แผลบ แผลบ
อ่าน: 4503ตอนแรกจะตั้งชื่อบันทึกว่า กระดึ๊บ กระดึ๊บ แต่คำว่ากระดื๊บไม่มีในพจนานุกรม มีแต่กระดืบ
บันทึกนี้ พูดถึงวิธีขับเคลื่อนเรือหรือแพ ที่ใช้กำลังคน (ใช้ในน้ำนิ่ง และไม่แนะนำสำหรับน้ำเชี่ยวเนื่องจากมีอันตรายครับ); เมื่อเราพูดถึงแรงคน สามัญสำนึกก็จะบอกว่า ใช้พาย หรือถ่อเอาซิ — ก็นั่นไงครับ ถึงมาเขียนบันทึกนี้ เพื่อเสนอทางเลือกใหม่
มีสินค้าตัวหนึ่ง ใช้ชื่อการค้าว่า Hobie MirageDrive เหมือนเป็นครีบปลาติดอยู่ใต้ท้องเรือ ครีบทั้งสองโบกไปมาสลับกัน; ตามคำโฆษณา ชี้จุดดีอยู่สองสามจุด
- ใช้ขาถีบ เป็นการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ให้แรงมากกว่าใช้แขน ความล้าน้อยกว่า
- หนึ่งรอบ แต่ละครีบพุ้ยน้ำสองครั้ง ในขณะที่ใบพายให้กำลังครั้งเดียว
- ครีบสลับไปมาสวนกัน จะช่วยเรื่องเสถียรภาพของลำเรือ (ถ้าไม่มีหางเสือและลมไม่แรง เรือก็จะพุ่งตรงไปข้างหน้า)
แล้วก็มีคลิปประลองกำลัง (ชักคะเย่อ) ระหว่างผู้ประดิษฐ์ MirageDrive และแชมป์โอลิมปิกสองสมัยของกิีฬาเรือแคนนูปั่น (Canoe Sprint) ทั้งคู่แก่พอกัน — เป็นการทดลองง่ายๆ ระหว่าง กำลังขา+MirageDrive มีสองครีบตามรูปข้างบน กับกำลังแขนกับพายสองด้าน
ผลก็แน่นอนครับ MirageDrive ชนะ ไม่อย่างนั้นเค้าจะเอาผลมาโฆษณาทำไม; แล้วมีของแถม คือเป็นการแข่งกันระหว่าง MirageDrive กับแชมป์เรือแคนนูคู่โอลิมปิก (สองคนสี่พาย) ผลก็สูสีกัน
ดูรูปครีบพะเยิบพะยาบอยู่ใต้ท้องเรือแล้ว สงสัยว่าจะเป็น supercritical airfoil ตามนิยามข้างล่าง (แต่ไม่แน่ใจครับ)
A supercritical airfoil is an airfoil designed, primarily, to delay the onset of wave drag in the transonic speed range. Supercritical airfoils are characterized by their flattened upper surface, highly cambered (curved) aft section, and greater leading edge radius compared with traditional airfoil shapes. The supercritical airfoils were designed in the 1960s, by then NASA engineer Richard Whitcomb, and were first tested on the TF-8A Crusader. While the design was initially developed as part of the supersonic transport (SST) project at NASA, it has since been mainly applied to increase the fuel efficiency of many high subsonic aircraft. The supercritical airfoil shape is incorporated into the design of a supercritical wing. — wikipedia
อาการที่ครีบพะเยิบพะยาบได้ทางด้านหลัง โดยมีแกนแข็งด้านหน้าเป็นตัวแกว่งครีบไปมา ก็ดูเหมือนจะเป็นอาการที่อธิบายไว้ข้างบน เป็นเหมือนการทำงานของปีกของนก
ทำความเร็ว 10 น็อต (~18 กม/ชม) สบายๆ ถ้ารูปของลำเรือไม่ต้านน้ำมากนัก ถ้าเรือมีความเร็ว การเดินทางไปมาหาสู่ หรือไปขนความช่วยเหลือมายังพื้นที่ประสบภัย ก็จะสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เครื่องยนต์ยังมีเรื่องน้ำมันอีกนะครับ บางทีมีเงินก็หาซื้อไม่ได้ในพื้นที่ประสบภัย ส่วนราชการที่ไม่ได้เตรียมการไว้ก่อน ก็จะไม่มีงบ ทำให้มี “เหตุผล” อื่นๆ ที่ไม่ลงพื้นที่ตามมาอีกมากมาย
เรื่องอย่างนี้ ช่างกลทำได้สบายครับ ใช้เฟืองกับฝีมืออีกนิดบวกกับความตั้งใจเท่านั้นเอง ต้นทุนคงไม่กี่ร้อยบาท ถูกกว่าเครื่องยนต์ตั้งเยอะ
2 ความคิดเห็น
ไอ่แบบสะพายมาข้างหลัง เอาสูบลมฉับๆ เป็นแคนนูคู่ จ๊าบจริงๆ
ต่อไปอาจจะเป็นกีฬาทางน้ำ
[...] [แผลบ แผลบ] ละครับ [...]