ประชา(ธิป)ตาย

อ่าน: 3863

มีเรื่องประหลาดเรื่องหนึ่งเผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ว่าจอมอสูร จอมเผด็จการ แอนตี้ไครส์ นามว่าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาตามประบอบประชาธิปไตย… ตอบแบบง่ายและผิวเผิน ก็ต้องบอกว่าใช่ แต่ว่ายังมีเรื่องอื่นๆ อีกยาวเหยียดครับ คำว่า “เลือกตั้งมา” ไม่ได้ฟอกตัวให้ใครดีขึ้นมาได้ หากการกระทำยัง จุด จุด จุด (โดย จุด จุด จุด คืออาการที่ไม่อยากให้ลูกหลานประพฤติปฏิบัติให้เสื่อมเสียต่อวงศ์ตระกูล)

เมื่อปรัสเซีย(เยอรมัน)แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศผู้ชนะซึ่งถือว่าตนสูงส่ง ก็เข้ามาจัดการเยอรมันผ่านสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ปี 1919; ขนาดประเทศผู้ชนะ ต่างก็ประสบเศรษฐกิจตกต่ำ นับประสาอะไรกับเยอรมันที่ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล บ้านเมืองย่อยยับป่นปี้ ผู้คนบ้านแตกสาแหรกขาด

อย่างไรก็ตาม ระบบประชาธิปไตยของเยอรมันก็เดินไปตามกลไก จนในเดือนมีนาคม 1932 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ตามรัฐธรรมนูญเยอรมันในเวลานั้น ประธานาธิบดีต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งผลออกมาว่า Paul von Hindenburg ได้ 49.6% Adolf Hitler ได้ 30.1% Ernst Thaelmann ได้ 13.2% และ Theodore Duesterberg ได้ 6.8%

เนื่องจากไม่มีใครได้รับเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง จึงต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง โดยเอาผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดสามราย มาเลือกกันใหม่อีกทีหนึ่งในอีกเดือนหนึ่งต่อมา ซึ่งได้ผลเป็น Hindenburg 53.0%, Hitler 36.8% และ Thaelmann 10.2%

ประธานาธิบดี Hindenburg แต่งตั้ง Franz von Papen เป็นนายกรัฐมนตรี (Chancellor) แต่ว่า Papen ยุบสภาทันทีเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการเลือกตั้งครั้งที่สามในเวลาห้าเดือน! คราวนี้ พรรค DAP (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นพรรค Nazi) กลายเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสภา มี สส. 230 คนจาก 608 ที่นั่ง

ฮิตเลอร์ต้องการให้ฮินเดนเบิร์กแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ฮินเดนเบิร์กปฏิเสธ (ตามคำให้การของ Otto von Meissner ผู้ช่วยฮินเดนเบิร์กในศาลอาชญากรรมสงครามที่เมืองนูเรมเบิร์ก) ว่า

Hindenburg replied that because of the tense situation he could not in good conscience risk transferring the power of government to a new party such as the National Socialists, which did not command a majority and which was intolerant, noisy and undisciplined.

เกมการเมืองดำเนินต่อไปโดยมีการยุบสภา และเลือกตั้งใหม่อีกครั้งในเดือนพฤจิกายน คราวนี้พรรค DAP เสียไปสองล้านคำแนนและเสียเก้าอี้ไป 34 ที่นั่ง แต่ถึงกระนั้น ก็ยังเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสภา

ในความพยายามที่จะปลดล็อคความยุ่งเหยิงทางการเมือง Hindenberg ปลด Papen แล้วตั้งนายพล Kurt von Schleicher เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีเสียงข้างมากในสภาได้ Schleiher ก็ต้องลาออกอีกหลังจากได้รับการแต่งตั้งเพียง 57 วันเท่านั้น

ในที่สุด Hindenberg ก็แต่งตั้ง Adolf Hitler เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมันในปลายเดือนมกราคม 1933 แม้ว่าพรรคของฮิตเลอร์จะไม่เคยได้เสียงข้างมากในสภา เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย แต่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ความพยายามของฮิตเลอร์และพรรคนาซีที่จะรวบอำนาจ กลับเป็นไปอย่างง่ายดาย

เพียงเดือนเดียวหลังจากที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐสภา (Reichtag) ก็เกิดไฟใหม้ พรรคนาซีก็ระดมปล่อยข่าวว่าเป็นฝีมือคอมมิวนิสต์ การเผารัฐสภาเป็นสัญญาณของสงครามปลดปล่อยและสงครามกลางเมือง

เพียงวันเดียวหลังจากที่ไฟไหม้รัฐสภา ฮิตเลอร์หว่านล้อมฮินเดนเบิร์กให้ออกรัฐบัญญัติมอบอำนาจ (ภาษาอังกฤษมีรายละเอียดมากกว่า) โดยให้เหตุผลว่าเป็น “มาตรการป้องกันความรุนแรงจากการกระทำของพวกคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้รัฐอยู่ในอันตราย”

รัฐบัญญัตินี้ มีเพียง 5 มาตราซึ่งมาตรา 5 กำหนดเอาไว้ว่ามีระยะบังคับใช้เพียงสี่ปี ดูเผินๆ ก็เหมือนจะดีที่สร้างความคล่องตัวให้กับรัฐ แต่มาตราอื่นทำให้รัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการจัดการ “อะไรบางอย่าง” แม้จะเบนออกนอกรัฐธรรมนูญไปก็ได้แต่จะต้องไม่กระทบต่อสาระสำคัญ — ซึ่ง “อะไรบางอย่าง” นั้น กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเยอรมันด้วย เช่นปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างเด็ดขาดรุนแรง ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ฯลฯ

Restrictions on personal liberty, on the right of free expression of opinion, including freedom of the press; on the rights of assembly and association; and violations of the privacy of postal, telegraphic and telephonic communications; and warrants for house searches, orders for confiscations as well as restrictions on property, are also permissible beyond the legal limits otherwise prescribed.

สองสัปดาห์หลังจากไฟไหม้รัฐสภา ฮิตเลอร์ของให้ สส.มอบอำนาจให้เขาชั่วคราวในการทำให้บ้านเมืองสงบ ญัตตินี้ผ่านด้วยคำแนน 441 ต่อ 84 ซึ่งเกินสองในสาม อันเป็นเหตุให้ฮิตเลอร์ระงับใช้รัฐธรรมนูญของเยอรมันได้ กลายเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบไป…

…ที่เหลือก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว…

ถ้าถามว่าฮิตเลอร์นอกจากแสวงหาอำนาจแล้ว ไม่ทำอะไรเลยเหรอ ก็ต้องตอบว่าไม่ใช่ครับ เขาทำรถราคาถูกออกมา (โฟล์ค) คนเยอรมันเสียเซลฟ์มาก จากการถูกกดขี่เนื่องจากแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฮิตเลอร์จัดโอลิมปิคสมัยใหม่ขึ้น เขาพยายามสร้างความภูมิใจในสายเลือดอารยัน; คงเรียกได้ว่าเป็น “อาจสามารถโมเดล” ของเมื่อแปดสิบปีก่อน และได้รับการสนับสนุนจากชาวเยอรมันเป็นจำนวนมาก

บทเรียนที่มนุษยชาติไม่รู้จักเรียนก็คือ อำนาจทำให้คนแสดงธาตุแท้ คนที่แสวงหาอำนาจเป็นคนที่ไม่มีอำนาจ คนไม่เคยมีอำนาจมองเห็นแต่อำนาจ(กระพี้)โดยมองไม่เห็นความรับผิดชอบ(แก่น)แถมยังอาจใช้อำนาจไม่เป็นอีกด้วย

« « Prev : คนละเรื่องเดียวกันบนแกนเวลา

Next : วิธีปฏิบัติที่รวบรัด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 June 2010 เวลา 3:38

    ชอบบันทึกนี้ค่ะ …
    ประเด็นที่ชอบคือ เป็นเรื่องราวที่ไม่ตามอ่านแบบเดาตอนจบไม่ได้ และอ่านแล้วก็เทียบเคียงกับสถานการณ์ในไทยตอนนี้ไปด้วยและเดาตอนจบไม่ได้เหมือนกัน

    ลิงค์ อาจสามารถโมเดล ทำให้ชอบใจคำว่า cosmetic development ค่ะ..อยากรู้จังว่านักวิชาการท่านใดให้คำๆ นี้ ไว้ เข้าใจได้ทันทีเลย

    การพัฒนาแบบประทินโฉมแทรกอยู่ทุกที่ จนเกิดอาการไม่สามารถยอมรับความเป็นจริงภายใต้เครื่องประทินโฉม…พอแป้งที่พอกหลุด…เดาตอนจบไม่ได้เหมือนกัน???..

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 June 2010 เวลา 3:51
    พี่สร้อยไม่ยอมนอน!

    เขียนบันทึกแบบนี้เหนื่อยครับ ไม่มีเป้าหมายแล้วก็ไม่รู้ว่าจะจบอย่างไร ต้องไว้ใจตัวเองว่าเขียนให้จบได้ ไม่ว่าจะสรุปอะไรหรือไม่ ก็ต้องมีประเด็นให้ผู้อ่านคิดต่อเอง ผู้อ่านอาจจะสรุปได้ดีกว่าตัวเราเสียอีก ส่วนตัวเราเองก็เรียนไปเรื่อยๆ

    ส่วนคำว่า cosmetic development ค้น Google พบที่เดียวในรายงานการวิจัย เรื่องการสร้างดุลยภาพของนักการเมืองและราชการ โดยอาจารย์ วลัยพร รัตนเศรษฐ เสนอ สถาบันพระปกเกล้า สิงหาคม 2549 ครับ แต่ว่าลิงก์ที่ให้ไว้ในบันทึกอยู่มกราคม 2549 ก็น่าจะแปลว่ามีการใช้คำนี้มาก่อน

    อริสโตเติล: Man, when perfected, is the best of animals, but when separated from law and justice, he is the worst of all.

  • #3 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 June 2010 เวลา 5:45

    กาน เมือง พลิกแผลงได้สาระพัด เพราอุดมไปด้วยกิเลเชิงผลประโยชน์พรรคพวก
    ถ้ายอมจำนน ประชาธิปต๋อย แบบนี้ ก็รับกรรมกันต่อไป


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.28792595863342 sec
Sidebar: 0.15445113182068 sec