“เจ้าเป็นไผ”

โดย Logos เมื่อ 5 October 2008 เวลา 4:01 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, ลานปัญญา, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 4410

“เ จ้ า เ ป็ น ไ ผ” คำถามง่ายๆ ของชาวเฮฯ แต่ตอบยากชะมัด

แม้ว่าจะไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่เฉลยได้อย่างการเฉลยข้อสอบ แต่คำตอบที่เป็นการเล่าประวัติตำแหน่งหน้าที่การงานนั้น ผิดอย่างแน่นอน

คำถาม เจ้าเป็นไผ นั้น ถามง่ายๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง คนเราจะเป็นเพื่อนกัน ก็ควรรู้จักกันไว้บ้าง ไม่เพียงแต่พื้นเพ ปูมหลัง นิสัยใจคอ หรือเรื่องพื้นๆ ที่เกี่ยวกับการแนะนำตัวอื่นๆ แต่ผมคิดว่า อย่างน้อยมีอีกสองเรื่องสำคัญคือ

  • เรียนรู้ได้อย่างไร -> เล่าผ่านประสบการณ์ ที่หล่อหลอมมาจนท่านเป็นท่านในปัจจุบัน
  • จุดหมายปลายทางทิศทาง -> ต้องการอะไร และจะทำอะไร

เจ้าเป็นไผ ไม่ใช่การเล่าเรื่องเพื่อให้คนอื่นมาชื่นชมหรอกครับ นั่นมันเรื่องเด็กๆ; มันไม่ใช่ความผิดที่ใครจะมาชื่นชม แต่หากว่าเราทำอะไรโดยหวังให้คนอื่นมาชื่นชม (ซึ่งเมื่อไม่ชมก็เกิดเป็นง่อย หรือว้าเหว่ขึ้นมาอย่างกระทันหัน) แบบนี้เป็นการการของการเสพติดคำชมแล้วล่ะครับ เป็นอาการของคนที่ตั้งตนอยู่ในความประมาท อีกทั้งไม่มี self-esteem ด้วย หลงอยู่กับคำป้อยอที่ไม่จริง

เพราะการชมบ่อย-ชมมาก-ชมโดยไม่มีเหตุผล ก็เป็นการเสแสร้งประจบประแจง — สังคมไทยจึงเป็นอยู่อย่างในปัจจุบัน คือจะต้องมีการหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมทำในสิ่งที่ต้องทำหากไม่ได้อะไรตอบแทน ไม่มี self-esteem

ความชื่นชมนั้น ต้อง earn มา กล่าวคือหามาได้แบบที่สมควรจะได้รับด้วย ซึ่งหมายความว่าจะต้องทำอะไรบางอย่างที่มีผลต่อผู้อื่น ไม่ใช่การกระทำเพื่อตนเอง

« « Prev : Geotagging ของเล่นใหม่

Next : บุญ บารมี » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

5 ความคิดเห็น

  • #1 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 October 2008 เวลา 11:32
    • เรียนรู้ได้อย่างไร -> เล่าผ่านประสบการณ์ ที่หล่อหลอมมาจนท่านเป็นท่านในปัจจุบัน (ญาณวิทยา)
    • จุดหมายปลายทางทิศทาง -> ต้องการอะไร และจะทำอะไร (จริยศาสตร์)

    ยังมีอีกอย่างหนึ่งคือ อภิปรัชญา ซึ่งบ่งชี้ว่า ไผ นะ ยึดถือว่าโลกและชีวิตเป็นจริงทำนองไหน ? …. แต่ประเด็นนี้ ผู้คบหาอาจค่อยๆ กลั่นกรองจากคำตอบจากสองข้อนี้เอาเองอีกครั้งหนึ่ง…

    อย่างไรก็ตาม รู้สึกว่า จัดฉาก และ ระบายสี ยังคงมีให้เห็นอยู่ตั้งแต่อดีตตราบเท่าปัจจุบัน (………)

    เจริญพร

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 October 2008 เวลา 15:09
    ในโลกนี้ ไม่มีใครรู้อะไรทั้งหมด หากเราแต่ละคนไม่มีวิธีการเรียนรู้ที่ดีพอ อ่านอะไรมาก็เชื่อไปเลย ได้ฟังอะไรมาก็เชื่อเลย ได้เห็นอะไรก็เชื่อเช่นกัน ไม่ได้รู้จักพิจารณาด้วยปัญญา เชื่อง่าย ก็ยังคงจะมีเทศกาลสร้างภาพ และจูงจมูกต่อไปครับ
  • #3 สิทธิรักษ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 October 2008 เวลา 15:32

    สวัสดีครับ
    ทุกสิ่งมีมากกว่าหนึ่งด้าน  ถ้าเราว่าๆเป็นสองด้าน คือ ดี เลว ก็ยังมี สองด้าน ของเป้าหมายของคนๆหนึ่ง
    แล้วยังมีสองด้านของคนต้องการรู้อีกฝ่ายหนึ่ง
    รู้เพื่ออะไร นำไปทำอะไร  
    แล้วยังมีผลว่า เชื่อ กับ ไม่เชื่อ
    ความสัมพันธ์ก็คงสภาพสองด้าน รวมทั้งความสัมพันธ์อย่างกลืมกลืน 
    สภาพสังคมโดยทั่วไป ยังคงดำรงความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น  การเกาะเกี่ยวการไขว่คว้ายังเป็นความจำเป็นในสภาพสังคมนี้

    “เจ้าเป็นไผ”        จึงยังคงดำรงอยู่ในสมองเป็นธรรมดา

  • #4 mimography ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 October 2008 เวลา 17:37

    สวัสดีค่ะท่านคอน
    อย่างนี้ต้องลองย้อนมองดูตัวเองสักทีนะคะ ว่า เจ้าเป็นไผ
    บางทีอาจจะหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้  ก็เป็นได้นะคะ

  • #5 handyman ให้ความคิดเห็นเมื่อ 31 March 2009 เวลา 10:00

    ตามมาอ่าน และขอบอกว่าเห็นด้วยครับกับโจทย์ 2 ข้อ

  • เรียนรู้ได้อย่างไร -> เล่าผ่านประสบการณ์ ที่หล่อหลอมมาจนท่านเป็นท่านในปัจจุบัน
  • จุดหมายปลายทางทิศทาง -> ต้องการอะไร และจะทำอะไร
  •     เป็นการสื่อให้รู้ถึง กระบวนการและปัจจัยแวดล้อมที่ “สร้าง” 1 คน ให้ได้ป็นอย่างที่เห็น ส่วนนี้จะให้ความรู้แก่ผู้สนใจ  รู้อะไร ระดับไหน ได้ประโยชน์เพียงใดก็ขึ้นอยู่กับภูมิหลัง ภูมิรู้ และภูมิธรรมของแต่ละคนที่อ่าน ส่วน  ต้องการอะไร และจะทำอะไร นั้น สำคัญตรงที่จะได้เห็นเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ .. จะเหมือน จะคล้ายคลึง หรือต่างกันอย่างไร .. คนอ่านก็จะได้ซึมซับรับรู้และเลือกส่วนที่เหมาะสมกับตนไปปรับใช้ได้  .. เจ้าเป็นไผ จึงมีค่าเสมอ ไม่ว่าเส้นทางเดินของเจ้าของเรื่องจะ หลากหลายแตกต่างกันอย่างไร


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.1543550491333 sec
Sidebar: 0.40356206893921 sec