ไม่เตือนหรือไม่ร่วมมือกัน?!

โดย Logos เมื่อ 11 November 2010 เวลา 15:02 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3761

เกิดคำถามและข้อตำหนิมากมาย ว่าทำไมจึงไม่มีการเตือนภัยล่วงหน้า

ปัญหานี้มีสองส่วนครับ ที่จริงแล้วมีการเตือนภัยล่วงหน้า แต่ว่าเตือนไม่ดังพอ ถ้าไม่ได้เฝ้าระวังสนใจติดตาม ก็ไม่ได้ยินกัน ส่วนคนที่ได้ยินนั้น บางทีก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนี้ — เรื่องนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในเมืองไทย ที่สหรัฐเอง ตอนที่พายุเฮอริเคน Katrina ขึ้นฝั่งที่เมืองนิวออลีนส์เมื่อปี 2548 ขนาดเขามีการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำ และ FEMA ออกคำเตือน และสั่งอพยพแล้ว ก็ยังมีคนไม่เชื่อติดค้างอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ มากมาย — แต่ไม่ได้ยินว่ามีการเตือน Storm Surge ซึ่งเป็นที่ฮือฮากันอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ลืมกันไป คราวนี้มีความเสี่ยง Storm Surge มากเพราะแนวพายุเลียบชายฝั่ง (เหมือน NARGIS 2008) แล้วเป็นช่วงวันเพ็ญ น้ำทะเลขึ้นสูง แต่ก็ไม่มีการเตือน Storm Surge

แต่เนื่องจากผมคลุกคลีศึกษาการทำงานของเจ้าหน้าที่ทางด้านนี้ ก็เห็นว่ามีข้อจำกัดอยู่มากมายในระบบราชการ ต่างกรมต่างกองต่างมีขอบเขตของหน้าที่อยู่อย่างชัดเจน เวลาออกไปทำนอกขอบเขตจะเป็นเรื่องใหญ่เสมอ แล้วใครจะเข้ามาช่วยก็ไม่ชอบ ดังนั้นแต่ละหน่วยจึงอยู่ในรั้วแคบๆ ไม่ซ้ำซ้อนหรอกครับ แต่แบ่งกันละเอียด ซอยย่อยจนแทบไม่มีหน่วยงานใดที่ได้ภาพที่มีความหมาย… แถมหน่วยงานที่มีความรู้พอจะเข้าใจ กลับไม่มีอำนาจ/หน้าที่ในการเตือน แปลกจริงๆ !!!

บางหน่วยงาน ข้อมูลซึ่งจัดเตรียมมาด้วยเงินงบประมาณ กลับเอามาขายได้ — ระบบราชการระมัดระวังเรื่องนี้นะครับ ถ้าไม่มีอำนาจทำก็ไม่ทำหรอก… แต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนแล้วจัดเตรียมมาด้วยงบประมาณแผ่นดิน ผมคิดว่าถึงมีอำนาจขาย ก็ไม่น่าขายหรอกนะครับ ควรจะเปิดข้อมูลเหล่านี้ออกสู่สาธารณะด้วยซ้ำไป

ข้อมูลเกี่ยวกับเมืองไทย ก็มักเป็นภาษาไทย แล้วเราก็ไม่ค่อยสนใจกับการร่วมมือในระดับนานาชาติ เช่นฐานข้อมูล International Disaster Database (EM-DAT) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติจากธรรมชาติเอาไว้ ไม่รู้เหมือนกันว่าข้อมูลถูกต้องหรือไม่ แล้วเรามีฐานข้อมูลแบบนี้อยู่หรือไม่ (น่าจะมีอยู่ที่ ปภ.) แต่… EM-DAT บอกว่าสึนามิมีคนตาย 8,345 คน ตัวเลขทางราชการบอกประมาณสองพันห้าร้อยคน ใช้ตัวเลขไหนดีครับ หรืออย่าง Global Disaster Alert and Coordination System (GDACS) ซึ่งเป็นระบบรายงานภัยพิบัติ ก็ไม่เคยรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในไทย ทั้งนี้เป็นเพราะเราไม่ประสานกับเขา เมื่อ GDACS ไม่รายงาน ก็ไม่มีความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้งที่ ปภ.รายงานว่ามีประชาชนได้รับผลกระทบถึง 6.8 ล้านคน เกินร้อยละ 10 ของประชากรไปแล้ว ถือว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ใหญ่มาก

ถ้าหากข้อมูลไม่ถูกต้อง ก็จะวางแผนบนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรอกนะครับ เหตุการณ์จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดซ้ำซาก เนื่องจากสาเหตุของปัญหา ไม่เคยได้รับการแก้ไข

เราดีได้กว่านี้อีกนะครับ ถ้าเรียนรู้และปรับปรุงกันอย่างจริงจัง

ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต

« « Prev : ครบหนึ่งเดือนอุทกภัยครั้งใหญ่

Next : คนละไม้คนละมือ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 November 2010 เวลา 16:13

    มีหน้าที่เตือนก็เตือนไป
    เชื่อไม่เชื่ออีกเรื่องหนึ่ง
    คนละหน้าที่
    แต่ท่วมมา เปลี่ยนบททันที นี่แหละไทยแลนด์

  • #2 Panda ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 November 2010 เวลา 20:26

    มายกมือสนับสนุนครับ
    “…บางหน่วยงาน ข้อมูลซึ่งจัดเตรียมมาด้วยเงินงบประมาณ กลับเอามาขายได้ — ระบบราชการระมัดระวังเรื่องนี้นะครับ ถ้าไม่มีอำนาจทำก็ไม่ทำหรอก… แต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับชีวิตและความปลอดภัยของประชาชน แล้วจัดเตรียมมาด้วยงบประมาณแผ่นดิน ผมคิดว่าถึงมีอำนาจขาย ก็ไม่น่าขายหรอกนะครับ ควรจะเปิดข้อมูลเหล่านี้ออกสู่สาธารณะด้วยซ้ำไป…”

    เมื่อไหร่จะเลิกเป็นห มา หวงก้าง และหาประโยชน์กันเสียที


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.46097207069397 sec
Sidebar: 0.80367803573608 sec