ความคิด

โดย Logos เมื่อ 5 November 2008 เวลา 13:41 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา, ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 2979

วิถีแห่งปราชญ์ เป็นปฏิปทา จริยาวัตร ของ พระพรหมคุณาภรณ์​ (ป. อ. ปยุตฺโต)

๒๙.
ความคิด

ท่านเจ้าคุณ​ฯ เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความคิดไว้หลายแห่ง ที่สำคัญที่สุดน่าจะได้แก่ “วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ๑๐ ประการ” ในหนังสือ พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ หน้า ๖๗๕-๗๒๗)​ นอกจากนั้นก็มีปรากฏในปาฐกถาต่างๆ อีกหลายแห่ง

ปาฐกถาหนึ่งที่ขออ้างถึงในที่นี้ เป็นปาฐกถาที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ที่ไหนเลย บรรยายที่ศูนย์วัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หัวข้อว่า “วิธีคิดและแก้ปัญหาแบบพุทธวิธี” มีใจความตอนหนึ่งที่อยากจะนำมาเล่าไว้ ณ ที่นี้

“ควรสอนวิธีคิดที่ถูกต้องให้แก่เด็กตั้งแต่อยู่ในวัยแรก อาจจะโดยการใช้วิธีคำถามคำตอบ ซึ่งเป็นวิธีที่แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ทรงใช้มาก และใช้บ่อย

“บางคนอาจจะนึกว่า ขั้นเด็กเล็กนี่ยังไม่จำเป็น ที่แท้แล้ว การฝึกตั้งแต่เด็กเล็กมีความสำคัญมาก

“ขอยกตัวอย่างของการฝึกเด็กที่นำไปสู่วิถีชีวิตและชะตากรรมของสังคมไทยในสังคมไทย คนมีค่านิยมบบริโภคมาก ไม่ค่อยมีค่านิยมผลิต หรือการไฝ่รู้ มองดูให้ลึกแล้วจะเห็นว่า เริ่มมาตั้งแต่การเลี้ยงดูของพ่อแม่ เพราะเด็กกำลังโตจะมีศักยภาพที่จะเป็นไปได้สองทาง คือ ๑. ศักยภาพในการรับรู้แบบชอบ-ชัง และ ๒. ศักยภาพในการรับรู้ไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ อันนี้สุดแล้วแต่เราจะฝึกเด็กไปทางไหน

“อาตมาสังเกตว่า ในสังคมไทยมีการเลี้ยงดูเด็กแบบส่งเสริมปฏิกริยาแบบชอบ-ชัง ซึ่งน่าจะนำไปสู่ค่านิยมบริโภค เช่น เวลานำเด็กไปในสถานที่ต่างๆ เด็กก็จะสนใจใฝ่รู้ว่า สิ่งนั้นคืออะไร สิ่งนี้คืออะไร ตอนนี้ผู้เลี้ยงดูก็จะมีบทบาทในการชี้นำทางความคิด ก็จะบอกว่า อันนี้ดี อันนี้ไม่ดี อันนี้สวย อันนี้ไม่สวย นี่คือการชี้นำทางความคิดที่ไม่ก่อให้เกิดปัญญา เป็นการส่งเสริมความรู้สึกแบบชอบ-ชัง ที่นำไปสู่ค่านิยมบริโภคต่อไป

“แต่ถ้าหากเลี้ยงดูเป็น พ่อแม่ก็จะบอกเด็กว่าสิ่งนี้คืออะไร ปกติใช้ทำอะไร นอกจากนั้นแล้วยังใช้ทำอะไรได้อีก ถ้าจะทำสิ่งนี้ต้องใช้วัสดุอะไร จะทำได้อย่างไร ถ้ารู้ลึกไปกว่านั้น ก็อาจจะบอกถึงข้อบกพร่อง หรือข้อเสียว่ามีอะไร ถ้าสอนแบบนี้ปัญญาเกิด ฉะนั้น บางทีเราก็ไม่รู้ว่า ได้ให้การศึกษา หรือทำให้เสียการศึกษากันแน่

“การให้การศึกษาแก่เด็ก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำตั้งแต่เล็กๆ มีระดับที่ทำได้ และต้องทำให้ถูกต้อง หากเด็กได้รับการสอนที่ถูกต้อง เมื่อไปสู่โรงเรียน ครูก็จะอบรมง่ายขึ้น เพราะมีรากฐานของการคิดแบบโยนิโสมนสิการ (คิดโดยแยบคาย) มาแต่เดิมแล้ว”.

บันทึกเก่า: ธรรมดานี่แหละยากที่สุด

« « Prev : ชั่งหัวมัน

Next : น้ำมันปาล์ม » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 หมอเจ๊ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 November 2008 เวลา 18:38

    ชัดเจน ชัดเจน สาธุพระคุณเจ้า
    อนุโมทนาคนที่ไปรวบรวมมาให้อ่านค่ะ

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 November 2008 เวลา 2:21

    อะไรๆก็แล้วแต่ ที่ได้อ่านหลากเรื่องที่ดีๆ นี่แหละที่พวกเราต้องการ จึงดีใจที่ดูเหมือนจะได้อ่านบันทึกมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ชอบทุกเรื่อง คล้ายกับหนังสือเล่มหนึ่งที่เขาตั้งชื่อว่า “เสียดายที่ตายก่อนไม่ได้อ่าน” อิอิ

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 November 2008 เวลา 15:28

    รับธรรมประจำวันเหมือนเมือก่อนตอนทำงานที่เชียบใหม่ หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงท่านจะเทศน์ทางวิทยุทุกเช้ามืด  ฟังทุกวัน มันเป็นการเปิดวันที่มีสติและได้คิด  อ่านบล๊อกธรรมประจำวันก็ดีเหมือนกัน ธรรม ฟังเมื่อไหร่ อ่านเมื่อไหร่ก็ดีทั้งนั้น ไม่บูด ไม่เน่า มีแต่เจริญสติ แม้จะไม่มีสตังค์ก็ไม่ได้ซื้อหามา มันได้กับได้นะ ขอบคุณผู้ที่เผยแพร่ธรรม…


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.094202995300293 sec
Sidebar: 0.18249607086182 sec