ครบหนึ่งเดือนอุทกภัยครั้งใหญ่

อ่าน: 4018

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่าอุทกภัยครั้งใหญ่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2553 ที่จริงแล้ว อุทกภัยเกิดขึ้นในภาคเหนือก่อนหน้านั้นเป็นเวลากว่าเดือนหนึ่งมาแล้ว เป็นความเดือดร้อนจริงของชาวบ้านในพื้นที่ แต่ยังไม่ได้ขยายวงกว้างไปจนทั่วประเทศอย่างที่เป็นอยู่

ภาวะอุทกภัยยังดำเนินอยู่แม้จนปัจจุบัน

ตามรายงานของ ปภ.ที่ออกเมื่อค่ำวานนี้

ปัจจุบันจังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น ๑๘ จังหวัด ๘๗ อำเภอ ๖๗๐ ตำบล ๔,๙๑๙ หมู่บ้าน ๔๗๔,๔๙๗ ครัวเรือน ๑,๔๒๑,๑๔๐ คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย ๖,๓๑๖,๑๕๖ ไร่ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี

ระหว่างวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงปัจจุบัน มีจังหวัดประสบภัยทั้งสิ้น ๓๙ จังหวัด ๔๐๑ อำเภอ ๒,๙๕๒ ตำบล ๒๕,๖๑๘ หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๑,๙๕๔,๘๒๗ ครัวเรือน ๖,๘๔๖,๔๙๐ คน

จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว จำนวน ๒๑ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ ระยอง จันทบุรี ตราด ตาก ชลบุรี ลำพูน เชียงใหม่ สระแก้ว นครนายก กำแพงเพชร พิษณุโลก หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นครปฐม อุทัยธานี บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา และจังหวัดชัยภูมิ

น่าจะเป็นโอกาสที่จะหยุดอินกับสถานการณ์สักพัก เอาตัวไปอยู่ในวงโคจร แล้วมองย้อนกลับไปสู่ปัญหาตามที่มองเห็นสักครั้งหนึ่ง

  1. ยังมีพื้นที่ที่น้ำท่วมขัง กระจายเป็นวงกว้าง ประสบการณ์สอนว่าปัญหาน้ำท่วมขังเป็นปัญหาเรื้อรัง จะต้องทำอะไรบางอย่างน้ำจึงจะลด แม่น้ำลำคลอง ยังสามารถรองรับน้ำไปทิ้งทะเลได้ หากแต่พื้นที่ที่น้ำท่วมขัง ไม่มีทางระบายน้ำไปสู่แม่น้ำลำคลอง ทำให้น้ำนิ่ง และเริ่มเน่าเสีย ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น
  2. สวนยางทางภาคใต้ หักโค่นเสียหายหนักจากวาตภัย ฟื้นฟูสวนยางไม่ง่าย ต้นยางต้องใช้เวลาปลูกอย่างต่ำ 7 ปี จึงจะให้ผลผลิตที่ดี ทางอีสานในบางพื้นที่ ปลูกต้นยางเพียง 4 ปี ก็ทนไม่ไหว เริ่มกรีดยางกันแล้ว อย่างนี้จะทำให้ผลผลิตยางต่ำไปตลอดอายุของต้นยาง ทั้งจีนและเวียดนาม ระดมปลูกยางมาไม่ต่ำกว่าสี่ปีแล้ว ถึงเราจะอดทนฟื้นฟูสวนยาง ปริมาณยางในตลาดโลกเมื่อสวนยางใหม่พร้อมให้ผลผลิต จะไม่เป็นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอีก
  3. เนื่องจากสถานการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจึงอ่อนล้า สิ่งของบริจาคเริ่มลดลง
  4. ประเทศไทยมีทั้งสิ้น 8,860 ตำบล ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยถึง 2,952 ตำบล คิดเป็นหนึ่งในสามของจำนวนตำบลทั้งประเทศ ยังคงประสบอุทกภัย 690 ตำบล ส่วนอีก 2,262 ตำบลเข้าสู่การฟื้นฟูแล้ว โดยเหตุที่ความเสียหายกระจายกว้างขวางมาก ผมอยากเรียกร้องให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ใกล้เคียง ภาคธุรกิจคิดเร็วทำเร็ว มีเป้าหมายชัดเจน รู้จักคำว่าคุ้มค่า และยังมีกำลังอยู่บ้าง ให้ร่วมกันเข้าไปให้ความคิดหรือช่องทางกับการฟื้นฟูบ้าง — ช่วยกันดูว่าหากชาวบ้านต้องการ เปลี่ยนอะไรแล้วน่าจะเป็นอย่างไร — อาจอนุญาตให้พนักงานที่มีจิตอาสาจำนวนหนึ่ง ใช้เวลางานลงพื้นที่ด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท แต่ละทริปไม่น่าจะเกินแปดพันบาทต่อคน ลงไปคลุกกับชาวบ้าน เข้าใจชาวบ้านจริงๆ แล้วให้คำปรึกษา(เท่าที่รู้จริง) นี่อาจช่วยฟื้นฟูชีวิตให้ชาวบ้านผู้ประสบภัยยืนหยัดได้อีกครั้งอย่างรวดเร็ว แต่ละบริษัทจะเข้าไปเองหรือรวมตัวกันไปก็ไม่แปลก เรียนรู้และทำความรู้จักกับเมืองไทยกันใหม่ดีไหมครับ

« « Prev : ภาพมุมสูง: วิธีสร้างและวิธีใช้

Next : ไม่เตือนหรือไม่ร่วมมือกัน?! » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ครบหนึ่งเดือนอุทกภัยครั้งใหญ่"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.77146506309509 sec
Sidebar: 0.38096880912781 sec