วงจรน้ำขึ้น-น้ำลง
อ่าน: 3196ประมาณการน้ำขึ้นสูงสุดพรุ่งนี้ หลังจากนั้น น้ำทะเลก็จะหนุนน้อย — น้ำขึ้นสูงในวันขึ้นแรม 15 ค่ำ และน้ำลงต่ำสุดในวันขึ้นแรม 8 ค่ำ — แม้เขื่อนยังไม่พัง ก็อย่างเพิ่งดีใจว่าจะรอด
ในช่วงที่น้ำทะเลหนุนน้อยลง เป็นจังหวะของการระบายน้ำ ซึ่งมีเรื่องที่ยังต้องทำอีกเยอะ ก่อนที่น้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งหนึ่งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน
พื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหลผ่าน ก็จะยังมีน้ำไหลผ่านไปอีกนานครับ ระดับน้ำจะไม่ได้ลดลง น้ำเหนือยังมีปริมาณอีกมากมายที่นังต้องระบายไปลงทะเลครับ
ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่ไปพังคันกั้นน้ำที่คลองประปานั้น ทำให้การผลิตน้ำประปาเป็นปัญหาไปทั่วทั้งกรุงเทพ ฉลาดซะทีดีไหมครับ พังคันกั้นน้ำลงไป ก็ไม่ได้ทำให้น้ำที่ท่วมบ้านท่านอยู่ลดลงไป
ถ้าจะให้น้ำลด ต้องไปกู้คันกั้นน้ำที่แตกไปแล้วขึ้นมาใหม่ แล้วระบายเอาน้ำที่ขังอยู่ออกไปจากพื้นที่ ถ้ามีแรงเหลือ กรุณาใช้แรงอย่างฉลาดด้วยครับ
สำหรับคันกั้นน้ำและแนวกระสอบทรายที่ยังทานแรงน้ำอยู่ อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะคันดินและแนวกระสอบทรายต้านทานน้ำมาเป็นเดือนแล้ว ย่อมเปียก เปื่อย มีน้ำซึม ทำให้สูญเสียความแข็งแรง จังหวะที่น้ำลงนี้ เป็นจังหวะที่ต้องเสริมความแข็งแรงของคันดินและแนวกระสอบทราย ไม่ใช่รอลุ้นว่าเมื่อไหร่มันจะพังครับ
สำหรับบ้านเรือนที่น้ำยังไม่ท่วม การตัดสินใจว่าจะสู้หรือจะอพยพหนี ไม่ได้ขึ้นกับว่าท่านต้องการอย่างไร แต่ขึ้นกับข้อเท็จจริงของภูมิประเทศ ไม่เฉพาะแต่บ้านของท่าน แต่รอบข้างด้วย ถ้าบ้านตั้งอยู่ที่ที่ราบลุ่มต่ำ รอดยากครับ ถ้าบ้านตั้งอยู่ใกล้ทางระบายน้ำ รอดยากเหมือนกัน…
ช่วงเสาร์อาทิตย์นี้ หากไม่มีอะไรทำ ไปช่วยกันเสริมความแข็งแรงตามคันดินและกระสอบทรายตามแนวป้องกันน้ำ ทางด้านเหนือและตามริมฝั่งแม่น้ำกันนะครับ… ถ้าด่านเหล่านี้แตก พื้นที่แห้งในกรุงเทพจะเหลือน้อยมาก เมื่อถนนหนทางรถวิ่งไม่ได้ การขนส่งสินค้าจะหยุดชะงัก แล้วไม่ว่าบ้านของท่านจะแห้งหรือจมน้ำไปแล้ว จะเดือดร้อนเหมือนกันหมด ท่านที่ไม่มีที่ไปจะเดือดร้อนกว่า แต่ถ้าหากถนนยังใช้ได้ (ซึ่งหมายความว่ากำแพงกันน้ำยังยันได้อยู่) ตลาดก็จะยังมีของขาย ท่านที่ยังไม่อพยพก็จะพอดำรงชีวิตอยู่ได้
« « Prev : สัญญาณน้ำ
4 ความคิดเห็น
คนที่ไปพังคันดินไม่ได้อ่าน อิอิ
พวกที่พันคันดิน ด้วยการอ้างเหตุผลว่า “ระบายน้ำที่ท่วมขังออกไป” ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่า “คันดินป้องกันน้ำท่วม” …. จัดว่าเป็นการ “อคติ” คือ “ลำเอียง” ซึ่งมี ๔ ประการกล่าวคือ
๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะพอใจ … อาจพอใจโดยส่วนตัวหรือคำชักชวนก็ตาม
๒.โทสาคติ คำเอียงเพราะโกรธ … อาจโกรธต่อฝ่ายบริหารเจ้าหน้าที่หรือโกรธใครอะไรสักอย่าง
๓. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว … อาจกลัวคนที่มาชักชวนหรือบังคับแกมขู่ให้ช่วยกันพัง
๔. โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง… ครอบจักวาฬ ตลอดถึง ไม่รู้ “ม่เข้าใจ โร้ไม่จริง หรือทำไปเพื่อสนุก
มิใช่เฉพาะพวกพังคันดินเท่านั้น ที่อาจนำอคติ ๔ มาพิเคราะห์ได้…. แต่ปัญหาต่างๆ เฉพาะกรณีน้ำท่วม ทั้งฝ่ายบริหาร อำนวยการ ปฏิบัติการ ผู้ประสบภัย หรือผู้ช่วยเหลือก็ตาม … อาจนำอคติ ๔ เข้าไปจับได้ทั้งนั้น….
โดยอย่างยิ่ง เฉพาะผู้นำ (ทุกระดับ) หลักการบอกให้ทุกสำนักว่าอย่่าถึงอคติ …. แต่ปัญหาเริ่มต้นในการดำเนินงาน เกิดขึ้นก็เพราะท่านผู้นำถึงอคตินะแหละ….
เอวัง ก็มีโดยประการฉะนี้
เจริญพร
ปล่อยจมเสียให้เข็ด จะได้จบๆ
ปีหน้าค่อยมาจมอีก
เดี๋ยวก็ชิน