หนาวก็ไม่หนาว ยังไม่ทันไร จะแล้งอีกแล้ว
ทำอย่างไรจึงจะสร้างเมฆได้ ไม่มีเมฆก็ไม่มีฝน ไม่มีฝน คนเดือดร้อน
น้ำ 97% เป็นน้ำทะเล ที่เหลือเป็นน้ำจืด 3%
ในปริมาณน้ำจืดทั้งหมด เป็นหิมะ 68.7% เป็นน้ำใต้ดิน 30.1% น้ำผิวดิน 0.3% และอื่นๆอีก 0.9%
ในบรรดาน้ำผิวดินทั้งหมด อยู่ในทะเลสาบ 87% ในบีงชุ่มน้ำ 11% และในแม่น้ำ 2%
แล้วเวลาแล้ง เราพึ่งอะไรครับ เมืองไทยจัดหาน้ำจืดกันอย่างไร? ผมเพิ่งกลับมาจากเมืองท่องเที่ยว มีทะเลล้อมรอบ แต่ไม่มีน้ำ บางทีแล้งจัดๆ ขายน้ำจืดกันคิวละร้อยบาท!
« « Prev : ขั้วแม่เหล็กโลกเปลี่ยนไป
8 ความคิดเห็น
เป็นปัญหาใหญ่มากๆ รออยู่ข้างหน้า รุ่นลูกหลานเราไม่มีเวลามาใส่เสื้อเหลืองเสื้อแดง อดน้ำแห้งตายหมด
ภูเก็ต กระบี่ เป็นเมืองเศรษฐี ตราบใดที่มีเงินซื้อ ผู้คนจึงไม่ใคร่เดือดร้อนมากมายกับการซื้อน้ำใช้และแพง
เมื่อตอนสมัยเด็กๆ พี่จำได้ว่าต้องเข็นรถออกจากบ้านไปปากซอยบ้านซื้อน้ำมาใช้ ที่บ้านไม่เคยบ่นเรื่องใช้เงินซื้อน้ำแพงให้ได้ยินเลย มีแต่ตัวเราที่ขี้เกียจเพราะมันเหนื่อย
เรียนรู้เรื่องรักน้ำและสร้างนิสัยประหยัดน้ำก็เกิดมาจากความรู้สึกขี้เกียจเข็นน้ำนี่แหละจ๊า
#3 เมื่อราคาขึ้นไปสูง ก็แสดงว่าความต้องการมีมากกว่าของที่ขาย หากยืดเยื้อ มีเงินซื้อก็อาจจะหาซื้อไม่ได้นะครับ เมื่อถึงตอนนั้นจะเดือดร้อนกันทั่วหน้า แล้วเงินที่มีก็ระเหยหมดครับ
-คนไทยเรายังหลงภูมิใจอยู่กับคำว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” คือเรียกว่าเลือดยังไม่เข้าตาว่างั้นเถอะ จึงแทบจะไม่ค่อยเตรียมการเรื่องอนาคต คอยแต่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่ร่ำไป…ปัญหาที่คุณLogosยกมาให้ดู คิดๆก็น่าตกใจ(เพราะก็เป็นคนไทยคนนึงเหมือนกันค่ะ…อิอิ) จริงด้วยนะคะพอถึงวันนึงเงินก็ซื้อไม่ได้เพราะไม่มีของให้ซื้อ …คิดแล้วน่าใจหาย…คงต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้กระมังคะ
-สำหรับคุณบางทรายนั้นก็มีประสพการณ์ตรงเลย เรื่องเพลี้ยไฟระบาดนั้น สาเหตุอีกอย่างเสริมเข้าไปก็คือความแห้งแล้ง นี่แหละค่ะ เสียหายมาก ระบาดเมื่อไหร่ก็จะไม่ได้ผลผลิตเลยค่ะ สงสารชาวนานะคะ ส่วนเรื่องการใช้น้ำเรายังไม่ค่อยได้สอนหรือให้ความรู้เรื่องการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในทุกเรื่องทั้งการเกษตรและการใช้น้ำในครัวเรือนด้วย ถ้าได้เคยคุยกับชาวอิสราเอลแล้วจะซึ้งใจ เขาทำเป็นนิสัย เขาบอกว่าสำหรับการใช้น้ำนั้นเขาพูดว่า We calculated every drops!!! เรียกว่าพูดกันเป็นหยดๆๆเลย ซึ่งความจริงตอนนี้คนไทยเราควรเตรียมการได้แล้ว และเรื่องน้ำปนเปื้อนสารเคมีก็มีผลงานวิจัยอยู่ค่ะ แม้กระทั่งน้ำใต้ดินก็ตรวจพบทั่วไปค่ะ ส่วนการปลูกพืชประหยัดน้ำ อาจจะดีค่ะตรงที่ใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพหรือบางงานทดลองก็พยายามหาพืชทนแล้งมาปลูก แต่ทั้งนี้ก็ก็น่าคิดนะคะและอย่าลืมว่าปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการเจริญเติบโตของพืชคือน้ำ หากน้ำไม่พอพืชอาจจะโตได้พอสมควรแล้วผลผลิตจะเป็นอย่างไร???
-ขั้นต่อไปคือทำอย่างไรบันทึกที่มีประโยชน์อย่างที่คุณLogosและคุณบางทรายเขียนมานี่จะได้ผ่านหูผ่านตาบุคคลระดับผู้บริหารประเทศหรือผู้วางนโยบายบ้าง…มัวแต่ชิง…กันอยู่…อิอิ
-เรื่องน้ำน่าสนใจมากค่ะ น่าสนใจ
ผมเคยทำธุรกิจบริการมาเป็นสิบปี เคยบอกกับลูกน้องว่าคนเก่งสำหรับผม ไม่ใช่คนแก้ปัญหาเก่ง แต่เป็นคนที่ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่างหาก เพราะเมื่อมีปัญหาแล้ว ลูกค้า suffer (แต่ว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้ว แก้ได้ ดีกว่าแก้ไม่ได้นะครับ)
สำหรับการเติมความชื้นให้อากาศ มีบันทึกสร้างเมฆ ที่ใช้น้ำทะเลมาสร้างเชื้อเมฆนะครับ ใช้พลังงานธรรมชาติทำงาน แต่ยังไม่ค่อยชอบหรอกครับ เดี๋ยวผมเขียนอีกเรื่องหนึ่งดีกว่า
เคยไปบ้านลุงเขย ที่ชลบุรี สร้างได้30ปี ปัจจุบันขายไปแล้ว
บ้านหลังนี้ ห่างที่ทำการเมือง ไม่เกิน5 กม. ห่างทะเลไม่เกิน 1กม. ปัจจุบัน น้ำประปาและไฟฟ้าเชื่อมต่อหมด ที่ดินใกล้ป่าชายเลน ดินไม่ค่อยดี
30ปีก่อน ตอนสร้างบ้านไม่มีระบบประปาผ่านหน้าบ้าน
ลุงเขยสร้างบ้านโดยมี อ่างน้ำอยู่ใต้พื้นบ้าน คล้ายกับห้องใต้ดิน แต่ทำเป็นที่เก็บน้ำโดยเฉพาะ ลึกไม่เกิน 1.5เมตร กว้างยาวเท่ากับบ้าน(เว้นห้องน้ำ) รอบชายหลังคามีรางน้ำโดยรอบ ทำท่อระบายน้ำฝน ต่อตรงกับ อ่างน้ำใต้บ้าน มีตะแกรงดักใบไม้ (พร้อมดึงออกทำความสะอาดได้) มีท่อน้ำล้น ท่อระบายไอน้ำ(กันไอน้ำซึมเข้าพื้นบ้าน) ด้วย
มีน้ำฝน 7เดือน แล้ง 5เดือน อยู่กัน 2คน มีแขกเยี่ยมเยียน ประจำ ไม่ต้องหาน้ำประปามาใช้ ไม่เสียเงินซื้อ ฟรี
บ้านไม่ร้อน พื้นบ้านเย็น
เวลาใช้น้ำ คือเอาถังน้ำผูกกับเชือก ตักดึงแล้วแบกหามมาเติมห้องน้ำเอง อยากอาบมาก ก็แบกหามมาก ฝึกการประหยัดน้ำ (จริงๆมีปั๊มน้ำ แต่จะเปิดปั๊มเป็นเวลา)
ส่วนน้ำหลังจากการอาบหรือซักผ้า จะไหลลงถังน้ำทิ้ง มีดักตะกอน เย็นๆจะนำน้ำทิ้งนี้ ไปรดต้นไม้ พืชผักที่ปลูก เวลารดเป็นตอนเย็นที่พระอาทิตย์ตก พอสมควร รดเช้าหรือบ่ายแก่ๆ ดินร้อนน้ำอาจไหลไม่ถึงราก(ลุงเขยบอก) เป็นการใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างสูงสุด
..
ถ้าทุกบ้าน ทำได้แบบนี้จะมีน้ำจืดใช้ไม่ขาด
[...] เคยเอามาให้ดูครั้งหนึ่งแล้ว [...]