริมาณน้ำฝนสูงเกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งได้ ซึ่งจะทำให้ผิวดินอิ่มน้ำ ลดความแข็งแรงของเนื้อของภูเขาลง ทำให้เกิดดินถล่มตามมา

จากหนังสือ Rock slope engineering: civil and mining โดย Duncan C. Wyllie, Christopher W. Mah หน้า 109

By far the most important effect of ground water in a rock mass is the reduction in stability resulting from water pressures within the discontinuities.

เวลาขับรถผ่านหน้าผาที่มีหินถล่มบ่อย อาจจะเห็นความพยายามที่จะสร้างกำแพงคอนกรีตพยุงเอาไว้ แต่กำแพงคอนกรีตเหล่านี้ กลับไม่ใช่กำแพงทึบเหมือนกำแพงบ้าน หากแต่มีรู บางทีมีท่อโผล่ออกมาด้วย (เขาไม่ได้ตั้งใจจะให้ท่อโผล่ แต่ใส่ท่อเข้าไปได้แค่นั้นเอง) ทั้งนี้เพื่อถ่ายน้ำจากดิน/หิน ออกมาทิ้งข้างนอก ลดความดันของน้ำใต้ดิน อันจะลดความเสี่ยงของดินถล่มได้

ทีนี้ในส่วนของชาวบ้าน ซึ่งไม่มีทั้งเงิน และไม่มีความรู้ แต่มีบ้านตั้งขวางแนวดินถล่มอยู่ มีทั้งครอบครัวนอนอยู่ตรงนั้น จะทำอะไรได้บ้าง — นอกจากสวดอ้อนวอนแล้ว มีบ้างเหมือนกันครับ

ภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำฝนขนาดใหญ่ เมื่อฝนตกลงบนภูเขา ภูเขาดูดซึมไว้ส่วนหนึ่ง ที่เหลือก็ค่อยๆ ไหลลงตามไหล่เขาเป็นน้ำหลาก ส่วนที่ภูเขาดูดซึมไว้ กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไปลดความแข็งแรงของภูเขา ส่วนที่เป็นน้ำหลากลงมาจากยอด กลับถูกดูดซึมโดยไหล่เขาชั้นล่างๆ ลงมา พอดูดซึมปุ๊บ ความแข็งแรงก็ลดลงเนื่องจากความดันน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น

ดังนั้นถ้าจะลดความเสี่ยงดินถล่มจากแรงดันน้ำใต้ดินในภูเขา ก็ต้องรีบนำน้ำฝนออกจากภูเขา โดยการทำทางด่วนของน้ำไว้รอบเขา ที่จริงเขียนไว้แล้วใน [ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?!] ซึ่งน่าจะลองไปอ่านดูก่อนนะครับ

ถ้ารู้ว่าภูเขานั้นมีชั้นของดิน ก็ขุดลงไปถึงระดับชั้นแล้วทำท่อระบายน้ำให้

น้ำไหลมาเจอกรวด น้ำจะไหลไปตามกรวดได้ดีกว่าจะไหลแทรกดินไป จึงเหมือนเป็นการผันน้ำออกไปตามท่อ แทนที่จะปล่อยไว้ตามเดิม ปลายท่อก็ให้ลดระดับลงต่ำไปเรื่อยๆ นำน้าไปทิ้งอีกด้านหนึ่งของภูเขาที่ไม่มีบ้านเรือนชาวบ้านอยู่

ทีนี้น้ำที่หลากไปตามไหล่เขา ไหลไปเรื่อยๆ ก็จะซึมลงไปในเขา กลายเป็นน้ำใต้ดินเช่นกัน ดังนั้นก็ต้องจัดการน้ำที่ไหลไปบนผิวดินบนภูเขาด้วยครับ ใช้หลักการเดียวกัน คือขุคคูไม่กว้าง+ไม่ลึก (ไม่เกินคืบxคืบ) ดักน้ำที่หลากลงมาตามไหล่เขาเอาไว้ เช่นเดียวกับกรณีข้างบน คูนี้เอาหินกรวดใส่ไว้ ให้น้ำไหลไปข้างๆ ได้ แต่ตัวหินกรวดรับดินหรือเศษใบไม้ที่อาจไหลมากลบคู เอาน้ำไปทิ้งที่ด้านอื่นของภูเขาที่ไม่มีบ้านเรือไร่นาของชาวบ้าน หรือเอาไปรวมกันในบ่อน้ำของหมู่บ้านเลยก็ได้ครับ กลายเป็นใช้ภูเขาทั้งลูกเป็นพื้นที่รับน้ำ เอาน้ำไปเก็บไว้ใช้ในภายหลัง

ทางขวาเป็นรูประบบระบายน้ำที่ Machu Picchu ชาวเผ่าอินคา ค.ศ.1450-1540

ขั้นบันไดนี้ ใช้เพาะปลูกด้วย เนื่องจากเมืองอยู่บนภูเขาสูงไม่มีที่ราบสำหรับเพาะปลูก

มีรายละเอียดตามลิงก์นี้

« « Prev : แก้มลิงใต้ดิน

Next : เลิกประชุมกันอย่างสงบเสงี่ยม? » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 มิสเตอร์สะตอฯ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 December 2010 เวลา 16:57

    มนุษย์เราเกิดมาเพื่อทำให้โลกนี้กลมขึ้น ในขณะเดียวกันกฏต่างๆ บนโลกนี้ก็จะพยายามทำให้โลกกลมขึ้นเช่นกัน

    มนุษย์เราเกิดมาเพื่อทำให้โลกนี้กลมขึ้น เช่นการขุดภูเขามาถมทะเล การถมที่ต่างๆ ให้สูงขึ้นเท่าๆ กับถนน เพื่อป้องกันน้ำท่วมและความสะดวกในการอยู่ใกล้กับถนน และอื่นๆ
    เมื่อวานผมนั่งคุยกับน้าชายหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในบ้านเราและอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไปหลายๆ อย่าง
    สำหรับโลกเองก็พยายามทำให้ตัวโลกเองกลมขึ้นเช่น การเกิดแผ่นดินไหวและการเดินทางของเปลือกโลกวิ่งเข้าหามหาสมุทรแปซิฟิกก็เพื่อทำให้ตัวเองกลมขึ้นและกระจายน้ำในมหาสมุทรออกไป กระจายไปเพื่อให้โลกยังหมุนอยู่ได้อย่างสมดุล เพราะไม่อย่างนั้นน้ำจะห่ออยู่ตรงนั้นมากเกินไป อีกทั้งน้ำเค็มก็จะยิ่งหนักด้วย เขียนแล้วก็ว่ากันตามการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกครับ คราวนี้ การทำให้โลกกลมขึ้นตามเนินเขานี่จริงๆ หากปล่อยไว้ตามธรรมชาติก็จะค่อยๆเปลี่ยนไป แต่พอเราตัดถนนผ่าน ความเสี่ยงต่อคนเองก็เิริ่มมีขึ้นครับ
    ที่น่าสนใจคือแต่ละที่ดินที่ห่อภูเขาหินนั้นมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน ต้นไม้ที่ปักอยู่บนภูเขาก็แตกต่างกัน หลายๆ อย่างมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงและทำให้เกิดดินถล่มได้เช่นกันครับ
    จากภูเขาป่าก็กลายเป็นภูเขาสวนต่างๆ ตามรูปแบบของนโยบายทางการเกษตรและความมีอิสระในการเลือกปลูกพืช ต้นไม้ตามราคา ก็จะช่วยเร่งให้เกิดปฏิกิริยาทางการเปลี่ยนแปลงของสมดุลของโลกมากขึ้นครับ ดินโคลนถล่มจะเกิดก็ตอนที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบในดิน จนทำให้ดินเป็นสารละลายดิน แต่ไม่ได้หมายความว่าภูเขาจะไม่ถล่มในยามหน้าแล้งครับ ไม่เสมอไปครับ เพราะอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของรากภูเขาใต้ดินด้วยครับ ส่วนตอนที่ฝนตกหนักอันนี้ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดได้มากขึ้น
    ดังนั้นทุกอย่างที่เราเริ่มคิดเริ่มทำก็คือเริ่มเสี่ยงแล้วครับ การจะลดความเสี่ยงได้ก็คงต้องเข้าใจบริบทของความเสี่ยงนั้นก่อน และคำตอบเดียวก็ใช้กับทุกที่ไม่ได้เช่นกันครับเพราะว่าแต่ละพื้นที่มีบริบทต่างกัน การปลูกบ้านบนสันเขา ทำถนนตัดภูเขา ปลูกบ้านชายทะเลมากๆ ก็เสี่ยงแล้วครับ ปลูกบ้านในอ่างกระทะ สร้างบ้านโดยไม่ได้พิจารณาปัจจัยสิ่งแวดล้อม เงินอย่างเดียวจะเห็นว่าไม่พอต่อการสร้างบ้านอีกต่อไปแล้วครับ
    หากลองย้อนไปในอดีตในยามที่ไม่มีข่าว ไม่มีความรู้เทคโนโลยีขั้นสูงในการเตือนภัย ถามตัวเราเองว่าบรรพบุรุษเราอยู่กับชุดความรู้แบบไหน? เค้าอยู่กันได้อย่างไร?
    เมื่อวานผมถามน้าชายว่า นี่ครั้งนี้บ้านน้าไฟฟ้าดับห้าวัน ได้พึ่งพาเตาแก๊ส แล้วหากในอนาคตมันเกิดดับขึ้นมาหนึ่งเดือน หรือสามเดือนต่อเนื่อง เราจะอยู่กับชุดความรู้ปัจจุบันกันได้ไหม? เราไม่ปฏิเสธเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะสิ่งเหล่านี้อำนวยให้เราอย่างดีในตอนมีไฟฟ้า แต่ในยามไม่มีไฟฟ้าเราจะอยู่อย่างไม่ง่อยได้อย่างไร
    ผมจำได้จากอาจารย์นุกูลเล่าให้ฟังว่า ชาวกะเหรี่ยงบอกว่า “ลมพายุหมุนพัดมา จอมปลวกขาดสะบั้นเป็นเจ็ดท่อน คงเหลือไว้แต่เทียนขี้ผึ้งและฟางข้าว” ประโยคนี้เป็นปรัชญาของชาวเขาที่จะบอกว่า เมื่อเกิดภัยขึ้นมาก็จะเกิดความแตกแยกเกิดขึ้น เกิดปัญหาขึ้น สิ่งอำนวยต่างๆ ก็จบลง สิ่งที่สำคัญกับชีวิตในตอนนั้นก็คือ เทียน ขี้ผึ้ง ที่ให้แสงสว่างได้ ฟางข้าวหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะยังคงใช้ได้ในบริบทนั้น อย่างน้ำท่วมพายุมาวันก่อน ทุกอย่างตัดขาดจากระบบหมดครับ ไฟฟ้าดับหลายวัน ทุกคนก็อยู่กันในความมืดตอนกลางคืน ถามว่าอะไรที่ช่วยเราให้อยู่รอดได้ หลายคนต้องประหยัดน้ำอย่างสุดฤทธิ์  เอาน้ำที่ใช้แล้วมาใช้อีก ไปรองน้ำจากริมหลังคา พยายามกลับไปสู่การอยู่แบบไม่มีอะไร เหมือนการรีเซทชีวิตใหม่บนชีวิตเก่าเพื่อปรับตัวให้อยู่รอด สิ่งเหล่านี้คือสำคัญ
    ต่อไปจะมีภัยที่ผมขอเรียกว่า สหภัยพิบัติ ที่สามารถจะเกิดภัยพร้อมๆ กันได้โดยเกี่ยวโยงและไม่เกี่ยวโยงกันอย่างชัดเจนพร้อมๆ กัน ถามว่าเราจะต้องปฏิบัติตามภัยใด เช่น เกิดสึนามิกับโคลนถล่มพร้อมๆ กัน ถามว่าเส้นทางที่จะวิ่งที่ทำไว้นะ ใช้ได้จริงหรือ? สึนามิให้วิ่งขึ้นที่สูง โคลนถล่มให้วิ่งไปที่ต่ำ ถามว่าเกิดพร้อมๆ กัน เราจะใช้ความรู้ชุดใดดี? ผมถามในที่สัมมนา มีพี่คนหนึ่งตอบว่า ตายดีกว่า อิอิ  มันยังมีอะไรอีกเยอะที่ผมคิดว่าเราต้องเรียกว่าเป็นการเกิดครั้งแรก เป็นประสบการณ์แรกวนเวียนไปเรื่อยๆ เพราะผมเชื่อว่าไม่มีประสบการณ์ใด ที่จะเหมือนเดิมเปะๆ การเกิดภัยแล้วไม่เกิดความเสียหายนั้นนับว่าธรรมชาติเตือนเราให้ใช้ปัญญาให้มากๆ แต่หากโอกาสหน้าจะมีประสบการณ์ใหม่เราจะอยู่และใช้ปัญญาอย่างไรให้ลดการเสียชีวิตให้ได้ ลดความสูญเสียให้มากกว่าที่จะเสียใจ  บางคนต้นยางล้มหมดทั้งสวนจากภัยที่ผ่านมาครับ แต่เหลือชีวิตไว้ แล้วหากกลับกันเหลือต้นยางไว้แล้วไม่มีเหลือคนไว้เลย จะเป็นอย่างไร แต่เนื่องจากเราฝากทุกอย่างไว้กับสวนยางเหล่านั้น ค่าเล่าเรียนลูก ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนๆ อื่นๆ อืีกมากมายฝากไว้กับสวนยาง พอตื่นมาหน้าบ้านโล่งไปหมด ชีวิตแทบหมดหนทาง สิ่งเหล่านี้สะท้อนอะไรเราบ้าง ให้บทเรียนอะไรกับคนอื่นที่รับรู้บ้างครับ…..
    ขอแค่นี้ก่อนแล้วกันครับ พูดคุยนอกประเด็น นอกเรื่อง แต่ก็เรื่องเดียวกันครับ….
    ขอบคุณมากครับ ผมพูดไปตามความคิดเห็นส่วนตัวฝ่ายเดียวนะครับ ใครมีบทเรียนด้านอื่นร่วมเสนอจะดีมากครับ
  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 December 2010 เวลา 17:31
    ขอบคุณครับเม้ง

    ก็ถูกล่ะนะว่าเรามักเอาตัวเองไปอยู่ในสถานที่เสี่ยงภัยต่างๆ จึงต้องเจอภัยเหล่านี้ซ้ำซาก คนที่เจอน้ำท่วมก็ท่วมอยู่นั่นแหละซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะพื้นที่นั้นมีความเสี่ยง

    แต่บางทีคนเราก็ไม่มีทางเลือกมากนัก บางทีตัดสินใจผิด บางทีเป็นไปโดยความไม่รู้แล้วถอนตัวลำบาก บางทีละทิ้งภูมิปัญญาซึ่งบรรพบุรุษสั่งสมกันมายาวนาน บางทีก็เรียนรู้ไม่เป็น ฯลฯ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผล(หรือข้อแก้ตัว)อะไร คนเราไม่เก่งพอจะฝืนธรรมชาติ แต่ว่าเห็นคนเดือดร้อนแล้ว เพิกเฉยลำบากครับ ถ้ามีทางออกใด ก็ลองเสนอให้พิจารณา ไม่เชื่อ ไม่ทำ ก็ไม่เป็นไรหรอกนะครับ เรื่องอย่างนี้ ต้องพิจารณาเอาเอง

  • #3 มิสเตอร์สะตอฯ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 December 2010 เวลา 17:44

    ครับ เรื่องของการช่วยเหลือนั้นต้องทำอยู่แล้วครับ ส่วนแบบไหนจะดีมากน้อยแค่ไหนก็คงต้องศึกษากันต่อไปครับ

    เราน่าจะมีการสร้างบุคลากรในด้านต่างๆ เพื่อรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดด้วยก็ดีครับ
  • #4 ลานซักล้าง » ไขความมหัศจรรย์ของต้นไม้กับน้ำและภาวะโลกร้อน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 December 2010 เวลา 13:30

    [...] กระบวนการเลียนแบบธรรมชาตินี้ เคยเสนอไว้แล้วหลายครั้งครับ [ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2)] [ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?!] [ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?! ตอนต่อมา] [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.092489004135132 sec
Sidebar: 0.16005206108093 sec