คณิตศาสตร์ใหม่ของความร่วมมือ
อ่าน: 5382ช่วงที่เกิดน้ำท่วมหนัก มีบันทึกรับเชิญในบล็อกของ Harvard Business Review เรื่อง The New Arithmetic of Collaboration คนเขียนสี่คน เข้าใจเปรียบเทียบครับ เขาว่าเหมือนไต่บันได้ลิง แต่ผมไม่แปลหรอกนะครับ จะตีความตามใจชอบ
บันไดขึ้นที่หนึ่ง ร่วมมือแบบไม่ร่วมมือ (1+1 < 2) ปากก็ว่าร่วมมือ แต่ที่จริงต่างคนต่างทำ เป็นความร่วมมือลวงๆ ต่างอาศัย “ความร่วมมือ” เพื่อหาประโยชน์เข้าตนแต่ฝ่ายเดียว ขาดเป้าหมายร่วมกัน ขาดความจริงใจที่จะร่วมมือกัน เผลอๆ มีแทงกันข้างหลังด้วยซ้ำไป พร้อมจะเลิกกันได้ทุกเมื่อ ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นความร่วมมือได้ในรูปแบบไหน
บันไดขั้นที่สอง แบบผลัดกัน (1+1 = 2) ยังคงเป็นต่างคนต่างทำ แต่ไม่แย่งกัน ไม่อิจฉากันแล้ว แล้วก็ไม่ได้ช่วยกันด้วย ทีมหนึ่งทำ อีกทีมหนึ่งพัก ในเมื่อผลัดกันทำ แล้วสามารถบรรลุเป้าหมายระยะสั้นได้ ต่างคนต่างแฮบปี้แล้ว ก็เลยลืมมองไปว่ายังมีความร่วมมือในลักษณะอื่นอีก ลักษณะความร่วมมือแบบนี้ เมื่อบรรลุเป้าหมาย(ระยะสั้น)ที่วางเอาไว้ ทุกคนแฮบปี้แล้วก็หยุด รอคอยความร่วมมือครั้งต่อไป เพื่อร่วมมือกันแบบเดิม ทำ-หยุด-ทำ-หยุด
บันไดขั้นที่สาม มีการสร้างสรรค์ร่วมกัน (1+1=3) แต่ละฝ่ายต่างทำงานขนานกันไป ช่วยเหลือเกื้อกูลอีกฝ่ายอื่นให้บรรลุเป้าหมายร่วมได้ง่ายขึ้น ต่างเข้าใจในจุดแข็งจุดอ่อน ข้อเด่นข้อจำกัดของอีกฝ่ายหนึ่งดี จึงเสริมจุดดีและปิดจุดอ่อนของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ดังนั้นความร่วมมือแบบนี้จึงเป็นไปเพื่อเป้าหมายร่วม ซึ่งเมื่อสำเร็จ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เหมือนเล่นดนตรีแจ๊สที่ผู้เล่นเครื่องดนตรีชนิต่างๆ ต่าง improvise ได้เอง แต่ยังเล่นเพลงเดียวกันอยู่
บันไดขั้นที่สี่ ความร่วมมือแบบเป็นเนื้อเดียวกัน (1+1=11) แต่ละฝ่ายไม่แบ่งแยก ในเมื่อลงเรือลำเดียวกันแล้ว ความสำเร็จหรือล้มเหลวเป็นผลจากการทำงานร่วมกัน จึงช่วยเหลือทุกคนให้บรรลุเป้าหมายร่วมไปด้วยกัน ความร่วมมือกันในลักษณะนี้ ไม่มีการแบ่งเขาแบ่งเรา เมื่อตัวผ่านไปได้แล้ว ก็ยังทิ้งร่องรอยไว้ให้คนอื่นติดตามมาได้ไม่ปิดบัง ความสำเร็จเป็นของทุกคน ไม่มีความสำเร็จส่วนตัว เช่นทีมวิ่งผลัดแม้ตัวจะเป็นผู้ที่วิ่งเข้าเส้นชัย แต่ความสำเร็จเป็นของทั้งทีม
เฟืองทุกตัวในชุดเกียร์แตกต่างกัน มีขนาดไม่เท่ากัน ไม่ได้หมุนไปทางเดียวกัน เฟืองบางตัวไม่ได้อยู่ร่วมแกน บางตัวไม่ได้หมุนไปในทางเดียวกันด้วยซ้ำไป แต่หากเฟืองตัวใดในชุดเกียร์นี้เกิดไม่หมุน เกียร์ทั้งชุดจะติดขัดไปหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานอันซับซ้อน ความคิดที่ว่าทุกคนจะต้องเหมือนกันไปหมดนั้น เพี้ยนจริงๆ ครับ หรือว่าไม่ใช่?
« « Prev : เลิกประชุมกันอย่างสงบเสงี่ยม?
2 ความคิดเห็น
เฟือง อธิบายให้เห็นภาพได้จะแจ้ง เข้าใจฟันเฟือง ไม่เหมือนฟันคน
เข้า เข้าถึง จึงร่วมมือร่วมใจร่วมกำลัง นำพาความช่วยเหลือที่ตรงเป้า เข้าไปช่วยทันเวลา แก้ปัญหาได้อย่างตรงความต้องการ ตามมาด้วยการพัฒนา ที่ร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหา อย่างมีสติ และเหตุผล อันดับแรกความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของพื้นที่พอเพียงหรือยัง? (คน พื้นที่ การใช้พื้นที่ วิถีชีวิต มิติทางสังคม มิิติทางธรรมชาติ) ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจัย ผลกรรมจะไม่เกิด มีความรู้ความเข้าใจ ในการการแก้ปัญหา แบบการสุมหัว แบบสหเฮด สหฮาร์ต สหแฮนด์แอนด์สหบาทา แบบฟันเฟืองเล็กๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนเฟื่องใหญ่ให้หมุนให้เกิดพลัง เพื่อให้สามารรถใช้พลังงานนั้นสร้างานใหม่ แก้ไขปัญหาให้ตรงกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว……..คิดแบบเดิม ทำแบบเดิม ผลก็คือปัญหาแบบเดิมซ้ำซาก น่าอนาดใจยิ่งนัก …..ภาคประชาชนเป็นกำลังสำคัญเพราะอยู่กับพิ้นที่ ..ข้าราชการมาแล้วก็ไป….เป็นกฏของราชการ….แต่คนในพื้นที่ …ธรรมชาติ…ปัญหายังคงอยู่ …แก้ไข หรือไม่ก็ตาม ปัญหาก็เกิดขึ้นได้เสมอ หากแต่รู้ทันปัญหาก็จะป้องกันปัญหาได้ระดับหนึ่ง …ขอเพียงอย่าความจำสั้นเหมือปลาทอง…..