แก้มลิงใต้ดิน

อ่าน: 4683

ผมเขียนที่บล็อกลานซักล้างนี้มาเกือบหนึ่งพันบันทึกแล้ว ย้อนกลับไปดูบันทึกเก่าๆ เจอเรื่องราวที่เอามาผูกกันเป็นเรื่องใหม่แล้วอาจจะเวิร์คครับ

  1. แก้มลิงต้องการพื้นที่แปลงใหญ่ แต่ในหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่มีราคาแพงขึ้นมากเนื่องจากมีนายทุน(ไทยและต่างชาติ)กว้านซื้อ องค์กรจัดการภัยพิบัติสหรัฐ​ FEMA ซึ่งบังคับให้ทุกชุมชนทำแก้มลิง ได้กำหนดความหมายของแก้มลิง (floodway) ไว้ว่า A “Regulatory Floodway” means the channel of a river or other watercourse and the adjacent land areas that must be reserved in order to discharge the base flood without cumulatively increasing the water surface elevation more than a designated height. Communities must regulate development in these floodways to ensure that there are no increases in upstream flood elevations. For streams and other watercourses where FEMA has provided Base Flood Elevations (BFEs), but no floodway has been designated, the community must review floodplain development on a case-by-case basis to ensure that increases in water surface elevations do not occur, or identify the need to adopt a floodway if adequate information is available.
  2. ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้มีแล้งจัด ร้อนจัด จนน้ำเกือบหมดเขื่อน! จากนั้นต่อด้วยเปียกจัด เกิดอุทกภัยขึ้นใน 51 จังหวัด มีคนได้รับผลกระทบประมาณ 9 ล้านคน คิดเป็น 13.4% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าจะต่อด้วยหนาวจัดด้วย
  3. โดยสถิติ ถึงฝนจะมาไม่ตรงเวลา ปริมาณฝนเฉลี่ยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง — หมายความว่า เวลาฝนทิ้งช่วงจะเกิดการขาดแคลนน้ำ ส่วนเวลาฝนมาก็จะท่วม

ดังนั้นเพื่อที่จะกระจายปริมาณน้ำไว้ใช้ตลอดปี จำเป็นต้องหาที่กักเก็บน้ำไว้ แต่ในเมื่อที่ดินมีจำกัด อบต.ก็ไม่สนใจจะทำแก้มลิงของตน ไม่ว่าจะน้ำแล้ง-น้ำท่วม ชาวบ้านต่างคนต่างซวยเอง

ดูจากปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย น่าจะมีน้ำพอครับ แต่เพราะฝนตกลงมาก็ปล่อยทิ้งไปหมด จึงต้องเจอทั้งสถานการณ์ที่ไม่มีน้ำและมีน้ำมากเกินไป เพราะไม่มีที่กักเก็บน้ำ และนำน้ำมาเกลี่ยใช้ตลอดปีไม่ได้

ข้าวเป็นพืชล้มลุกที่ต้องการน้ำมาก ชาวนาพึ่งน้ำผิวดินเท่านั้น แต่ถ้าหากชาวนาเก็บน้ำไว้ใต้ที่นาเองล่ะครับ! อย่างนี้จะทำนาได้ 3-4 ครั้งต่อปี แล้วแต่ขนิดของข้าวเชียวนะ

แนวคิดคือ

  1. ขุดเปิดผิวหน้านาเป็นบ่อลึกสัก 1-1½ เมตร
  2. บดอัดขอบบ่อให้แน่น ให้น้ำซึมออกไปยาก คงไม่ต้องถึงกับปูพลาสติกหรือดาดคอนกรีตหรอกครับ อาการเดียวกับการทำบ่อน้ำนั่นแหละ
  3. กลบบ่อด้วยการเอาดินที่ขุดออกมานั้น กลับไปใส่บ่อเหมือนเดิม ดินที่กลบจะมีความหนาแน่นต่ำกว่าดินที่บดอัดแล้ว อาจจะชัดเจนกว่าถ้าก้นบ่อเอาทรายใส่ลงไปจนหนา (ทรายแพง) แล้วเอาดินกลบข้างบน

น้ำฝนถูกส่งลงไปเก็บตรงชั้นทราย ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นดินทรายอุ้มน้ำในบ่อบาดาล — คือบ่อบาดาลไม่ใช่โพรง หรือถ้ำใต้ดินที่มีน้ำบรรจุอยู่หรอกครับ น้ำซึมอยู่ตามดินทรายชุ่มน้ำ — แนวคิดข้างบนเป็นแนวคิดเดียวกันกับสร้างบ่อบาดาลเลียนแบบธรรมชาติ

ไม่รู้จะเวิร์คหรือเปล่า แต่น่าจะมีข้อดีกว่าการทำบ่อน้ำเปิด คือไม่เสียพื้นที่เพาะปลูก และถ้าอัตราการรั่วซึมผ่านผนังบ่อ 5 ด้านเท่ากัน แก้มลิงใต้ดินมีอัตราการสูญเสียน้ำจากการระเหยที่ผิวหน้าต่ำกว่ามาก เนื่องจากมีหน้าดิน (ซึ่งใช้ทำนา) บังแสงอาทิตย์+บังลมอยู่ด้านบน

วันนี้โลกหมุนอีกแล้ว presentation สำหรับประชุมพรุ่งนี้ก็ไม่ได้ทำครับ แนวคิดข้างบนยังไม่ได้ตรวจสอบอะไรเลย เวียนหัว จึงได้แค่คิดเฉยๆ บันทึกนี้ เขียนทีละประโยคแล้วต้องพัก อาจดูห้วนๆ ต้องขออภัยด้วยครับ

« « Prev : มองระบบท่อระบายน้ำ

Next : ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?! ตอนต่อมา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 December 2010 เวลา 18:23

    น่าจะได้ทำการทดลอง
    คิดค่าใช้จ่าย/ต้นทุน /คุ๋มไหม กับการทำนา
    หรือจะเพาะปลูกอย่างอื่น
    ปี้นี้ผิวดินแห้งเร็ว ภัยแล้งกระฉูดอีก
    ชดเชยน้ำท่วมแล้ว ก็จะมาชดเชยภัยแล้งอีก
    ถ้าเป็นแบบนี้มีหวังอ่วม

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 December 2010 เวลา 12:54

    ชั้นสีเหลืองเป็นทรายหรือดินชุ่มน้ำซึ่งมีความหนาแน่นต่ำกว่าผนังโดยรอบ ชั้นสีน้ำตาลคือหน้าดินซึ่งใช้ปลูกพืชล้มลุกซึ่งรากไม่แทงลึก เช่นข้าว มีท่อทางซ้ายเป็นรูน้ำลง ส่วนท่อทางขวาเป็นรูสูบน้ำขึ้นครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.2232768535614 sec
Sidebar: 0.26619815826416 sec