ยิ่งศึกษาพุทธศาสนาจะยิ่งไม่รู้พุทธศาสนา
อ่าน: 3567…ต่อนี้ไปอาตมาขอให้ข้อคิดอันหนึ่ง ที่สำคัญมาก เพื่อให้เราชวนกันสนใจพระพุทธศาสนาโดยไม่ประมาทหรือโดยเร็ว อาตมาจะให้หลักที่จำได้ง่าย ๆ ก่อนว่า “ยิ่งศึกษาพุทธศาสนาจะยิ่งไม่รู้พุทธศาสนา” โดย เฉพาะก็ชาวต่างประเทศ เพราะคำว่าศาสนานั้นเขาเล็งถึงแต่หลักวิชาหรือหลักทฤษฎี รวมทั้งพิธีรีตอง เราต้องศึกษาโลกหรือศึกษาความทุกข์ จึงจะยิ่งรู้พุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าท่านใช้คำเดียวกัน โลกคือทุกข์ ทุกข์คือโลก หรือชีวิตก็คือโลก พระไตรปิฎกทั้งหมดไม่อาจจะช่วยให้เข้าใจพุทธศาสนา การที่ชาวต่างประเทศมีความเห็นว่า ศึกษาพระไตรปิฎก ให้หมดทั้ง ฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน แล้วยังแถมศึกษาวิชาทั้งหมดเกี่ยวกับประเทศอินเดีย เช่นศิลปะวัฒนธรรม ศาสนาของอินเดียทั้งหมด ยิ่งไม่มีทางรู้พุทธศาสนา ยิ่งจะวนเวียนอยู่ในป่ารกป่าพงอะไรอันหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดก็เลิกรากันไปเอง เว้นไว้แต่จะศึกษาโลกหรือชีวิตหรือความทุกข์คือตัวเองในขอบเขตที่ยาวประมาณ วาหนึ่งนี้เท่านั้น เราจึงจะรู้พุทธศาสนาหรือรู้ธรรมะ
เดี๋ยวนี้เราพากันหลงเรียนพุทธศาสนา โดยเรียนพระไตรปิฎกทั้งหมด เรียนเรื่องของประเทศอินเดียทั้งหมด โดยหวังว่าจะรู้ธรรมะหรือจะรู้พุทธศาสนา อาตมายืนยันว่า ยิ่งไปทำอย่างนั้นยิ่งไม่รู้พุทธศาสนา ขอให้ศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นแก่เนื้อแก่ตัว มองดูเข้าไปในเนื้อในตัวจริง ๆ ว่าเราเป็นทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่น ในวินาทีที่เราไม่มีความยึดมั่นถือมั่น เราไม่มีความทุกข์เลยอย่างนั้น ยิ่งมองมากเท่าไร ก็จะเข้าใจพุทธศาสนาหรือธรรมะโดยตรง และโดยเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น…
ข้อความนี้ ตัดตอนมาจากหนังสือ “วิวาทะ ระหว่าง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ” ซึ่งหากจะเห็นภาพของ “วิวาทะ” นี้ทั้งหมด ก็น่าจะอ่านทั้งหมดครับ
อนุสนธิจากเรื่องนี้ ผมคิดว่ามีประเด็นแบบเดียวกันกับคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง ต่างคนต่างพูด ต่างคิดว่าพูดเรื่องเดียวกัน แต่ที่จริงไปกันคนละทาง ไม่มีคำตอบหรือแรงจูงใจที่จะปฏิบัติ
- ชีวิตบ้านป่า
- อีสานโพล 68.4% ของแรงงานอีสานที่ไปทำงานที่อื่น อยากกลับท้องถิ่น; กลับมาแล้ว 39.3% จะมาค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว, 26.9% มาเป็นลูกจ้างรัฐ และ 18.2% มาทำการเกษตร — ใครจะทำอะไรก็เป็นอิสระครับ แต่มีงานแบบที่คนต้องการรออยู่ที่บ้านจริงหรือ? เตรียมอะไรไว้ให้?
« « Prev : แนวคิดของ เจ้าเป็นไผ ๒
1 ความคิดเห็น
[...] เรื่องการทำงานแบบมีส่วนร่วม การจัดการความรู้ เศรษฐกิจพอเพียง จิตตปัญญาศึกษา ฯลฯ อะไรที่ดีๆ ทำไปยิ่งเข้าป่า เหมือนกับที่ว่า “ยิ่งศึกษาพุทธศาสนาจะยิ่งไม่รู้พุ