อยู่กับน้ำ
อ่าน: 4899ที่จริงไม่อยากเขียนเรื่องเฉพาะกาลเลย เพราะอยากให้บันทึกใช้ได้นานๆ แต่คงเลี่ยงไม่ได้ล่ะครับ มีเรื่องต้องเตือน
- ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ มีระดับ 94% ของความจุของเขื่อน เขื่อนภูมิพลมีระดับ 78% ของความจุของเขื่อน (ความจุของเขื่อนอื่นๆ ดูได้โดยคลิกที่รูปแผนที่ประเทศไทยในบล็อกนี้)
- สัปดาห์นี้ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ว่า “ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง” แปลว่าจะมีน้ำฝนมาเพิ่มอีก
- ระบบประเมินสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) พัฒนาขึ้น ดูได้ที่ http://flood.gistda.or.th/
- สำหรับภาพถ่ายจากดาวเทียมของวันนี้ (3 ก.ย. 54 — ดูด้วย Google Earth) เห็นน้ำท่วมในลุ่มน้ำยม ตั้งแต่ใต้ อ.เมือง สุโขทัย ยันนครสวรรค์ ส่วนลุ่มน้ำน่าน ก็ท่วมที่ อ.พรหมพิราม (พิษณุโลก) ข้าม อ.เมืองไป แล้วท่วมต่อไปยันบึงบอระเพ็ด
- พิจิตรอาการหนัก เพราะน้ำท่วมทั้งสองลุ่มน้ำ (ยม น่าน) ตลอดแนวเหนือใต้ของจังหวัด
- ดูแล้ว เห็นน้ำปริมาณมหาศาลมารออยู่แล้ว พื้นที่ใดอยู่ทางใต้น้ำแต่น้ำยังไม่ท่วม ก็อย่านิ่งนอนใจครับ
- อ.ชาติตระการ อ.นครไทย (พิษณุโลก) พื้นที่เป็นภูเขา เมื่อฝนตก น้ำก็จะไหลลงมากองอยู่ในหุบเขา ไหลไปรวมกับแม่น้ำน่านเหนือ อ.เมืองพิษณุโลก น้ำส่วนนี้อยู่ใต้เขื่อนเรศวร อ.พรหมพิราม
- ทุ่งแสลงหลวง (พิษณุโลก) อ.เขาค้อ (เพชรบูรณ์) เป็นพื้นที่รับน้ำฝน และไหลลงแม่น้ำเข็ก ไหลเรื่อยมาทางตะวันตก จนมาถึง อ.วังทอง (พิษณุโลก) ก็วกลงใต้อ้อม อ.เมืองพิษณุโลก ลงไปพิจิตรอีกเด้งหนึ่ง
- หากจะแก้ปัญหาน้ำท่วม อย่าไปดูเฉพาะที่น้ำท่วมอย่างเดียวนะครับ มองหาสาเหตุให้เจอแล้วแก้ไขบรรเทาเสีย
สำหรับผู้ที่ใช้ Google Earth ได้และอยู่ในบริเวณใกล้น้ำท่วม หรืออยู่ในแนวลุ่มน้ำ สามารถใช้เมาส์เลื่อนไปวางบนแผนที่ ตรวจระดับความสูงของพื้นที่ของตนเองได้ เป็นการประเมินด้วยตนเองว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ (ที่จริงประสบการณ์ในอดีตก็บอกได้) แต่การที่รู้ว่าพื้นที่ของตนมีระดับความสูงเท่าไร สูงกว่าแนวของแม่น้ำเท่าไร ส่วนต่างนี้พอจะบอกได้ว่า หากจะเสริมแนวกั้นน้ำเป็นการป้องกันตนเอง จะต้องเสริมขึ้นสูงเท่าไหร่
น้ำท่วมครั้งนี้ ไม่มีทางอื่นนอกจากจะระบายน้ำออกไป ซึ่งไปได้เร็วแค่ไหน ก็ขึ้นกับว่าใช้พลังงานแค่ไหน และภูมิประเทศมีความลาดเอียงขนาดไหน มีสิ่งกีดขวางน้ำไหลขนาดไหน — สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเอียงต่ำ เกรงว่าน้ำจะไม่ลดลงเร็วให้เตรียมใจไว้เลยครับ ไม่ต้องภูมิใจกับเงินชดเชยจากทางรัฐ ซึ่งเทียบไม่ได้กับความเสียหายหรอกครับ
การแก้ไขปัญหาอทุกภัย (หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ) ไม่อาจกระทำได้รวดเร็ว เพราะมนุษย์นั้นไม่มีกำลังพอที่จะไปต่อกรกับธรรมชาติ แถมยังจะทำแต่ส่วนลูกศรสีแดง โดยไม่หาทางป้องกันบรรเทาเอาไว้ก่อนล่วงหน้า หมดตัวซ้ำซากไม่สนุกหรอกนะครับ
เมื่อเกิดภัยแล้วจะลงไปช่วยเหลือชาวบ้าน (ก่อนจะช่วยชาวบ้าน ช่วยตัวเองให้ได้ก่อน อย่าไปเป็นภาระแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ ให้มาต้อนรับดูแลวุ่นวายไปหมด) ก็ถือโอกาสเอาความรู้ใหม่ๆ ลงไปให้ชาวบ้านด้วยครับ บางทีเวลาชีวิตอับจนหนทางก็นึกไม่ออก/นึกไม่ถึง ซึ่งเมื่อเราแนะแล้ว ชาวบ้านพิจารณาได้เอง ว่าอะไรทำได้-อะไรทำไม่ได้ ไม่ต้องไปตัดสินใจแทนชาวบ้านหรอกครับ
สำหรับกรณีน้ำท่วมซ้ำซากนั้น แก้ไม่ได้ด้วยการบ่นหรือโทษโชคชะตานะครับ ควรถามตัวเองว่าท่านได้ทำอะไรเพื่อแก้ไขบรรเทาไปแล้วบ้าง เช่น
- น้ำแรง->มีที่อพยพไปหรือไม่
- น้ำท่วงขัง->มีแพ มีเรือหรือไม่
- น้ำท่วมนา->ปลูกข้าวบนแพไหม
- น้ำเน่า->ทำน้ำหมักจุลินทรีย์กำจัดกลิ่นบำรุงดินดีไหม
- Dutch opt for living on water rather than fight it
- ทางปลายน้ำที่น้ำเริ่มท่วมแล้วหรือกำลังจะท่วม ประเด็นใหญ่อาจไม่ใช่ว่าท่วมอยู่เท่าไหร่หรอกครับ น้ำเหนือยังมีอีกเยอะ การเตรียมรับนั้นดีอยู่แล้ว (หนับหนุน) แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าดีพอ ถ้าไม่รู้ว่ากำลังจะมีอะไรมา
Next : แผลบ แผลบ » »
7 ความคิดเห็น
เอาแบบ้านลอยน้ำมาฝากเพิ่ม http://www.agrinaturetwo.com/content/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%B0
ผมเกิดแนวคิดมาโครแบบนี้ …สำรวจหาแหล่งผืนนาริมแม่น้ำที่ความต่ำเป็นพิเศษ จากนั้นสร้างถนนสูงขวางทางน้ำ ส่วนสะพานั้นมีประตูกันน้ำ พอน้ำหลากมาก็งับประตูให้น้ำไหลออกไปได้เท่าที่จะไม่ท่วมเมืองท้ายน้ำ ส่วนน้ำที่เหลือก็ไหลท่วมท้องนา อาจเสียหายไปหมื่นไร่ ชดเชยไร่ละ 5000 บาท ก็แค่ 50 ล้านบาท
แต่ถ้าปล่อยไป น้ำจะท่วมนาอีก 2 แสนไร่ ก็ต้องชดเชย 2000 ล้านบาทไปแล้ว แถมยังความเสียหายในเมืองอีกหลายร้อยล้าน
ทีนี้พอน้ำลดแล้ว เราก็ใช้น้ำที่กักไว้ได้ค่อยๆ ปล่อยเอาไปทำนาที่ท้ายน้ำได้อีก แบบว่าเป็นนาปรังไปเลย
วิธีนี้ยังได้ถนนเป็นของแถมอีกด้วย
แบบนี้ไม่ได้อยู่กับน้ำ แต่เปลียนวิกฤตเป็นโอกาสด้วยซ้ำ นิ อิอิ
เอาปลามาปล่อยเลี้ยงปลาได้อีก (รายได้ดีกว่าทำนา)
ตอนนี้มีทั้ง เน้นแจ้งเตือน และ จ่ายเงินชดเชย ไม่รู้เล่นอะไรกันนะครับ
วันนี้คุยกับทางเขาพนม เขาเล่าว่าทางการเน้นให้ช่วยตัวเองเรื่องเตือนภัยแล้วอพยพเป็นหลัก ส่วนความคิดเรื่องการจัดการเชิงป้องกันด้านอื่นนั้นอาศัยอิงการวิจัยของนักวิชาการ ฟังแล้วเหมือนคิดว่า การมีส่วนร่วมคือ เชิญมาให้ความเห็นแล้วมาจึงใช่ การพึ่งพาตัวเองคือ การมาฟังแล้วกลับไปทำตามข้อแนะนำ
คนนอกที่เข้าใจสถานการณ์ของพื้นที่+รู้จักเรียนรู้บริบทของพื้นที่ มักจะให้คำแนะนำที่ดี ท้ายที่สุดแล้ว ชาวบ้านต้องตัดสินใจเอง ว่าจะใช้คำแนะนำนั้นเลย นำคำแนะนำไปปรับใช้ หรือหาวิธีการที่ดีกว่าเหมาะกว่า แต่ที่แน่ๆ คือการไม่ทำอะไรเลยนั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโอกาสเกิดเหตุ และทำให้ชาวบ้านยังคงตกอยู่ในความเสี่ยงเดิม ซึ่งอาจเกิดภัยซ้ำซ้อนได้ครับ
การลงพื้นที่จึงไม่ใช่แค่การเอาข้าวของไปแจกให้ผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ไป แต่เป็นโอกาสที่จะนำความรู้ไปให้ชาวบ้าน ให้เขาพึ่งพาตัวเองได้ดีขึ้น สร้างโอกาสใหม่ในการพลิกฟื้นชีวิตขึ้นมาใหม่ให้ดีกว่าเดิมด้วยครับ
ถ้าไม่มีความรู้(จริง) แจกของไปอย่างเดียวดีแล้ว เพียงแต่ว่าอย่าไปรบกวนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ซึ่งมีงานช่วยชาวบ้านหนักอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่น่ะ บ้านเขาก็โดน เขาไม่มีเวลาจะมารับรองแต่ละคณะหรอกครับ
[...] ขอบคุณ ข้อคิดดีๆ จาก ลานซักล้าง ลานปัญญา คะ : http://lanpanya.com/wash/archives/2622 [...]
[...] ขอบคุณ ข้อคิดดีๆ จาก ลานซักล้าง ลานปัญญา คะ : http://lanpanya.com/wash/archives/2622 [...]