ความหนาแน่นของประชากรกับการจัดการภัยพิบัติ

โดย Logos เมื่อ 30 November 2010 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3898

ช่วงนี้กำลังอ่านหนังสือชื่อ “THE NEXT 100 YEARS จะเกิดอะไรขึ้นในรอบ 100 ปี : พยากรณ์โลกวันนี้ ถึงปี 2100” โดย George Friedman แปลโดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

หนังสือเขียนอธิบายในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ วางน้ำหนักไว้ที่สหรับอเมริกา ตั้งแต่ต้นเล่ม ก็พบประเด็นเรื่องความหนาแน่นของประชากร

…แม้ว่าขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะใหญ่โตมาก แต่น่าสนใจตรงที่ว่าสหรัฐฯ ยังมีจำนวนประชากรต่ำกว่ามาตรฐานโลก สัดส่วนความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตรของโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 49 คน ญี่ปุ่นอยู่ที่ 338 คนต่อตารางกิโลเมตร เยอรมันอยู่ที่ 230 คน ส่วนสหรัฐฯ มีเพียง 31 คนต่อตารางกิโลเมตรเท่านั้น แม้ไม่รวมอลาสกา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ที่คนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ความหนาแน่นของประชากรสหรัฐฯ ก็จะมีเพียง 34 คนต่อตารางกิโลเมตร…

สำนักงานสถิติแห่งชาติ แจ้งผลสำรวจว่าเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ประเทศไทยมีประชากร 67 ล้่านคน ส่วนพื้นที่ที่เป็นแผ่นดินนั้นมีประมาณ 514,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 130 คนต่อตารางกิโลเมตร ส่วนจังหวัดใหญ่ๆ เช่นกรุงเทพมหานคร(ไม่รวมจังหวัดปริมณฑล) มีประชากร 6.87 ล้านคน แออัดอยู่ในพื้นที่ 1500 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นความหนาแน่น 4,580 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งตัวเลขความหนาแน่นที่สูงมากแบบนี้ ก็เป็นปกติของเมืองใหญ่ ซึ่งมีโอกาสสำหรับชีวิตให้ไขว่คว้าอยู่มาก มหานครทั่วโลกมีความหนาแน่นของประชากรมากกว่ากรุงเทพเสียอีก

แล้วความกระจุกตัว ก็เริ่มจากตรงนี้ล่ะครับ มีคนเยอะ มีธุรกิจเยอะ เก็บภาษีได้เยอะ ยิ่ง “สำคัญ” ยิ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ยิ่งดึงดูดคนให้เข้ามาแสวงหาโอกาสในชีวิต แล้วก็วนเวียนไปเป็นวงจร ยิ่งนาน แรงดึงดูดก็ยิ่งแรง

เมื่อเรารู้ว่ามีคนอยู่ตรงไหนบ้าง กี่คน พื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ประสบภัยหรือไม่ ถ้าเป็น เราจะรู้ว่าจะต้องระดมความช่วยเหลือเป็นปริมาณเท่าไร ความถี่เท่าใด จะต้องดูแลผู้คนมากน้อยแค่ไหน [แผนที่สถานการณ์]

แต่ละพื้นที่จะมีบริบทที่ไม่เหมือนกัน อย่าดูแค่ตัวเลขแล้วแก้ปัญหาของแต่ละพื้นที่เหมือนกันไปหมดก็แล้วกันครับ ต่อให้วิธีนี้เคยใช้ได้ผลมาแล้ว ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าจะใช้ได้ผลในพื้นที่อื่น แต่ละพื้นที่มีความเฉพาะตัว [เหมารวม]

วันนี้เขียนอะไรก็ไม่รู้ อาจจะเบลอจากเรื่องกฏหมายพรรคการเมือง แฮ่

« « Prev : การให้

Next : วันยาวกับประชุมยาว ประชุมเครือข่ายอาสาฯ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 November 2010 เวลา 10:14

    จากการคาดการณ์ของสหประชาชาติ ในปี 2020 จะมีประชาชนอาศัยอยู่ในเมือง 60% ในชนบท 40%

    ปัญหาของเมืองโดยเฉพาะนครหรือมหานครจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย การจัดการเมือง นคร มหานครต้องอาศัยความเป็นมืออาชีพมากๆ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องภัยพิบัติเพราะเหมือนเกิดภัยพิบัติทุกวันอยู่แล้ว

    ปัญหาของบ้านเราเป็นปัญหาในประเทศที่เจริญแล้วเมื่อ 40 ปีที่แล้ว
    สิ่งที่ประเทศที่เจริญแล้วทำไปแล้วเมื่อ 40 ปีที่แล้ว เราเพิ่งทำหรือยังไม่ได้ทำ (หรือยังไม่รู้เรื่องเลย)
    ปัญหาบ้านเมืองเราในปัจจุบันยิ่งทำให้บ้านเมืองเราพัฒนาช้าลงมากๆหรือถอยหลังด้วยซ้ำ

    สรุปว่าตอนนี้น่าจะล้าหลังอยู่ 40ปี ในอนาคตน่าจะเพิ่มเป็น 5-60 ปี ใครจะรู้ อิอิ(ไม่ค่อยออก)

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 1 December 2010 เวลา 4:32

    สร้างงาน-แรงจูงใจ- ให้คนกลับถิ่น
    ถ้ายังบ้าอะไรๆก็ กรุงเทพ มันก็อลเวงอย่างนี้แหละ
    แก้ให้ตายก็ไม่สำเร็จ 1 คน ก็ 1 ตัวปัญหา
    มากคนก็มากปัญหา
    ทุกคนเอาจมูก เอาปาก เอาท้อง เอาขี้เยี่ยวมาด้วยทั้งนั้น
    บางประเทศถึงกับแตกดังโพล๊ะ
    แยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อย
    นั่นก็เป็นวิธีหนึ่ง
    ประเทศนี้ก็กำลังหาทางออกด้วยการตีกัน ขัดแย้งกัน
    พยาามสร้างภัยพิบัติแฝงขึ้นมาเยอะๆ
    อิอิ

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 1 December 2010 เวลา 13:25
    ถ้าเริ่มต้นจากการจัดการตัวเองได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาจัดการให้ ความอลหม่านคงจะน้อยลงครับ

    จะมีใครมาเข้าใจบริบทของตัวเราดีกว่าตัวเอง ส่วนการไม่เข้าใจตัวเองนั้น เป็นยิ่งกว่าโศกนาฏกรรมเสียอีกครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.0103628635406 sec
Sidebar: 0.1486132144928 sec