เข้าใจน้ำท่วม

อ่าน: 5959

เวลาน้ำท่วม อย่าไปโทษฝนโทษฟ้าเลยครับ หันมองกลับลงมาที่พื้นดินดีกว่า เราไม่เข้าใจพื้นดินเพียงพอทั้งที่ยืนอยู่กับพื้นทุกวัน

มีการทดลองง่ายๆ ที่คณะธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐเทกซัส เรื่องลักษณะของดินกับน้ำฝนครับ

มีถังพลาสติกสี่ถัง ซึ่งบรรจุสภาพพื้นดินไว้สี่อย่าง: แผ่นคอนกรีตปูบนดิน ดินอัดแน่น ดินมีวัชพืชปกคลุม ดินที่ปลูกพืช(มีรากเจาะลงลึก); ตัวถังพลาสติก เจาะรูไว้สองแบบ รูด้านบนเอาไว้เก็บน้ำที่ไหลไปบนพื้นผิว (เรียกว่า runoff water) ส่วนรูด้านล่าง เอาไว้เก็บน้ำที่ซึมลงในพื้นผิว

เมื่อเทน้ำปริมาณเท่าๆ กันลงด้านบนของแต่ละถัง น้ำที่ไหลอยู่บนผิวพื้น (runoff/น้ำหลาก/น้ำท่วม) จะไหลผ่านท่อบน หลังจากเก็บน้ำมาหมดแล้ว ค่อยเติมสีผสมอาหารสีเขียวลงไปเพื่อความชัดเจน แต่น้ำที่เก็บมาจากท่อล่างซึ่งต้องซึมผ่านดินมาก่อน เติมสีน้ำเงินลงไป

  1. รูปซ้ายสุด (คอนกรีต) ฝนตกลงมา ก็ไหลไปบนผิวของคอนกรีต ไม่สามารถซึมลงดินได้เลย แล้วมาบ่นทำไมว่าเมืองน้ำท่วม! อันนี้เหมือนเหตุบ่อน้ำโบราณแห้งที่วัดร้องเม็ง ซึ่งบริเวณวัดเปลี่ยนเป็นถนน+ลานคอนกรีตไปหมด ทำให้ฝนไม่สามารถเติมระดับน้ำใต้ดินได้
  2. รูปถัดมา (ดินอัดแน่น) มีผลคล้ายกับคอนกรีต! เพราะว่าบนผิวของดินอัดแน่น น้ำจะใช้เวลานานกว่าจะซึมลงไปในดินได้ ทำให้ไหลไปตามแรงดึงดูดก่อน ทำให้ท่วมแหลก — บางทีเกิดดินดานเพราะการปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ดิน หรือเกิดไม่ก็บดทับจากการไถแหลกซ้ำซาก ทำให้ดินถูกบดอัดและถูกแดดเผาทำให้แห้งแข็ง [ดินดาน ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม]
  3. ถังที่สามเป็นดินที่มีวัชพืชขึ้นอยู่  เมื่อฝนเทลงมา ตัวต้นวัชพืชเอง ชะลอให้น้ำไหลได้ช้าลง น้ำจึงซึมลงไปในดินได้มากขึ้น แต่พอซึมลงไปได้สักพัก ก็ซึมต่อไปไม่ได้ ทั้งนี้เพราะรากของวัชพืชเป็นระบบรากฝอย กระจายอยู่แถวผิวดินเท่านั้น เมื่อน้ำซึมลงไป ผิวดินอุ้มน้ำจนเต็มแล้ว ก็จะไม่สามารถรับน้ำได้อีก จึงเห็นเป็นน้ำสีน้ำเงิน(ผ่านดิน)กับสีเขียว(ไหลบนผิวดิน)อย่างละเท่าๆ กัน
  4. ถังที่อยู่ขวาสุด เป็นถังที่มีพืชที่มีระบบรากแก้ว ทำให้รากเจาะลงได้ลึกกว่า เมื่อรากเจาะลงลึก ทำให้น้ำที่ลำต้นชะลอการไหลไว้ สามารถซึมลงไปใต้ดินได้ลึกกว่า และดินดูดซับน้ำไปได้มาก [หญ้าแฝก]

ดังนั้น หากพื้นที่เป็นเนิน เซาะร่องขวางทางน้ำไหลเอาไว้ แล้วเอาท่อน้ำเหล็กขนาดสักหนึ่งนิ้ว (หรือใกล้เคียง ตามแต่จะมี) ทำให้ปลายแหลม ตอกลงไปในดินสักเมตรหนึ่ง (หรือเท่าที่ตอกไหว) จากนั้นก็ถอนเหล็กออกมา ขยับไปสองก้าวตอกอีก ไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นการส่งน้ำลงไปในดิน ทำให้ดินชุ่มชื้นครับ

รูที่ตอกเจาะเอาไว้นี้ ไม่กลัวว่าดิน-โคลนจะลงไปอุด เพราะว่าความหนาแน่นต่างกัน น้ำจะลงไปได้เอง การตอกท่อเหล็กลงไปเมตรหนึ่ง ช่วยให้ bypass ดินอุ้มน้ำที่พื้นผิว ให้น้ำไหลลงลึกขึ้นได้ (เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีอะไรทำ)

« « Prev : คืนแม่

Next : ไม่เหยียบหมา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 aram ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 August 2010 เวลา 21:50

    สนามฟุตบอลที่โรงเรียน หญ้าไม่ค่อยขึ้นครับ ฝนตกน้ำก็ไหลลงร่องหมดครับดินคงจะไม่ดูดซึมน้ำหรือแน่นเกินไป จะลองใช้เหล็กตอกลงดินดูครับ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 August 2010 เวลา 22:40
    กรณีที่น้ำท่วมขังนาน การรีบเอาน้ำออกไปจากพื้นที่ น่าจะดีที่สุดนะครับ แต่ถ้าพื้นที่เคยน้ำท่วมมานานแล้ว ผิวดินจะอุ้มน้ำจนเต็ม จนน้ำซึมลงไปอีกไม่ได้ เลยเกิดเป็นน้ำขัง ถ้าจะตอก ก็ต้องตอกให้เลยชั้นของดินอุ้มน้ำ ซึ่งไม่รู้ว่าลึกเท่าไหร่เหมือนกัน ถ้าผิวดินเป็นดินดาน คงไม่ต้องตอกลึกมากนัก
  • #3 freemind ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 August 2010 เวลา 12:20

    อ่านบันทึกนี้และบันทึกก่อนเรื่องการบริหารจัดการดินและน้ำ.. ก็ไม่ยากนัก
    เก็บความรู้ไว้ก่อนนำไปเผยแพร่ต่อให้พี่สาวและหลาน ๆ ซึ่งอยู่บ้านที่มีที่ดินเยอะ ๆ แต่ไม่เคยบริหารเรื่องน้ำเลย
    ขอยคุณค่ะ

  • #4 นักการหนิง ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 August 2010 เวลา 18:00

    ควรเข้าใจดินด้วยค่ะ … แถบเมืองเหนือโดยเฉพาะที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายหลายๆปีหลังมานี้ ภูเขาเริ่มหัวโล้นมากขึ้น ต้นไม้ใหญ่หายไปหมด น้ำฝนตกมาก็ไม่มีอะไรดูดซับ ปีนี้น้ำท่วมอำเภอแม่จันมากเป็นประวัติการณ์ เรียกว่าตั้งแต่หนิงเกิดมาก็ 48 ปีนี้ก็ไม่เคยเจอน้ำท่วมมากขนาดนี้

    ธรรมชาติลงโทษของแท้ค่ะ

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 August 2010 เวลา 19:30
    เขาหัวโล้น น้ำไหลผ่านได้อย่างรวดเร็วเพราะไม่มีอะไรต้านไว้ ภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำกว้างใหญ่ แต่ส่งน้ำทั้งหมดลงไปรวมกันตามร่องน้ำ ข้างล่างก็ท่วมแน่ครับ — เหมือนถังที่มีคอนกรีตหรือดินอัดแน่นในรูปข้างบน

    เขาหัวโล้น ไม่ใช่ว่าจะโกร๋นหมด มันมีวัชพืชขึ้นอยู่ แม้วัชพืชจะชะลอน้ำไว้ได้ แต่รากไม่ลงลึก ต้านน้ำไว้ได้สักพัก พอผิวดินอิ่มน้ำ ก็ไม่สามารถดูดน้ำไว้ได้อีก แม้จะชะลอไว้ได้บ้าง ในที่สุดก็จะไหลลงไปท่วมข้างล่างเช่นกัน

    ดังนั้นพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกพืชที่มีรากแก้ว รากที่ไชดินจนร่วนซุยครับ (ไอ้ที่โค่นไปหมดแล้วนั่นแหละ) ถ้าหากว่าโตช้าไม่ทันใจ ใช้หญ้าแฝกก็ได้

  • #6 ลานซักล้าง » ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2) ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 14:31

    [...] น้ำจะผ่านลงไปได้ยาก ควรช่วยเหลือโดยการนำน้ำลงไปยังชั้


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.18357992172241 sec
Sidebar: 0.15381908416748 sec