น้ำท่วมกรุงเทพ?
อ่าน: 4278แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ อ.เมืองปทุมธานีเป็นต้นมา กว้าง 200 ม. อย่างสม่ำเสมอ ยกเว้นตรงเกาะเกร็ด นนทบุรี ซึ่งเป็นคลองขุดกว้าง 100 ม. (แต่แม่น้ำสายเก่าที่ไหลอ้อมไป อยู่ติดกันและยังกว้าง 200 ม. เช่นเดิม)
ความกว้าง 200 ม. นี้ เท่ากับที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ และเท่ากับที่ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก อ่างทอง ซึ่งอยู่เหนือ อ.บางบาล อยุธยา แต่ถ้าฝนไม่ตกหนัก ผมไม่คิดว่ากรุงเทพจะจมน้ำ
ทั้งนี้เป็นเพราะความจุของลำน้ำแถบ โผงเผง บางบาล มีเพียง 1,800 ลบ.ม./วินาที อันนี้หมายความว่าถ้าน้ำไหลมาเป็นปริมาณเกินค่า 1,800 ลบ.ม./วินาที น้ำก็จะยกตัวขึ้นพ้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมแผ่นดิน แล้วแต่ว่าที่ไหนต่ำกว่าก็จะท่วมก่อน บางบาลจึงน้ำท่วมหนักทุกปี เมื่อเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำมาเกินนี้ และน้ำไม่สามารถจัดสรรไปยังช่องทางอื่นได้ บางบาลก็ท่วมครับ
ภาพถ่ายจากดาวเทียมข้างบน แสดงสถานการณ์ของเมื่อวานนี้ เป็นลักษณะเดียวกันกับเมื่อปีที่แล้ว คือยิ่งน้ำเหนือไหลลงมาเท่าไหร่ ก็จะยิ่งล้นตลิ่งที่โผงเผงและบางบาล แล้วไหลไปตามความลาดเอียงไปทางตะวันตก เข้าท่วมบางบาล ผักไห่ เสนา และบางไทร… นอกรูปก็เป็นสุพรรณบุรี น้ำจะไหลไปลงทะเลผ่านแม่น้ำท่าจีน อาจจะท่วมนครปฐม และสมุทรสาคร ยิ่งน้ำมามากและผ่านโผงเผงไปได้น้อย น้ำก็จะยิ่งท่วมเหนือขึ้นไปทางอ่างทอง สิงห์บุรี และลพบุรี และยิ่งล้นออกในบริเวณที่กำลังท่วมอยู่
กลุ่มงานสารสนเทศและพยากรณ์น้ำ ส่วนอุทกวิทยา สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ | สัญลักษณ์ | |||||||||||
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ↑ | แนวโน้มเพิ่มขึ้น | ||||||||||
ประจำ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 ( รายงานใช้ข้อมูล เวลา 06.00 น. ของทุกวัน ) | ↓ | แนวโน้มลดลง | ||||||||||
หน่วย : ระดับน้ำ เป็น เมตร , ความจุและปริมาณน้ำ เป็น ลูกบาศก์เมตร / วินาที | ≈ | ทรงตัว | ||||||||||
ลุ่มน้ำ | แม่น้ำ | สถานที่ตั้งสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า | สถิติข้อมูลสถานี | น้ำท่าเวลา 06.00 น. | เปอร์เซ็นต์ | เทียบ | อยู่ใน | แนวโน้ม | ||||
ตลิ่ง | ความจุ | น้ำสูงสุด | ระดับน้ำ | ปริมาณน้ำ | ความจุลำน้ำ | เมื่อวาน | เกณฑ์ | |||||
ม. | ม.3 / วิ. | ย้อน 20 ปี | ม. | ม.3 / วิ. | % | ม. | ||||||
เจ้าพระยา | เจ้าพระยา | จ.นครสวรรค์ ที่ค่ายจิรประวัติ ( C.2 ) อ.เมือง* | 26.30 | 3,500 | 26.33 | 26.31 | 3670.0 | 104.9 | 0.06 | *ท่วม* | ↑ | |
คลองโพธิ์ | จ.นครสวรรค์ บ้านใหม่คลองเจริญ ( Ct.7 ) กิ่ง อ.แม่เปิน | 104.88 | 440 | 105.82 | 102.82 | 22.0 | -2.06 | 0.78 | มาก | ↑ | ||
เจ้าพระยา | จ.ชัยนาท ที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ( C.13 ) อ.สรรพยา* | 16.34 | 2,840 | 6.98 | 17.66 | 3643.0 | 128.3 | 0.20 | *ท่วม* | ↑ | ||
เจ้าพระยา | จ.สิงห์บุรี บ้านบางพุดทรา ( C.3 ) อ.เมือง* | 11.70 | 2,340 | 13.04 | 2950.0 | 126.1 | 0.00 | *ท่วม* | ≈ | |||
เจ้าพระยา | จ.อ่างทอง บ้านบางแก้ว ( C.7A ) อ.เมือง* | 9.32 | 2,690 | 9.23 | 2643.0 | 98.3 | 0.01 | มาก | ↑ | |||
เจ้าพระยา | จ.อยุธยา สะพานรถยนต์ ( C.35 ) อ.พระนครศรีอยุธยา* | 4.58 | 1,155 | 5.27 | 5.05 | 1268.0 | 109.8 | -0.04 | *ท่วม* | ↓ | ||
ห้วยขุนแก้ว | จ.อุทัยธานี บ้านสมอทอง ( C.30 ) อ.ห้วยคต | 110.12 | 1,200 | 108.60 | 101.79 | 0.2 | 0.0 | -0.01 | น้อยวิกฤติ | ↓ | ||
เจ้าพระยา | สะแกกรัง | จ.อุทัยธานี หน้าศาลากลาง ( Ct.2A ) อ.เมือง* | 21.34 | 482 | 21.19 | 21.37 | 385.0 | 0.03 | 0.17 | ปกติ | ↑ | |
ห้วยทับเสลา | จ.อุทัยธานี บ้านบุ้งอ้ายเจี้ยม ( Ct.9 ) อ.ลานสัก | 127.47 | 280 | 128.31 | 123.52 | 1.4 | 0.5 | -0.03 | น้อยวิกฤติ | ↓ | ||
สะแกกรัง | สะแกกรัง | จ.กำแพงเพชร บ้านปางมะค่า ( Ct.5A ) อ.ขาณุวรลักษบุรี | 107.70 | 495 | 107.08 | 104.32 | 63.0 | 12.7 | -0.48 | น้ำน้อย | ↓ | |
ป่าสัก | ป่าสัก | จ.เพชรบูรณ์ บ้านท่าห้วยยาง ( S.33 ) อ.หล่มเก่า | 8.81 | 384 | 9.16 | 3.37 | 56.5 | 14.7 | -0.40 | น้ำน้อย | ↓ | |
ป่าสัก | จ.เพชรบูรณ์ บ้านตาลเดี่ยว ( S.3 ) อ.หล่มสัก | 7.80 | 180 | 8.31 | ไม่ได้รับรายงาน | |||||||
ป่าสัก | จ.เพชรบูรณ์ สะพานพัฒนาภาคเหนือ3 ( S.4B ) อ.เมือง | 10.10 | 203 | 9.90 | 9.66 | 182.2 | 89.8 | 0.24 | มาก | ↑ | ||
ป่าสัก | จ.เพชรบูรณ์ บ้านบ่อวัง ( S.42 ) อ.วิเชียรบุรี | 10.20 | 186.0 | 11.57 | 11.63 | 446.4 | 240.0 | 0.08 | *ท่วม* | ↑ | ||
ป่าสัก | จ.ลพบุรี บ้านบัวชุม ( S.39 ) อ.ชัยบาดาล | 52.59 | 1,230 | 50.88 | ไม่ได้รับรายงาน | |||||||
ป่าสัก | จ.สระบุรี บ้านคำพราน ( S.28A ) อ.วังม่วง* | 31.46 | 1,175 | 29.37 | ไม่ได้รับรายงาน | |||||||
ป่าสัก | จ.สระบุรี บ้านป่า ( S.9 ) อ.แก่งคอย* | 22.57 | 1,740 | 20.21 | 12.09 | 258.0 | -10.48 | -0.76 | ปกติ | ↓ | ||
ป่าสัก | จ.อยุธยา รพ.ปัจมาฯ ( S.5 ) อ.พระนครศรีอยุธยา* | 4.91 | 1,455 | 5.00 | ไม่ได้รับรายงาน | |||||||
ชี | ชี | จ.ชัยภูมิ บ้านค่าย ( E.23 ) อ.เมือง | 9.00 | 340 | 8.85 | 8.62 | 207.2 | 60.9 | 0.16 | ปกติ | ↑ | |
ชี | จ.ขอนแก่น บ้านโจด ( E.9 ) อ.มัญจาคีรี | 11.00 | 522 | 11.40 | 9.82 | 231.4 | 44.3 | 0.14 | ปกติ | ↑ | ||
ชี | จ.ขอนแก่น บ้านท่าพระ ( E.16A ) อ.เมือง | 9.30 | 559 | 10.39 | 7.24 | 304.2 | 54.4 | -0.05 | ปกติ | ↓ | ||
ชี | จ.มหาสารคาม ( E.91 ) อ.โกสุมพิสัย | 11.70 | 854 | 10.90 | 10.73 | 715.9 | 83.9 | -0.03 | มาก | ↓ | ||
ชี | จ.มหาสารคาม บ้านดินดำ ( E.8A ) อ.เมือง | 10.60 | 992 | 11.37 | 9.66 | 817.1 | 82.4 | 0.06 | มาก | ↑ | ||
ชี | จ.ร้อยเอ็ด บ้านท่าไคร้ ( E.18 ) กิ่ง อ.ทุ่งเขาหลวง* | 9.50 | 848 | 10.45 | 9.41 | 828.0 | 97.6 | 0.11 | มาก | ↑ | ||
ชี | จ.ยโสธร แนวสะพาน ( E.20A ) อ.มหาชนะชัย* | 10.00 | 1,215 | 11.66 | 10.86 | 2168.0 | 178.4 | 0.10 | *ท่วม* | ↑ | ||
ลำน้ำพอง | จ.ขอนแก่น ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ ( E.22B ) อ.น้ำพอง* | 9.90 | 446 | 9.65 | 8.70 | 323.4 | 72.5 | 0.30 | มาก | ↑ | ||
ลำปาว | จ.กาฬสินธุ์ ท้ายเขื่อนลำปาว ( E.75 ) อ.เมือง* | 7.00 | 576 | 7.96 | 2.40 | 95.0 | 16.5 | -0.10 | ปกติ | ↓ | ||
โขง | น้ำเลย | จ.เลย บ้านฟากเลย( Kh.58A ) อ.เมือง | 8.00 | 497 | 12.13 | 8.36 | 543.2 | 109.3 | -1.72 | *ท่วม* | ↓ | |
โขง | จ.เลย ( Kh.97 ) อ.เชียงคาน | 19.00 | - | 16.35 | 11.12 | - | - | -0.21 | ปกติ | ↓ | ||
โขง | จ.หนองคาย วัดลำดวน( Kh.1 ) อ.เมือง | 13.00 | - | 13.47 | 10.65 | - | - | -0.10 | มาก | ↓ | ||
โขง | จ.นครพนม บ้านท่าควาย( Kh.16B ) อ.เมือง | 13.00 | - | 13.00 | 11.13 | - | - | 0.46 | มาก | ↑ | ||
มูล | ลำพระเพลิง | จ.นครราชสีมา บ้านวังกะโล่ ( M.145 ) อ.ปากช่อง | 7.45 | 157 | 7.88 | 4.20 | 8.2 | 3.2 | -0.44 | น้อยวิกฤติ | ↓ | |
มูล | จ.นครราชสีมา บ้านด่านตะกา( M.2A ) อ.เฉลิมพระเกียรติ | 6.20 | 188 | 6.60 | 5.50 | 123.0 | 65.4 | 0.22 | ปกติ | ↑ | ||
ลำตะคอง | จ.นครราชสีมา สะพานอาคารเซรุ่ม ( M.89 ) อ.ปากช่อง | 7.30 | 209 | 8.13 | 2.95 | 30.4 | 14.5 | -0.94 | น้ำน้อย | ↓ | ||
ลำปลายมาศ | จ.บุรีรัมย์ บ้านไผ่น้อย ( M.185 ) อ.ลำปลายมาศ | 7.10 | 142 | 7.99 | 7.05 | 20.5 | 14.4 | 0.00 | น้ำน้อย | ≈ | ||
มูล | จ.บุรีรัมย์ บ้านสตึก ( M.6A ) อ.สตึก | 5.40 | 303 | 6.80 | 5.24 | 283.8 | 93.7 | 0.14 | มาก | ↑ | ||
ลำชี | จ.สุรินทร์ บ้านลำชี ( M.26A ) อ.เมือง | 6.90 | 77 | 10.97 | 9.70 | 195.5 | 254.9 | 0.17 | *ท่วม* | ↑ | ||
ห้วยทับทัน | จ.ศรีษะเกษ บ้านห้วยทับทัน ( M.42 ) อ.ห้วยทับทัน | 8.00 | 131 | 10.95 | 8.48 | 158.1 | 120.7 | 0.32 | *ท่วม* | ↑ | ||
มูล | จ.ศรีษะเกษ บ้านเมืองคง ( M.5 ) อ.ราษีไศล* | 8.10 | 1,085 | 11.74 | 7.74 | 983.6 | 90.70 | 0.14 | มาก | ↑ | ||
ห้วยสำราญ | จ.ศรีษะเกษ บ้านหนองหญ้าปล้อง ( M.9 ) อ.เมือง | 9.00 | 205 | 14.06 | 8.97 | 203.7 | 99.4 | -0.04 | มาก | ↓ |
ตารางข้างบน มาจากกรมชลประทาน ถ้าคลิกดูวันอื่นที่ไม่ใช่วันนี้จะเห็นตัวเลขที่แตกต่างไป… หลายวันมานี้ เจอคนบ่นอย่างน้อยสองคนว่าตารางแบบนี้และผังน้ำ ดูไม่รู้เรื่อง… ก็ถ้าไม่รู้เรื่องแต่อยากรู้ ก็ทำความเข้าใจสิครับ ไม่ยากหรอก บ่นทำไม
สถานีวัดระดับน้ำ C.13 ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพา ชัยนาท แสดงว่าปล่อยน้ำ 3,643 ลบ.ม./วินาที แต่ความจุของลำน้ำมีเพียง 2,840 ลบ.ม./วินาที — เขื่อนไม่ได้ซาดิสต์หรอกครับ แต่น้ำเหนือมามาก แล้วน้ำก็ไม่หายไปไหน เขื่อนกั้นไว้ได้ชั่วคราวเท่านั้น (รอเวลาชาวบ้านทางใต้น้ำเก็บเกี่ยวข้าวและขนหนีให้ได้มากที่สุด) แต่เขื่อนไม่สามารถกักไว้เกินความจุของเขื่อนได้ แล้ววันนี้ก็เลยวันที่ 15 ที่เป็นเส้นตายที่ให้เกี่ยวข้าวมาแล้ว ก็ถึงเวลาจะต้องระบายน้ำออกมา
น้ำจำนวนนี้ จะใช้เวลาเดินทางจากเขื่อนเจ้าพระยาถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้าในกรุงเทพเป็นเวลา 3½ วัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเตือน ว่าวันที่ 19-20 ก.ย. นี้ น้ำอาจจะท่วมกรุงเทพ ให้เตรียมตัวไว้… การเตือนภัย ก็ต้องเตือนล่วงหน้าน่ะถูกแล้วครับ ไม่ใช่ว่าน้ำท่วมแล้วค่อยมาเตือน
แต่ผมคิดว่าปริมาณน้ำต่ำกว่า 3,800 ลบ.ม./วินาทีนี้ น้ำไม่น่ายกตัวขึ้นพ้นแนวป้องกันของกรุงเทพหรอกครับ ถ้า 4,000 ลบ.ม./วินาที มีลุ้น แต่ก็เสริมเขื่อนได้ ที่น่าห่วงคือชาวบ้านริมน้ำที่อยู่นอกแนวป้องกัน ในวันนี้ถ้าบอกให้อพยพคงยังไม่มีใครกระดิก แต่ผมว่าเมื่อน้ำมามากๆ อาจจะอยู่ไม่ได้ครับ กทม.ควรเตรียมที่พักพิงฉุกเฉินไว้ล่วงหน้าด้วย ตลอดสองฝั่งของแม่น้ำ
ถ้าใครยังทนอ่านมาถึงตรงนี้ คงยังจำได้นะครับ ว่าความจุของลำน้ำที่โผงเผงนั้น แค่ 1,800 ลบ.ม./วินาที เท่านั้น หากมีน้ำปริมาณมหาศาลไหลมา ก็จะท่วมแถวนี้เละเทะไปก่อน ลดปริมาณน้ำที่ยังคงไหลมาตากแม่น้ำเจ้าพระยาไปเรื่อยๆ (ซึ่งอยุธยาก็มีความจุของลำน้ำต่ำและน้ำท่วมอยู่ในขณะปัจจุบัน) การที่น้ำปริมาณมาก วิ่งผ่านละน้ำที่มีความจุของลำน้ำต่ำเป็นระยะทางยาวๆ น้ำก็ล้นตลิ่งเป็นทางยาวๆ ครับ
ดังนั้นคนที่ควรระวังตัวให้มาก คือชาวบ้านชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ที่อยู่นอกแนวป้องกัน ตลอดจนชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยอยู่ในปัจจุบัน (น้ำอาจสูงขึ้นอีกได้) น้ำเหนือหลากลงมา จะไม่ระเหยไปเฉยๆ หรอกครับ ยังไงน้ำก็จะไหลไปลงทะเล แนวที่น้ำไหลไปนั้นก็จะท่วม และเมื่อน้ำล้นตลิ่งแล้ว ทีนี้ควบคุมยากเพราะภูมิประเทศมีสูงต่ำมีร่องมีคัน เรียกว่าคาดเดาได้ยากมากเพราะเราไม่เคยมีแผนที่ความสูงอย่างละเอียด
ระดับน้ำบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า ปากน้ำ สมุทรปราการ น้ำทะเลไม่หนุน
ที่เขียนมานี้ ก็เพื่อให้มุมมองอีกด้านหนึ่งเท่านั้นครับ ไม่ต้องเชื่อผม และอย่าเชื่ออะไรโดยไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้ — ถ้าไม่รู้ ก็เรียนรู้ซะ
บ้านผมไม่ได้อยู่ในกรุงเทพ และอยู่ห่างแม่น้ำเจ้าพระยากิโลเดียว เวลาพ่อสร้างบ้าน ก็ถมสูงตามประสบการณ์… เมื่อตอนยังไม่ย้ายมาที่นี่ เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพจากฝนพันปี ที่บ้านไม่ท่วมเลยทั้งที่ที่อื่นท่วมลึกเป็นเมตร แต่ออกไปไหนไม่ได้เหมือนกัน อันนั้นก็เป็นประสบการณ์ที่เราเรียนรู้ได้
น้ำมาคราวนี้ ผมไม่คิดว่าที่บ้านผมจะท่วม แต่ก็ไม่ประมาท ตุนสิ่งจำเป็นเอาไว้พอสมควร (ส่วนเงินสดนั้น ตุนมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วแน่ะครับ ไม่ได้ใช้และยังไม่ได้เอาไปฝากคืนตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ก็เลยไม่ต้องไปเบิกมาเพิ่ม) ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพเสี่ยงกว่าฝั่งตะวันออกนะครับ น้ำเจ้าพระยาที่ล้นมาตั้งแต่อ่างทอง อยุธยา ไหลไปทางทุ่งทางตะวันตก โดยมีแนวป้องกันสำคัญคือถนนวงแหวนตะวันตก; ส่วนฝั่งตะวันออกของกรุงเทพนั้น มีความเสี่ยงที่แม่น้ำป่าสัก และน้ำจากนครนายก ซึ่งในปัจจุบันยังปกติอยู่ครับ
เรื่องน้ำจะท่วมกรุงเทพหรือไม่ ยังไม่ใช่ประเด็นใหญ่ อย่าคิดเหมือนกำลังทำข้อสอบถูกผิด หรือซื้อหวยแล้วลุ้นว่าถูกหรือไม่ถูกเลย เข้าใจน้ำ เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจความเสี่ยงของตัวเอง แล้วตัดสินใจอย่างฉลาดดีกว่าครับ ผิดถูกและเหตุผล ยังเป็นเรื่องสำคัญรองลงไป ถูกแต่ตายเพราะน้ำท่วม เป็นการถูกแบบโง่ๆ นะครับ
ไม่ว่าผมจะคิดอะไร ไม่ว่าจะมีเหตุผลอะไร ยังไงก็ไม่ประมาท ไม่เอาครอบครัวไปเสี่ยงหรอกนะครับ
« « Prev : อย่าแผ่ว
4 ความคิดเห็น
การแก้ปัญหาน้ำท่วมกทม. ไม่ยากครับ ผมได้เคยเขียนไว้หลายบทความจนเหนื่อยแล้วว่า ทำได้ และใช้งบประมาณน้อยมาก
อยากให้ท่าน con ไปเป็นนายกฯ จริงๆ แล้วตั้งผมเป็นรองฯที่ควบคุมดูแลด้านน้ำท่วม ผมจะทำให้ดู ถ้าทำไม่ได้ ให้ตัดหัว เสียบประจาน
ผมเห็นข่าว ตามข่าวแล้วก็เป็นห่วงบ้านที่อ่างทอง วิเศษชัยชาญ ที่น้องสาวกับน้องเขยพักอยู่ น้องบอกว่า เหลืออีกฝ่ามือก็จะล้มตะลิ่งเข้าบ้าน
1. หากเป็นสมัยก่อน ชาวบ้านจะมานั่กระดิกเท้ากินเหล้าขาวดูน้ำกัน เพราะระบบวิถีชุมชนสมัยก่อน เขาคุ้นเคยกับน้ำท่วมมาตลอด เขารู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง จะต้องเตีรยมอะไรก่อนฤดูน้ำหลากจะมา เตรียมไว้ก่อนแล้วจึงไม่มีปัญหา แม้แต่วัว ควายที่เลี้ยง 3-5 ตัว เขาทำ “เรือน” หรือคอกควายที่ใต้ถุนสูงให้อยู่ เหมือนสร้างบ้านให้ควายอยู่ แล้วเจ้าของก็ไปเกี่ยวหญ้ามาให้มันกินทุกเช้า หรืออีกทางกเมื่อเสร็จนา ก่อนฝนตกใหญ่ หรือน้ำเหนือจะมา เขาจะเอาควายไปใฝากไว้ในอำเภอแสวงหา เพราะเป็นเขตที่สูง เป็นป่า เมื่อน้ำลดก็ไปเอามา การเอาควายไปฝากก็มีของแลกเปลี่ยนแล้วแต่จะตกลงกัน เช่น หากลูกควายเกิดมายกให้ผู้เลี้ยง.. มาสมัยนี้มีแต่ควายเหล็ก
2. ความเป็นเมืองเข้ามา ความทันสมัยเข้ามา บ้านเปลี่ยนไป เป็นการปลูกติดพื้นดิน หากน้ำท่วมเล่า…? ก็ขนสิ่งของไปไว้ชั้นบน
3. ถามน้องสาวว่าเมื่อไหร่น้ำเหนือจะมาท่วม เธอบอกว่า พี่…จริงๆมันควรท่วมมาหลายวัยแล้ว แต่ชาวนาเดินไปร้องเรียนให้เจ้าพระยาอย่าเพิ่งปล่อยน้ำลงมา เพราะทุ่งนาวิเศษชัยชาญ ทุ่งนา อ.โพธิทอง ทุ่งนา ตำบลม่วงเตี้ย ทุ่งนาหลังจังหวัดอ่างทองนั้น “ข้าวกำลังจะเก็บเกี่ยว” ชาวนาขอร้องขอสักสัปดาห์หนึ่งเพื่อเก็บเกี่ยวก่อน ทีนี้ก็แย่งรถเกี่ยวกัน หรือมีรถเกี่ยวแต่ลงเกี่ยวไม่ได้เพราะน้ำลุกเกินไป ทีนี้ชาวบ้านก็ต้องลงมือเกี่ยวเอง จ้างแรงงานก็แย่งแรงงานกัน ชาวนาก็ลงมือเอาเรือไปเกี่ยวข้าวเอาเท่าที่จะทำได้ บางแปลงข้าวยังไม่สุกเต็มที่เลย แต่หากไม่เกี่ยวก็จะเสียหายหมดสิ้น….เมื่อพ้นสัปดาห์ เขื่อนเจ้าพระยาอั้นไม่ไหวต้องปล่อย การปล่อยก็น่าเห็นใจกรมชลประทานที่ operate น้ำตรงกลาง คนอยู่ใต้เขื่อนก็บอกว่าอย่าเปิดบานมาก ขอเกี่ยวข้าวก่อนดังกล่าว คนอยู่เหนือเขื่อนก็ให้เปิดบานกว้างๆ เพราะน้ำท่วมหมดแล้วระบายออกไปเยอะๆ สองฝ่ายก็ทะเลาะกัน “เพราะน้ำมากเกินไป” เพราะ “ระบบรองรับน้ำเปลี่ยนไป”
4. ระบบการปลูกข้าวเปลี่ยนไปจากเดิม พันธุ์ข้าวเปลี่ยนไปจากเดิม ก็มีส่วนมากที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม หากเป็นข้าวสมัยก่อน ที่เรียกนาฟางลอย มาเลยน้ำจะมากจะน้อยแค่ไหน ข้าวนาฟางลอยไม่มีปัญหา
5. ลักษณะทางกายภาพ พื้นที่เปลี่ยนไป สมัยก่อนน้ำมากก็ Flood เข้าทุ่งนา ซึ่งเป็นข้าวนาฟางลอยดังกล่าว ปัจจุบันสองตลิ่งปลูกบ้านสมัยใหม่ พื้นติดดิน ก็ต้องสร้างกำแพงกั้นน้ำเข้า ก็บังคับน้ำให้อยู่แต่ในลำคลอง ไม่สามารถ Flood เข้าทุ่งได้ หรือเข้าได้น้อยลง ไหลไม่สะดวก อีกประการ การพัฒนาระบบชลประทาน การพัฒนาถนน ไปขวางทางน้ำหมด แม้จะมีช่องทางให้น้ำไหลผ่าน แต่ในกรณีน้ำหลากมามากๆ ไหลไม่ทันครับ ท่วมลูกเดียว
6. นี่ที่บ้านผมซึ่งลูกๆได้มรดกที่ดินมาจากพ่อแม่ และไม่มีลูกคนไหนออกจากงานไปทำนาเหมือนพ่อแม่ จึงให้ชาวบ้านเช่านาทำ แล้วเราเก็บค่าเช่า น้องสาวบอกว่าปีนี้คงไม่ได้ค่าเช่านา เพราะสงสารชาวบ้านที่มาเช่านาเรา… ไม่ได้ข้าว ที่ชาวบ้านเรียก “นาล่ม”
แค่เล่าให้ฟังครับ
#2 บ้านใกล้เรือนเคียง แตกแยกกันได้โดยไม่ต้องเรียกร้องหรือล้างสมองผ่านทีวีดาวเทียมเลยครับ เพียงแค่เรื่องเดียวกันแต่มองกันคนละมุมเท่านั้นเอง ต่างคนต่างว่าฝ่ายตนเองถูกและอีกฝ่ายหนึ่งผิด เถียงกันหน้าดำคร่ำเครียด โดยไม่ได้เข้าใจเลยว่ายังมีคำตอบ “ถูกทุกข้อ (ขึ้นกับมุมมองและบริบท)” อยู่อีกอันหนึ่ง… ใจไม่กว้างพอ
[...] น้ำก็จะยิ่งท่วมที่ราบลุ่มภาคกลาง ไม่สามารถไหลผ่านคอขวดที่โผงเผง บาง… [...]