ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2)

อ่าน: 4372

เขียนต่อจากบันทึกที่แล้วครับ บันทึกนี้เป็นเรื่องของการชะลอน้ำหลาก/น้ำป่า/runoff ลองดูภาพเงินเขาที่ถูกถางจนเรียบนะครับ

บนเนินเขา เราจะเห็นพื้นที่สองแบบ คือบริเวณที่มีต้นไม้ และบริเวณที่ถูกถางจนเรียบ ทั้งสองพื้นที่อยู่บนเนินเดียวกัน มีความลาดเอียงพอๆ กัน

เมื่อฝนตกลงมาในบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้จะชะลอน้ำเอาไว้ได้บ้าง แต่ฝนปริมาณเดียวกัน ก็ตกลงในบริเวณที่ถางเอาไว้ด้วย การที่ไม่มีต้นไม้มาชะลอน้ำเอาไว้ ทำให้น้ำไหลบนผิวดินได้อย่างรวดเร็ว

ถ้าเจ้าของที่ ถางต้นไม้จนโกร๋น เอาไว้วิ่งเล่นหรือถลาลมอย่างในภาพยนต์อินเดีย หรือว่าเอาไว้เตะฟุตบอล ก็โอเคนะครับ

พื้นที่ในลักษณะนี้ แม้ว่าจะปลูกข้าวโพด ปลูกพืชไร่อะไรก็ตาม ท่านยังทำร่องน้ำไว้ชะลอน้ำได้ครับ โดยร่องน้ำนั้น พยายามเซาะให้ได้ระดับครับ ไม่ต้องลึก ร่องน้ำไม่ใช่หลุมดักสัตว์อะไร เมื่อไม่ลึก ไม่กว้าง ก็ไม่เสียทัศนียภาพ วัชพืชขึ้นก็ช่าง แล้วหากปลูกพืชไร่ ร่องไม่ทำให้เสียพื้นที่ด้วย เพราะวัตถุประสงค์คือแค่ชะลอน้ำเท่านั้นครับ รับผิดชอบช่วยเหลือคนทางปลายน้ำด้วย

เอาละ สมมุติเราใช้จอบขุด ใบจอบกว้าง 6 นิ้ว (15 ซม.) ขุดร่องลึก 5 นิ้ว (13 ซม.) ถ้าร่องเหล่านี้อยู่ห่างกัน 2 เมตร (200 ซม.) ร่องจะเก็บน้ำฝนได้ ถ้าฝนตกไม่เกิน 10 มม. ซึ่งเป็น น้ำจะไม่เต็มร่องหรอกครับ เมื่อน้ำไม่เต็มร่อง ก็ไม่เกิดน้ำหลาก ดินจะมีเวลาดูดซึมน้ำลงไปได้  น้ำที่ขังอยู่ในร่อง ให้ความชุ่มชื้นกับดินด้วย จึงไม่ต้องรดน้ำต้นไม้ — ตัวเลขทั้งหมดปรับได้ตามความเหมาะสม เช่น ขยายระยะระหว่างร่องจาก 2 เมตรไปเป็น 5 เมตร ร่องก็จะรับน้ำฝนที่ตกไม่เกิน 4 มม. เรียกว่าถ้าไม่ตกหนัก/ตกนาน ก็จะไม่มีน้ำหลากครับ

เมื่อคืนคุยกับ ดร.เม้ง ซึ่งรัน simulation ดูการไหลของน้ำแล้ว เม้งบอกมาว่า ผมว่า ท่าทางจะแห้งยากครับ ผมก็รู้สึกอย่างนั้นล่ะครับ แต่พอฟังเม้งแล้วหนาวขึ้นอีก ดังนั้นเพื่อจะไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีก ก็จะต้องชะลอน้ำฝนที่ตกในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และทับลาน ร่องชะลอน้ำฝน (ซึ่งเขียนมาหลายบันทึกแล้ว) เป็นทางหนึ่งครับ

อีกทางหนึ่งคือพยายามส่งน้ำท่วมขังลงใต้ดิน เพราะว่าน้ำระบายออกจากพื้นที่ตามธรรมชาติได้ช้ามาก เนื่องจากแม่น้ำมูลเล็กและคดเคี้ยว ตื้นเขิน แถมยังไปรวมกับแม่น้ำชีที่ อ.วารินทร์ชำราบ อุบลราชธานีอีกด้วย

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าดินดูดซับน้ำ(ดินอุ้มน้ำ)ได้อย่างไร

ในดินนั้น เนื้อดินไม่ได้ติดเป็นเนื่อเดียวกัน ที่จริงมีช่องว่างเล็กๆ อยู่ระหว่าง(ก้อน)เนื้อดิน ถ้าเป็นดินแห้ง ช่องว่างนี้มีอากาศ แต่ถ้าเป็นดินชื้น/ดินเปียก ช่องว่างนี้ก็มีน้ำ

รากของต้นไม้ แทรกตัวไปตามช่องว่างในดิน น้ำใต้ดิน ก็ซึมขึ้นมาตามช่องว่างอันนี้ เรียกว่า capillary water [ปลูกต้นไม้โดยอาศัยความรู้ที่ศึกษาจากธรรมชาติ] ในทำนองกลับกัน เมื่อมีต้นไม้ซึ่งรากแทงลงดิน น้ำก็ไหลแทรกไปตามผิวราก เป็นการน้ำน้าจากผิวดินลงสู่ใต้ดินได้ส่วนหนึ่ง ลำต้นต้านการไหลของน้ำเอาไว้

อัตราที่น้ำซึมลงดินนั้น ขึ้นกับว่าดินเป็นอย่างไร เช่นทรายจะให้น้ำไหลผ่านได้ดีกว่าดินเหนียวมาก

ถ้าหากเราเทน้ำปริมาณเท่ากันลงบนทรายและดินเหนียว ดังรูปข้างล่าง

เมื่อเวลาผ่านไป ทรายปล่อยน้ำผ่านไปหมด แต่ดินเหนียวยังดูดซับน้ำไม่หมด ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อดินแน่นกว่า ช่องว่างระหว่างเนื้อดินมีน้อย น้ำจึงซึมได้ช้ากว่า

แม้เป็นดินชนิดเดียวกัน แต่ถ้าอันหนึ่งแห้ง อีกอันเปียกชื้นกว่า อันที่แห้งก็ดูดซับน้ำได้ดีกว่าดินที่เปียกชื้น ทั้งนี้เพราะช่องว่างของดินแห้งมีแต่อากาศ น้ำจึงลงไปแทนที่ได้ ต่างกับดินเปียกชื้นซึ่งมีน้ำอยู่แล้วเป็นบางส่วน

เอาล่ะครับ ทีนี้ดินที่ถูกน้ำท่วมเป็นเวลานานนี่ เป็นดินเปียกแน่นอน ถ้าน้ำไหลออกจากพื้นที่ไปได้ช้า ต่อให้ไม่มีน้ำไหลเข้ามาใหม่ ระดับน้ำก็ลดลงได้ช้าด้วยเหตุผลนี้แหละครับ ถึงได้เกิดความคิดประหลาดว่าควรจะเจาะรูลงไปในดิน เพราะว่าดินชั้นบนอุ้มน้ำจนเต็มแล้ว น้ำจะผ่านลงไปได้ยาก ควรช่วยเหลือโดยการนำน้ำลงไปยังชั้นดินที่ยังไม่เปียกมากนัก ตอกเหล็กลงไปในดินสักเมตรหรือเมตรครึ่ง(มั๊ง) แล้วถอนเหล็กออก น้ำจะลงไปตามรูเอง แล้วดินที่ยังแห้งกว่าผิวดินที่อุ้มน้ำจนอิ่มตัวแล้ว ก็จะดูดน้ำต่อไปได้

วิธีนี้ยังเป็นการเติมน้ำใต้ดินอีกด้วยครับ เป็นการสำรองน้ำจืดไว้ใต้ดินในรูปของน้ำบาดาลอีกต่างหาก

เรื่องนี้ ไม่ควรทำในพื้นที่ที่มีความลาดเอียงสูง (เสี่ยงต่อดินถล่ม) สำหรับแผ่นดินอีสานซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเคยเป็นทะเลมาก่อน และใต้ดินมีชั้นเกลืออยู่ หากที่ดินแถวนั้นมีขี้เกลือขึ้นมา ไม่ควรใช้วิธีนี้ครับ เพราะเกลืออยู่ตื้น

ถ้าถามว่าอยู่ดีๆ ควรทำเที่ยวเดินไปเจาะรูดินทุก 5 เมตรไหม ก็ต้องตอบว่าไม่หรอกครับ — ถ้ามีอะไรที่ดีกว่าการนั่งรอความช่วยเหลือ+รอน้ำลดแล้ว ทำไปเลยตามสบายครับ แต่ถ้าไม่มีอะไรทำละก็ เดินตอกรูดินก็ไม่เลวนะครับ — ผมคิดถึงความลึกประมาณเมตรเดียวเท่านั้น จะได้ตอกไม่ยาก และถอนไม่ยาก

« « Prev : ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (1)

Next : ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (3) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 ลานซักล้าง » ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (3) ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 19:46

    [...] ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 พูดถึงแนวทางในการฟื้นฟูครับ [...]

  • #2 krupu ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 October 2010 เวลา 16:27

    อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้คิดว่า ในกระบวนการยื่นเรื่องขอครอบครองที่ดิน น่าจะมีการกำหนดหน้าที่ ไปพร้อมกับสิทธิที่กำลังจะได้รับไปด้วยนะคะ เป็นการรับผิดชอบต่อสังคมที่คุณกำลังจะไปร่วมอยู่ ร่วมกินร่วมใช้ ร่วมหาประโยชน์ หน่วยงานรัฐควรมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ออกแบบสร้างทางเลือกให้ปฏิบัติ/ปรับปรุงสภาพให้พร้อมรองรับหรือเอื้อต่อการชะลอปัญหา ควบคู่ไปกับการตรวจสอบหรือควบคุมการก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็ควรอยู่ในบริบทที่ไม่สร้างผลกระทบเรื่องค่าใช้จ่ายหรือความยุ่งยากให้เจ้าของที่ดินมากนัก
    ว้า เรื่องนี้ท่าจะยาว :(

    อันนี้ไม่มีความรู้เลยค่ะ แต่วิธีการที่ป๋าเสนอมาไม่เห็นทำยากซักกะอัน เห็นว่าถ้าไม่ทำเป็นข้อกำหนด รอให้เห็นความจำเป็น เลิกคิดแยกส่วนอย่างที่ผ่านมา จนถึงขั้นลุกขึ้นมาทำเองนั้น ปริมาณและเวลาอาจไม่ทันการณ์

    อย่าให้ถึงกับต้องมีใครทำป้ายใหญ่ ๆ มาติดไว้ข้างที่ดินตัวเองเลยว่า

    “รับผิดชอบช่วยเหลือคนทางปลายน้ำด้วย”

    เนอะ…

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 October 2010 เวลา 17:01
    ถ้าไม่ก่อเหตุ ก็ไม่ต้องแก้ไขหรอกครับ แต่ว่าเหตุเกิดแล้ว จะย้อนกลับไปเอาใหม่เหมือนเล่นวิดีโอเกมส์ ก็ดูจะเป็นความคิดที่แปลกไปหน่อย

    ผมเสนอเพียงความคิด วิธีการ พยายามจะเสนอสิ่งที่ทำง่ายๆ ชาวบ้านทำได้เองยิ่งดี จะได้ช่วยกันทำได้ จะเอาไปปรับก็ไม่ว่า ร่องที่เสนอนี้ ทั้งบรรเทาน้ำท่วมทางปลายน้ำ เก็บกักความชื้นไว้ในดิน ฟื้นฟูป่า

    คนจะทำก็ทำครับ คนไม่ทำก็ไม่ทำอยู่ดีนั่นแหละครับ ความคิดนี้จะทำหรือไม่ทำก็แล้วแต่ แต่ควรรับผิดชอบต่อคนอื่นบ้าง

  • #4 ลานซักล้าง » ไขความมหัศจรรย์ของต้นไม้กับน้ำและภาวะโลกร้อน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 December 2010 เวลา 1:16

    [...] เคยเสนอไว้แล้วหลายครั้งครับ [ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2)] [ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?!] [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.88214182853699 sec
Sidebar: 0.58203911781311 sec