น้ำใต้ดิน
อ่าน: 3688รูปนี้ เคยเอามาให้ดูครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นความจริงอันโหดร้ายว่าเราใช้แต่น้ำผิวดินซึ่งมีอยู่น้อยมากครับ
ตามพรมแดนธรรมชาติที่ใช้สันปันน้ำแบ่งเขตแดน เช่นตั้งแต่ อ.สิรินธร อุบลราชธานี จน อ.กาบเชิง สุรินทร์ มีภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำ มีต้นไม้บนภูเขาบางส่วนชะลอน้ำไว้ ทำให้น้ำฝนที่ไหลมาตามความลาดเอียงของภูเขา ซึมลงใต้ดินได้บ้าง กลายเป็นน้ำใต้ดิน สามารถเอามาใช้ได้
บริเวณพื้นที่อีสานใต้ ว่ากันว่าเคยเป็นทะเลมาก่อน ใต้ดินจึงมีเกลืออยู่ ทำให้เกิดความกังวลกันขึ้นมาว่าถ้าเอาน้ำบาดาลมาใช้ จะเค็มและเป็นการแพร่กระจายเกลือ
แต่ขอบแอ่งโคราช อยู่สูงกว่าทุ่งกุลาร้องไห้ซึ่งเป็นก้นทะเล ดังนั้นตามขอบแอ่งโคราช ก็จะไม่มีความเค็มอย่างที่กลัวกัน — สวนป่าของครูบา เป็นที่ดอน อยู่ห่างเขตทุ่งกุลาร้องไห้เพียงสิบกว่ากิโล ก็ยังมีน้ำบาดาลคุณภาพเยี่ยม จืดสนิท สิ่งเจือปนต่ำมากที่ความลึก 13 เมตรนะครับ ขนาดตรงนั้นราบเรียบแบนแต๊ดแต๋ ระดับน้ำบาดาล (water table) อยู่ลึกกว่าก้นแม่น้ำมูล ซึ่งอยู่ห่างออกไป 8 กม.
อำเภอแห้งแล้งที่มีภูเขา น่าจะใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาลได้
มีเรื่องเก่าๆ ที่เขียนไว้เยอะครับ [tag น้ำ] ลองค้นดูเรื่องเก่าๆ ด้วยนะครับ
และที่สำคัญคือเมื่อเราใช้น้ำบาดาลไป ก็ต้องเติมน้ำฝนลงไปในดินด้วย ไม่อย่างนั้น ใช้ไปใช้มา ก็มีวันหมดได้ครับ
« « Prev : เที่ยวงานเกษตรแฟร์ 2554
Next : ดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้า » »
6 ความคิดเห็น
แหะๆ คนที่บ้าน เริ่มโครงการศึกษาสาธิตการใช้น้ำใต้ดินกับกรมทรัพยากร กองน้ำบาดาล และภาควิชาธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สินีเป็นหัวหน้าโครงการ ทำสาธิตทั่วประเทศ ทุกภาค วันนี้เธอมาสตูล กระบี่ ตรัง อยู่ครับ จะกลับบ้านวันอาทิตย์นี้ โครงการนี้มีระยะเวลาศึกษาเป็นปี หากมีข้อสรุปจะเอามาแบ่งปันกัน
แต่มีปัญหาพื้นฐานอย่างหนึ่ง คือกระบี่มองไปที่น้ำผิวดินเป็นเรื่องหลัก ทีนี้ภูเขาแถวนั้นเป็นหินปูนทั้งนั้น ถ้าทำอ่างเก็บน้ำผิวดิน คุณภาพน้ำก็จะไม่ดีครับ
ท่านเจ้าอาวาส เอาวิธีในบันทึก [ขุดบ่อบาดาลแบบชาวบ้าน] ไปลองขุดดูครับ แรกทีเดียว ผมก็ตกใจว่าวัดอยู่ห่างทะเลสองร้อยเมตรเท่านั้น กลัวว่าจะเป็นน้ำกร่อยเสียมากกว่า แต่ท่านยืนยันว่าวัดใช้น้ำบาดาลมานานแล้ว มีบ่อน้ำโบราณที่ท่านเคยเขียนเล่าไว้แล้วด้วย ทีนี้จะเจาะบ่อเพิ่มทางด้านหลังเพื่อให้พระเณรใช้น้ำได้สะดวกขึ้น ก็เลยนึกถึงการขุดบ่อด้วยท่อพีวีซีที่ผมเคยเขียนไว้ จ้างเขาเจาะไม่ไหวเพราะวัดยังต้องการปัจจัยไปบูรณะอีกเยอะ จากวาตภัยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาครับ
ช่วงนี้ปัมท์น้ำบาดาลตลอดวันละ4-5ชั่วโมงสลับกันทั้ง2บ่อ
เป็นปีที่แห้งโหดจริงๆ ต้นไม้เหี่ยวเฉาตั้งแต่ตอนนี้แล้ว
เห็นว่า ถ้าไม่มีน้ำช่วย พืชผลคงจะยาก ไม่ผลดอกก็แห้งไม่ติดผล
เป็นเรื่องใหญ่ที่รอคอยวิทยาการอีกโจทย์หนึ่ง อิ
ที่ตามรอยเรื่องน้ำพุร้อน ก็ได้เรื่องแหล่งน้ำใต้ดินไปด้วย แต่พอหันมาดูระบบการจัดการและการปกครอง ทางออกในการทำให้มีแหล่งน้ำสำหรับการท่องเที่ยวสำหรับอำเภอเมืองก็ยากจริงๆ เพราะที่ดินเดิมที่เคยเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติแบบน้ำตก ณ เวลานี้ก็มีนายทุนเป็นเจ้าของไปหมดแล้ว ส่วนใหญ่คนนำร่องรุกเข้าไปเป็นรายแรกมักเป็นคนมีสี ดูเหมือนจะทำให้ยากเข้าไปอีกในการพัฒนาให้เป็นแหล่งน้ำสาธารณะได้
แหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดคือ น้ำลาย ครับ
ทุกวันนี้น้ำลายคนโกง ที่มีอำนาจ มันสาดพ่นไปบงการบ้านเมืองได้หมดทุกอย่าง ..มันจะให้พัฒนาน้ำใต้ดิน บนดิน ตามน้ำ ทวนน้ำ ..มันทำได้ทั้งน้าน
ส่วนคนเก่ง คนดี ดำน้ำหนีหน้าหายหงอ กันหมด …หลบมาบ่น ด่า กันที่เมืองใต้บาดาล ในลานทั้งหลาย ..ไม่เว้นแม้ผมเอง อิๆ
#4 อปท.น่าจะทำแผนที่ความสูงต่ำ (แผนที่ทางน้ำไหล) ไว้นะครับ
#5 เท่าที่รู้ คนในลานปัญญานี้หลายคน พยายามปรับปรุงทั้งงานในระบบและนอกระบบครับ มีสิ่งที่ต้องปรับปรุงเยอะแยะไปหมด เมื่อทำแล้ว จะเล่าให้ฟังหรือไม่เล่าก็อยู่ที่เจ้าตัวพิจารณาเอง อย่างไรก็ตามที่เขียนๆ กันอยู่นี้ จะอยู่บนเน็ตตลอดไป รัฐบาลชุดที่แล้วๆ มา ไม่ได้อ่าน ส่วนเล็กๆ ในชุดนี้เฝ้าดูอยู่บ้าง แต่ไม่ได้จัดเป็นความสำคัญเร่งด่วน ชุดหน้าอาจจะสนใจทำบ้างก็ได้ครับ
ผมคิดว่าก็ยุติธรรมดีแล้ว เราเขียนลงบล็อก ใครสนใจก็มาอ่านเอง อ่านแล้วจะได้อะไรไปหรือไม่ ขึ้นกับว่าผู้เขียนเขียนอะไร และผู้อ่านเก็ตไหม; ส่วนใครไม่สนใจ ก็ไม่ต้องอ่านไงครับ เราไม่ต้องไปบังคับให้ใครมาอ่านหรือว่าเห็นด้วย แต่ถ้าเป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องของส่วนรวม คงพูดแรงหน่อย ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย ถ้ามีอะไรจะแย้งก็แย้งมาเลย เขาอาจจะมีวิธีที่ดีกว่าด้วยซ้ำไป จะได้เรียนรู้ร่วมกัน อาจจะมีเห็นไม่ตรงกันบ้าง แต่ถึงอย่างไรก็เป็นบ้านของเราครับ