สุนทรพจน์วันจบการศึกษา

อ่าน: 7045

เมื่อสองวันที่ผ่านมา เพื่อนผมที่อยู่อเมริกาถามมาว่า ได้ฟังสุนทรพจน์ของ Steve Jobs ที่กล่าวแก่บัณฑิต Stanford เมื่อห้าปีก่อนหรือยัง อันนั้นผมฟังแล้วครับ ที่เขาบอกว่า Stay hungry, stay foolish ไง (อย่าหยุดนิ่ง อย่าหยุดแสวงหา) ถึงเคยดูแล้ว ย้อนกลับไปดูอีกทีก็ดีเหมือนกัน

สุนทรพจน์ต่างๆ ที่ผู้กล่าวเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีนั้น มักจะมีแง่คิดให้ฟังเสมอ และสุนทรพจน์วันจบการศึกษา ก็มักจะเป็นสิ่งที่ไม่สอนในห้องเรียนหรอกนะครับ

ผมก็เลยค้นเน็ตต่อไปเรื่อยๆ หาว่ามีอะไรน่าสนใจอีกไหม ก็ไปพบว่า TIME จัดอันดับสุนทรพจน์วันจบการศึกษาเอาไว้ ของ Jobs เป็นที่สอง ส่วนที่หนึ่งเป็นของ David Foster Wallace ซึ่งกล่าวเอาไว้ที่ Kenyon เมื่อปี ค.ศ.2005

เอ๊ะ ผมไม่รู้จัก Wallace หรอกครับ ใครหว่า ไม่รู้จัก Kenyon ด้วย แต่ถ้า TIME จัดสุนทรพจน์ของ Wallace ซึ่งกล่าวไว้ที่ Kenyon ไว้ที่หนึ่ง เหนือสุนทรพจน์จากคนดัง+มหาวิทยาลัยดังอื่นๆ คงมีอะไรน่าสนใจเหมือนกัน

Wallace (1962-2008) เป็นนักเขียนซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนดาวรุ่ง แต่ในปี 2008 เขาฆ่าตัวตาย ก่อนหน้านั้น Wallace มีอาการซึมเศร้ามายี่สิบปี และต้องพึ่งยา phenelzine มาตลอด เมื่อยาเริ่มแสดงผลข้างเคียง ช่วงกลางปี 2007 เขาก็เลิกใช้ยา แต่ว่าอาการซึมเศร้ากลับมาอย่างรุนแรง เขาหันไปรักษาด้วยวิธีอื่นแต่ไม่ได้ผล และแม้กลับไปใช้ยาเดิมอีก แต่คราวนี้ยาไม่ได้ผลแล้ว จนหนึ่งเดือนก่อนฆ่าตัวตาย เขามีอาการซึมเศร้าขั้นรุนแรง และในที่สุดก็ตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง

สุนทรพจน์วันจบการศึกษาอันนี้ น่าอ่านทั้งหมดครับ ผมเลือกมาให้ดูบางส่วน

น้ำคืออะไรวะ

There are these two young fish swimming along, and they happen to meet an older fish swimming the other way, who nods at them and says, “Morning, boys, how’s the water?” And the two young fish swim on for a bit, and then eventually one of them looks over at the other and goes, “What the hell is water?”

ปลาหนุ่มสองตัวว่ายน้ำมาด้วยกัน พอดีสวนกับปลาแก่ซึ่งกล่าวทักทายว่า “อรุณสวัสดิ์ หนูๆ น้ำเป็นยังไง” (การทักทายว่า “อากาศเป็นยังไง” ก็เป็นการทักทายกันตามปกติ) ปลาหนุ่มสองตัวว่ายต่อไปอีกนิดหนึ่งพอพ้นระยะได้ยินเสียง ปลาหนุ่มมองหน้ากันแล้วถามว่า “น้ำคืออะไรวะ”

ปลาใช้ทั้งชีวิตว่ายอยู่ในน้ำ แต่กลับมองไม่เห็นน้ำ ไม่รู้จักน้ำ เป็นโศกนาฏกรรมแบบไหนเนี่ย — ท่านผู้อ่านล่ะ รู้จักน้ำของท่านไหม รู้ไหมว่าวันใดที่ไม่มีน้ำแล้วจะเป็นอย่างไร ท่านใช้และพึ่งพาน้ำอยู่ตลอดเวลา แล้วท่านเข้าใจมันแค่ไหน ทำนุบำรุงมันขนาดไหน

เรียนรู้ที่ีจะคิด

“Learning how to think” really means learning how to exercise some control over how and what you think. It means being conscious and aware enough to choose what you pay attention to and to choose how you construct meaning from experience. Because if you cannot exercise this kind of choice in adult life, you will be totally hosed. Think of the old cliché about “the mind being an excellent servant but a terrible master.”

การเรียนรู้ที่จะคิดนั้น ที่จริงหมายถึงการเรียนรู้ที่จะควบคุม(ได้บ้าง)ว่าคิดอย่างไรและคิดอะไร มันหมายถึงการมีทั้งสติและสัมปชัญญะ พอที่จะเลือกว่าจะสนใจอะไร และพอที่จะเลือกว่าจะตีความหมายอย่างไร ถ้าหากว่าไม่สามารถเลือกได้ด้วยสติสัมปชัญญะ ชีวิตของคุณย้วยแน่ ลองนึกถึงคำคมเก่าแก่อันหนึ่งเถิด “ความคิดเป็นผู้รับใช้ที่ยอดเยี่ยม แต่เป็นนายที่ห่วยแตก”

ความเคยชิน

But the insidious thing about these forms of worship is not that they’re evil or sinful; it is that they are unconscious. They are default-settings.

They’re the kind of worship you just gradually slip into, day after day, getting more and more selective about what you see and how you measure value without ever being fully aware that that’s what you’re doing.

ไม่ใช่ว่ารูปแบบต่างๆ ของการบูชา(การกระทำ/พิธีกรรม)เหล่านี้เป็นสิ่งชั่วร้าย แต่มันดำเนินไปอย่างไม่มีสติ เป็นสิ่งที่คุณทำเป็นประจำจนเคยชิน เลือกที่จะทำโดยไม่เข้าใจแม้แต่น้อยว่าทำไปทำไม

อิสรภาพที่แท้จริงคือจิตอาสา

Our own present culture has harnessed these forces in ways that have yielded extraordinary wealth and comfort and personal freedom. The freedom all to be lords of our tiny skull-sized kingdoms, alone at the centre of all creation. This kind of freedom has much to recommend it. But of course there are all different kinds of freedom, and the kind that is most precious you will not hear much talk about much in the great outside world of wanting and achieving…. The really important kind of freedom involves attention and awareness and discipline, and being able truly to care about other people and to sacrifice for them over and over in myriad petty, unsexy ways every day.

That is real freedom. That is being educated, and understanding how to think. The alternative is unconsciousness, the default setting, the rat race, the constant gnawing sense of having had, and lost, some infinite thing.

วัฒนธรรมของเราในปัจจุบันได้ยึดโยงบังคับให้มุ่งแสวงหาความมั่งคั่ง ความสะดวกสบาย และ “อิสระส่วนตัว” อิสระที่จะเป็นเจ้าแห่งอาณาจักรที่มีขนาดเท่ากับกระโหลกซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งการสร้างสรรค์ทั้งปวง อิสระเหล่านี้ก็มีสิ่งดีอยู่มากมาย แน่นอน ยังมีอิสรภาพแบบอื่นอีก เป็นแบบที่มักจะไม่ค่อยได้เห็นในโลกข้างนอก(มหาวิทยาลัย) อิสรภาพแบบที่สำคัญมากๆอันนี้ เกี่ยวข้องกับความสนใจ การตระหนักรู้ วินัย ความพยายาม และความรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยเอาใจใส่ต่อผู้อื่นอย่างแท้จริง รู้จักเสียสละเพื่อผู้อื่นทุกวันๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้ว่าจะรู้สึกเห่ยอย่างเหลือคณานับ

(จิตอาสา)นั่นแหละคืออิสรภาพที่แท้จริง ส่วนอีกทางหนึ่งคือกระทำไปโดยไร้สำนึก อัตโนมัติ ไม่รู้ตัว เหมือนหนูถีบจักร-วิ่งไปเรื่อยๆโดยไม่รู้ว่าวิ่งไปทำไม-รู้สึกกัดกร่อนทรมานกับการได้มาและสูญเสียไปไม่รู้จบสิ้น

จิตอาสาเป็นคำที่คนอื่นเรียกโดยที่เขาเหล่านั้นสังเกตเห็นเอง ไม่ใช่คำที่เราเรียกตัวเอง อวดอ้าง หรือโฆษณาตัวเอง เป็นการเข้าใจคำว่า “ให้” และความสุขจากการให้อย่างถ่องแท้ คนที่มีจิตอาสา กระทำการโดยตระหนักรู้ด้วยสติสัมปชัญญะ โดยความรู้จริง ทำได้จริง ตั้งใจทำในสิ่งที่มีค่ามีความหมายต่อผู้อื่น ไม่ตั้งเงื่อนไขก่อนทำ(ลุย) ไม่มีใครบังคับหรือร้องขอ และไม่ต้องการอะไรตอบแทน เขารู้ว่าเขาเป็นเขา เขาทำได้ดี และเขาทำจริงๆ ไม่เกี่ยวกับใครจะยกย่องชื่นชมเขาอย่างไร

ความตระหนักรู้

It is about the real value of a real education, which has almost nothing to do with knowledge, and everything to do with simple awareness; awareness of what is so real and essential, so hidden in plain sight all around us, all the time, that we have to keep reminding ourselves over and over:

“This is water.”

“This is water.”

It is unimaginably hard to do this, to stay conscious and alive in the adult world day in and day out. Which means yet another grand cliché turns out to be true: your education really IS the job of a lifetime. And it commences: now.

I wish you way more than luck.

คุณค่าของการศึกษาที่แท้จริง ซึ่งไม่เกี่ยวกับความรู้(มือสอง)เลย คือคำง่ายๆ คำเดียว “การตระหนักรู้” — เป็นความรู้ตัวที่เป็นจริงและจำเป็นเหลือเกิน แต่กลับถูกซ่อนอยู่รอบตัวเรา จึงต้องหมั่นเตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลา “ถ้าเป็นปลา ต้องรู้นะว่ามีน้ำอยู่”

เป็นเรื่องที่ยากอย่างอย่างที่ไม่สามารถจะประมาณได้ ที่จะ(ตระหนัก)รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นก็ทำให้นึกถึงคำคมโบราณอีกคำหนึ่ง คือการศึกษานั้นเป็นงานที่ทำตลอดชีวิต และงานนั้นเริ่มต้นตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย (วันที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย) ขอให้มีมากกว่าโชคครับ

« « Prev : อิฐกระดาษ อิฐต้นไม้

Next : ข้อมูลน้ำจากระบบโทรมาตรของกรมชลประทาน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 October 2010 เวลา 16:07

    ในเมืองไทยเคยมีสุนทรพจน์ของนักศึกษาที่จบไหมครับ ผมไม่แน่ใจ
    และถ้าหากมียังเดาไม่ออกว่า บัณฑิตไทยจะเอาอะไรไปกล่าว
    มิได้ดูถูกลูกหลานเหล่านั้น แต่เห็นใจต่างหาก

    การที่คนเราจะกล่าวสิ่งเหล่านั้นออกมาได้ มิใช่ไป copy and paste ใครมา
    แต่ต้องตกผลึกทางความรู้ ความเข้าใจ และเผชิญความจริงในด้านนั้นๆมาบ้างแล้ว
    หรือเขาได้ทุ่มเทเวลาทำความเข้าใจสิ่งนั้นๆจนเข้าถึงแก่น แล้วสรุปออกมา..

    แต่ก็มีบัณฑิตกลุ่มหนึ่งที่ทำกิจกรรม ออกไปเป็นบัณฑิตอาสา น่าจะลองให้กลุ่มนี้กล่าวสุนทรพจน์ดูนะ

    เอาใจช่วยระบบไทยไทยนะวันนี้ เดี๋ยวจะกล่าวหาว่า มีแต่ตำหนิ ห้าห้าห้า

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 October 2010 เวลา 17:01
    บัณฑิตที่จบออกมาแต่ละรุ่นนั้น มีความแตกต่างหลากหลายกันมาก จะหาใครมากล่าวสุนทรพจน์ที่มีประโยชน์ต่อบัณฑิตทุกคนนั้นยากครับ [พระบรมราโชวาท ปีที่ผมจบการศึกษา] [พี่ตาขอมา] ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชน ก็มักขอให้ประธานในพิธีกล่าวให้โอกาสครับ

    ในความหมายอย่างที่พี่ว่า สุนทรพจน์เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยไม่สอน เป็นแง่คิด+ประสบการณ์ที่ผู้กล่าวสุนทรพจน์ตกผลึกมาทั้งชีวิต ให้แง่คิด+แรงบันดาลใจ

  • #3 ลานซักล้าง » ถ้าจะมีอนาคต ต้องผ่านปัจจุบันให้ได้ก่อน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 January 2011 เวลา 0:11

    [...] [สุนทรพจน์วันจบการศึกษา] [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.2536301612854 sec
Sidebar: 0.1748640537262 sec