สำรวจวัดเขากระไดม้า 11-12 ตุลาคม 2551
อ่าน: 7483ตามที่เคยเล่าไว้ บริษัทจองกฐินไว้ที่วัดใน อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลกครับ แต่พอไปถึงวัดแล้ว เพิ่งถึงบางอ้อ ที่จริง วัดชื่อวัดเขากระไดม้าครับ เป็นพระธรรมยุต สายพระป่า
วันที่ 11 ไปถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เอาเย็นซะแล้ว ออกจากบริษัทมาเกือบเที่ยง ไปด้วยรถตู้ใช้แก๊ส NGV เสียเวลาไปต่อคิวเติมแก๊สบ้างครับ ด็อกแด็กมาถึงวัดก็เกือบ 17 น.แล้ว รีบวิ่งไปที่พิพิธภัณฑ์ แต่ไม่ทันแล้ว เจ้าหน้าที่ล็อกประตูเสร็จตอนที่ไปถึงพอดี จึงได้ภาพมาดังนี้ครับ (คลิกบนภาพเพื่อขยาย)
วันที่ 12 คณะก็เดินทางขึ้นวัดตั้งแต่เช้า
![]() ![]() |
วัดไม่มีถนนเข้า ต้องเดินเข้าไปสักครึ่งกิโลเมตร จากนั้นก็ขึ้นเขาสูงสองร้อยเมตร (โหด) |
ทางขึ้นก็พอสมควรทีเดียว ผมเดินขึ้นไปได้สักหนึ่งในสาม ก็พอดีรถที่ขึ้นไปส่งคณะเที่ยวแรก ย้อนกลับลงมารับพอดี จากวัดที่อยู่บนยอดเขา มีการปูอิฐลงมาประมาณหนึ่งในสาม ที่เหลือตั้งแต่ตีนเขาขึ้นไป ยังเป็นลูกรัง หินที่ใช้ปู ก็ตัดเอาเอง
วัดนี้เป็นวัดป่า ไม่เน้นสิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ ประยุกต์เอาตามสภาพพื้นที่… เมื่อขึ้นมาถึงวัดแล้ว มีสภาพดังนี้ครับ
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่วิเวกดี ไม่คิดว่าท่านขาดอะไรนะครับ ชอบที่ท่านไม่เรื่องมาก ไม่เน้นพิธีกรรม แต่วัดยังต้องพึ่งน้ำฝนเนื่องจากอยู่ยอดเขา ไม่มีน้ำ
![]() ![]() |
กล้วยไม้ป่ามั๊งครับ รูปร่างเหมือนงอกจากลูกองุ่น |
เห็ดจิ๋วสีแดงและสีส้ม ขึ้นอยู่กลางทางเดิน ถ้าเดินไม่ระวังก็คงจะเหยียบแหลกราญไป จะปลูกชดใช้ก็คงยาก ชีวิตดำรงอยู่ได้แม้ในความยากลำบาก ในที่ที่ไม่น่าจะอยู่ได้ จะท้อแท้ไปทำไมครับ |
![]() ![]() |
รูปจากยอดเขาครับ
รูปชักเยอะ เดี๋ยวคนที่เน็ตช้าจะโหลดช้าแหงก ขอยกเอารูปผาซ่อนแก้วไว้อีกบันทึกหนึ่งก็แล้วกันครับ
« « Prev : Paradox ของสายตา กับการไม่รู้จักเป้าหมาย
Next : “พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว” สุดจะบรรยาย » »
13 ความคิดเห็น
อิอิ แสดงว่าสวนกันคะ เพราะพาอ.มิติ กับครอบครัวไปพิพิธภัณฑ์จ่าทวี ออกเป็นรายสุดท้าย เขาจึงจะเก็บของปิดประตู เพราะพิพิธภัณฑ์ จะปิดเวลา 16.30 น. แต่เขารอทีมเราออก ก็ late ไปนิดหน่อย
แหล่งไฟฟ้าน่าจะมีบ้างนะค่ะ เผื่อจำเป็นในยามค่ำคืน
เห็นเทียนปักอยู่ตามที่ต่างๆ เอาตะเกียงเล็กๆ ไปถวายก็ดีครับ
นอกจากแหล่งน้ำแล้ว ท่านบิณฑบาตอย่างไรคะ หน้าฝนเดินทางยังไง กำลังคิดถึงไฟฉายแบบชาร์ตแบตฯได้เหมือนที่เคยถวายครูบาเหนือชัยน่ะค่ะ ,ยา เวชภัณฑ์ที่จำเป็น ท่านมีมั้ยคะ เพราะลักษณะเป็นป่า แมลงสัตว์กัดต่อยจะได้พอมีประทังบ้าง
น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เครื่องอุปโภค บริโภคในการปรุงอาหารต่างๆ ข้าวสาร อาหารแห้งฯลฯ หนังสือเพื่อค้นคว้าศึกษา…และไม่ทราบว่ามีพระกี่รูปคะ
ประเภท จาน ชาม กะละมัง หม้อ ฯลฯ ของใช้สำหรับฆราวาสกินข้าว ทางวัดมีครับ ส่วนตู้ยามีอยู่ในรูปนี้เท่าที่เห็น ห้องน้ำของญาติโยมมีสี่ห้องอยู่หลังศาลาคอนกรีตครับ
คนในพื้นที่บอกว่าท่านลงมาบิณฑบาตข้างล่าง ซึ่งหน้าฝนนั้นคงจะลำบากมาก แม้จะมีรถอีแต๋นลงมารับส่งได้ แต่เส้นทางสูงชันและเละเป็นโคลนครับ
วัดนี้พระฉันมื้อเดียว พระที่มาฉันเช้าตอน 8น. มีสี่รูปครับ เป็นวัดที่สะอาดคือไม่มีขยะ เราเอาอะไรขึ้นไปก็เก็บเอาลงมาด้วย
เรื่องหยูกยาและหนังสือสำหรับเรียนรู้นั้น น่าจะช่วยกันสนับสนุนให้รู้จักใช้พืชรอบตัวดูแลปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้น่าจะเหมาะในอีกมุมนะค่ะ สถานที่เช่นนี้จัดยาสามัญประจำบ้านไว้ให้ก็ช่วยได้ช่วงสั้น หากไม่ใช้พอยาหมดอายุไปก็หมดแล้วหรือใช้ยาหมดก็หมดแล้ว ไม่รู้ว่าใครจะเข้าไปช่วยจัดหาให้ยั่งยืนต่อเนื่องได้ พืชใกล้ตัวน่าจะมีอะไรที่ใช้แทนยาสามัญประจำบ้านได้บ้าง ข้อมูลการเจ็บป่วยที่พระท่านมีเช่น โรคประจำตัว การป่วยที่เคยเกิดขึ้นน่าจะช่วยชี้ทางว่า ควรทำอะไรบ้างให้กับที่นี่จึงจะยั่งยืนและทำให้พระท่านอยู่สืบทอดศาสนาได้สะดวกขึ้นค่ะ
ไม่ได้ค้านว่า ยาสามัญประจำบ้านไม่ควรจัดหามานะค่ะ แต่คิดว่า จะดีกว่า ถ้านมัสการถามข้อมูลมาเพื่อพิจารณาต่อว่า อย่างไหนบ้างที่ควรจัดถวายเพื่อให้ท่านยังชีวิตสมณะได้สะดวกและไม่กระทบต่อชีวิตสมะที่ท่านตั้งใจมาบำเพ็ญเพียร พี่คิดว่ามองในมุมท่านน่าจะเหมาะกว่ามองในมุมเราค่ะ
พี่มียาที่คงค้างจากการปิดคลินิคอยู่นะค่ะ สำรวจข้อมูลสุขภาพของพระท่านได้ว่าอย่างไร แจ้งข้อมูลไปด้วยนะค่ะ เผื่อจะได้จัดยามาให้ท่าน โดยท่านไม่ต้องเข้าเมืองค่ะ
ทำบุญกันไหมค่ะ
ตอนนี้ทางขึ้นเทปูนเกือบเสร็จแล้วนะครับ





เจ้านายเพื่อนผมบริจาคเหล็กเส้น+ปูนไปหลายร้อยลูกแล้ว
ส่วนเรื่องทำทางก็มี พระ+ชาวบ้าน+คนงานช่วยกันทำครับ