คนละเรื่องเดียวกันบนแกนเวลา

โดย Logos เมื่อ 3 June 2010 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3786

กลางคืนก็ไม่นอน วานซืนนอนแปดโมงเช้า แต่เมื่อวานนอนเที่ยง ที่ยืดออกมาเพราะไปเจอเรื่องน่าสนใจ เรื่อง Time perspective ของนักจิตวิทยาชื่อ Philip Zimbardo ซึ่งก็เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ

แต่นั่นไม่ได้ทำให้ผมชอบ ผมชอบเรื่องนี้ด้วยเหตุผลสองอย่าง คือ (1) ผมเดาไม่ออกว่าเรื่องจะไปต่ออย่างไร และ (2) แม้จะพูดต่อไปถึงเรื่องที่ผมแปลกใจแล้ว ก็ยังมีเรื่องที่เดาทางไม่ออกตามมาอีกหลายระลอก

เรื่องเริ่มต้นด้วยการศึกษา ที่ส่งสัญญาณออกมาว่าความสุขและความสำเร็จของคนเรา มักขึ้นกับบุคลิกลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งเรากลับไม่ค่อยเอาใจใส่ คือ ระบบความคิดของเรามีลักษณะอย่างไรในมุมของเวลา — เอ๊ะนี่ภาษาไทยหรือเปล่า ฟังดูไม่รู้เรื่องเลย

คืออย่างนี้ครับ เค้าจัดคนไปหกกลุ่มตามระบบความคิด ว่ามุ่งไปทางไหนในแกนเวลา: อดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 กลุ่มย่อยๆ คือ

  1. Past Positive ติดอยู่กับความหลังที่มีความสุข เช่นผู้สูงอายุชอบรำลึกถึงความหลัง คิดถึงลูกหลาน
  2. Past Negative พวกนี้เรียกว่าพวกติกแหงกอยู่กับความเศร้าหมองในอดีต เช่นความขมขื่น ทุกข์ระทม ความล้มเหลว ไม่สมหวัง (ถ้าอาการรุนแรง คงเป็นอาการป่วยแบบจิตเวท ซึมเศร้า)
  3. Present Hedonism ถ้าแปลตรงตัว ก็คงเรียกว่าพวกสุขนิยม แสวงหาความรู้สึกว่ารู้(ต่างกับการแสวงหาความรู้) ความรู้สึกว่าตนมีค่า ซึ่งเป็นอารมณ์ในปัจจุบันเท่านั้น
  4. Present Fatalism เป็นพวกที่เชื่อว่าชีวิตถูกลิขิตไว้แล้ว ฝืนลิขิตไม่ได้ จึงพยายามประคับประคองตัวเพื่อเดินต่อไปเรื่อยๆ พวกนี้จะ “มีเหตุผล” เป็นข้ออ้างมากมายที่จะอยู่ไปวันๆ ไม่คิดทำหรือปรับปรุงอะไรให้ดีขึ้น
  5. Future — กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทำให้โลก “ก้าวหน้า” เพราะมีมุมมองว่าอนาคตต้องดีกว่าเดิม เป็นกลุ่มที่ลงมือกระทำเพื่ออนาคตที่ดีกว่า เปรียบเหมือนการลงทุน ต้องลงทุนลงแรงไปก่อนด้วยความเชื่อมั่นว่าจะคุ้มค่าในอนาคต — ตรงข้ามกับการกระทำที่ต้องการผลเดี๋ยวนี้ ที่เรียกว่า “ปล้น”
  6. “Transcendtal” Future กลุ่มนี้มักขึ้นกับความเชื่อทางศาสนา ว่า “ชีวิต” ที่แท้จริง เริ่มต้นหลังจากจากโลกนี้ไปแล้ว สิ่งต่างๆ ที่ทำในปัจจุบัน จะเป็นตัวตัดสินในวันที่ตาย ว่าจะไปไหนต่อ (โดยเปรียบเทียบ เป็นเหมือนการลงทุนที่รอรับผลในอนาคต/ชีวิตนิรันดร์)

Dr. Zimbardo บอกว่าโลกก้าวหน้าเพราะคนกลุ่ม {5,6} — ผมว่ามีเรื่องน่าคิดยิ่งกว่านั้นอีกครับ คนแต่ละกลุ่มจะคุยกันรู้เรื่องได้ยังไง ในเมื่อฐานคิดเป็นคนละอย่าง มองคนละมุม

ที่เขียนมานี้ อยู่ใน 2 นาทีแรกของคลิปข้างบน อีก 8 นาทีก็มันครับ แต่จะไม่เล่าเพื่อไม่ให้เสียอรรถรส

ตั้งโจทย์ผิด คำตอบผิด
ตั้งใจไม่ดี ผลไม่ดี
ตั้งใจดี ปฏิบัติไม่ดี ผลไม่ดี
ตั้งใจดี ปฏิบัติดี วิธีการไม่ดี ผลไม่ดี
ตั้งใจดี ปฏิบัติดี วิธีการดี ความสามารถไม่ถึง ผลไม่ดี
ตั้งใจดี ปฏิบัติดี วิธีการดี ความสามารถถึง ผล”อาจจะ”ดี

« « Prev : ศาสตร์แห่งการกระตุ้น

Next : ประชา(ธิป)ตาย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 June 2010 เวลา 6:57

    เปรียบเทียบแต่ละข้อ ก็รู้สึกแบบเข้าข้างตนเองว่าอยู่ในข้อ5-6  และเมื่ออ่านความเห็นของนายซิมปาโดทำให้หลงตนเองยิ่งขึ้น…

    สำนวนนิยายว่า “ทุกคนเข้าใจมัน แต่มันซิ ไม่เข้าใจตัวเอง”

    เจริญพร

  • #2 iMenn ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 June 2010 เวลา 9:33

    เอ มันเหมือนยังไม่จบหรือเปล่าครับอาจารย์? แต่เข้าไปดูที่ Youtube ก็ไม่เจอตอน 2 น่ะครับ?

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 June 2010 เวลา 10:09
    #2 อันบน Youtube ที่ผมเลือกมา จบแล้วครับ มีตอนเดียวยาว 10 นาที

    ดร.ซิมบาโด พูดที่ TED เรื่อง Time Perspective เหมือนกัน (6 นาที) ซึ่งผมคิดว่าตัวหนังสือเยอะมาก ไม่สนุก แล้วสไลด์การนำเสนอก็ไม่มันเท่าการนำเสนอในคลิปข้างบน ซึ่ง RSA (the Royal Society for the encouragement of Arts, Manufactures and Commerce องค์กรอายุ 250 ปีในอังกฤษ) เป็นคนทำให้ น่าสนใจมากครับ

    ถ้าตามไปดูที่ TED อาจจะเจอเรื่อง How people become monsters … or heroes ซึ่งต้องเตือนไว้ก่อนว่ามีภาพที่ไม่น่าดูอยู่เยอะนะครับ

    แล้วคงไม่สายไปที่จะแสดงความยินดีเรื่องแต่งงานด้วยนะครับ

  • #4 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 June 2010 เวลา 11:42

    วันนี้ไม่มีอะไรให้อ่าน ฟัง หรือคะ
    ;)


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.14068984985352 sec
Sidebar: 0.24169993400574 sec