จุดยืน
อ่าน: 4237เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นคนมีจุดยืน - แม้จะไม่มีความมั่นคงในอารมณ์ ก็จะพยายามแสดงว่ามีจุดยืนเหมือนกัน
ดังนั้นการดูว่าใครมีจุดยืนที่แท้จริงอยู่ตรงไหน อาจไม่สามารถดูได้จากสิ่งที่เขาแสดงออกมา หรือป่าวประกาศเพียงอย่างเดียว (นี่ก็สองอย่างเข้าไปแล้ว)
ถ้าเชื่อว่าปฏิกริยาของคน เริ่มต้นในจิตใจ (รวมทั้งเชื่อว่าความคิดในสมองก็เป็นปฏิกริยาของจิตใจด้วย) จะต้องดูแรงผลักดันสามด้านที่ชักคะเย่อกันอยู่ คือ
- ร่างกาย ต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวายทั้งปวง ความไม่สงบ การเบียดเบียนกัน การตะโกนที่ไม่มีใครฟัง การใช้ความรุนแรง รวมทั้งความไม่แน่นอนอีกด้วย
- ศักดิ์ศรี ต้องการเป็นฝ่ายถูก รวมถึงความอยากทั้งหลายของอัตตา เช่นการมีคนมาห้อมล้อม ป้อยอ ยกย่อง เห็นด้วยไปหมดทุกอย่าง ต่อให้รู้ว่าเขาแสร้งทำเฉพาะหน้า ก็ยังพอใจอยู่ดี
- จิตสำนึก ต้องการทำในสิ่งที่ถูกต้อง การอบรมเลี้ยงดู จะสร้างค่านิยมว่าอะไรถูกต้อง อะไรที่คนรอบตัวและสังคมรับได้หรือไม่ได้
ในแรงผลักดันทั้งสามนี้ ไม่น่าจะทำให้วุ่นวายได้มาก แต่มันก็เกิดขึ้นด้วย“เหตุผล“ที่ยกมาอ้าง โดยลืมไปว่าแม้ความจริง ก็มีหลายมุมมอง แต่ความจริงในมุมของตน มักมีน้ำหนักมากกว่าความจริงของคนอื่น แถม “เหตุผล” นั้น เราคิดเองหรือฟังคนอื่นมาแล้วเชื่อนะครับ เหตุผลเป็นเพียงความคิด
เมื่อคนเรามีจุดยืนแล้ว อย่าเพิ่งคิดว่ามั่นคงนะครับ ต้องดูก่อนว่ายืนอยู่บนอะไรด้วย
ขอขยายนิดหนึ่งในประเด็นของศักดิ์ศรี ซึ่งน่าจะเทียบได้กับคำพระว่า มานะ คือความถือตัวถือตน; อันนี้เป็นสังโยชน์ขั้นสูง ว่ากันตามพระไตรปิฎก ถ้าละได้ คงเป็นพระอรหันต์มั๊งครับ พระอนาคามี+พระสกทาคามี+พระโสดาบันซึ่งเป็นพระอริยบุคคล ก็ยังละไม่ได้
ถ้าอยากจะเปลี่ยน ทุกอย่างเปลี่ยนได้ทั้งนั้นครับ
« « Prev : “ความดี” ของคนไทยคืออะไร
8 ความคิดเห็น
คือว่าผมอ่าน The Psychology of Indentity แล้ว คิดว่าสนุกดีครับ ถ้าเป็นคอเดียวกัน คงจะได้ประเด็นอะไรต่างๆ มากมาย
ร่างกายต้องการทำในสิ่งที่ทำแล้ว(ร่างกาย)รู้สึกดี
ศักดิ์ศรีต้องการทำในสิ่งที่ทำแล้วดูดี
จิตสำนึกต้องการทำในสิ่งที่ดี
หึหึหึ ถ้าเป็นพี่ตึ๋งคงบอกว่า… จุกยึงผง อยู่ที่ -้ง teen อิอิอิ (เผ่น เดี๋ยวจอมป่วนมา 555)
มีจุดยืน(โยก)บ้างก็ดีนะคะ ยืนหยัดแต่โยกตัวได้
พูดเล่นคำไปอย่างนั้นเองค่ะ
แต่ก็หมายความอย่างนั้นเหมือนกัน
เท่าที่สังเกตมานะคะ ความมั่นคงทางอารมณ์ช่วยให้รับรู้เรื่องราวได้อย่างมีอคติน้อยลงและเรียนรู้การตอบสนองต่อสิ่งที่เร่งเร้าอย่างมีชีวิตชีวาได้ดีขึ้นด้วย
ถ้ามีจุดยืนแต่ยืนแล้วดูไม่รอบด้านหันตัวก็ล้มได้..ก็ต้องดูวิธียืนว่าลืมใส่วิญญาณอะไรไปหรือเปล่า….เล่นคำอีกแล้วค่ะ
จุดยืนเปลี่ยนได้เมื่อมีจุดยืนที่ดีกว่า เป้าหมายไม่ควรเปลี่ยนบ่อย แต่วิธีการเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ไม่อย่างนั้นเรียกว่าดันทุรัง แล้วถ้าหาเหตุผลมาประกอบการดึงดัน ก็เรียกว่าแถครับ รังแต่จะทำให้ผู้เฝ้าดูเกิดความสมเพช (เป็นอารมณ์)
[...] อันดับสาม อยากหาความหมายที่แฝงเร้นนัยยะ ที่ผู้พูดต้องการสื่อและใช้คำนี้อย่างลงน้ำหนักเสียงรุนแรงจริงจังตอนที่เล่าอีกหลายรอบ (ทำให้ได้ฟังคำว่า “ทุเรศ” นี้จำนวนมากกว่าท่านที่ฟังคนแรกซะอีก…ฮ่าๆ) ก็ปล่อยให้เล่าๆๆ และจับประเด็นความหมายที่ซ่อนอยู่ อืม…น่าสนใจเพราะมันมีมากกว่าแค่ไม่พอใจเฉพาะกรณีเดียวนั้น อะไรที่ซ่อนไว้ในซอกหลืบหัวใจก็ได้รับรู้ไปด้วย แถมมีขู่นิดหน่อยพอติดปลายนวมแย๊บๆมาซะด้วย (แต่รู้แล้วก็วางไว้เพราะฟังแบบมีจุดยืน…อิอิ) [...]
อ่านชื่อบันทึกนี้แล้ว ทำให้นึกถึง *จุดนั่ง* เพราะขณะนี้ *นั่งอยู่* หรือ *กำลังนั่ง*
เฉพาะประเด็นว่า *มานะ* นั้น เห็นด้วยอย่างยิ่ง จัดเป็นสังโยชน์ที่ ๙ รองจาก *อวิชชา* ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย
เจริญพร
ร่างกาย
อารมณ์ ความรู้สึก
ความคิด จิตใจ
ชักคะเย่อกันเสมอ
ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ
แต่ไม่มีฝ่ายไหนจะเอาชนะ จิตใต้สำนึก ได้เลย
คนคอเดียวกัน เก็บเกี่ยวประเด็นนี้ได้จ้า……………