ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (1)

อ่าน: 5663

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นอู่ข้าวสำคัญของไทย ตามการกำหนดขอบเขตของกรมพัฒนาที่ดิน ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่ 2,107,690 ไร่ใน 5 จังหวัด 10 อำเภอ 79 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน เป็นนาปลูกข้าวหอมมะลิอันเลื่องชื่อ 1,266,103 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 4 แสนกว่าตัน เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 47,0961 ไร่ มีวัวควายอยู่ราว 270,000 ตัว มียูคาลิปตัสราว 60 ล้านต้น ให้ผลผลิตไม้ปีละราว 2 ล้านตัน มีแหล่งโบราณคดี 408 แห่ง มีคนอยู่อาศัยราว 620,000 คน — ข้อมูลจากวารสารสารคดี ฉบับเมษายน 2552

อีสานใต้ที่ท่วมหนักอยู่ในตอนนี้ เป็นขอบอ่างโคราช ซึ่งเป็นที่สูง น้ำไหลลงที่ต่ำไม่ได้เนื่องจากทางน้ำถูกขวางอยู่ อบต.ก็ชอบสร้าง+ซ่อมเหลือเกิน แต่โดยเฉลี่ยมีงบจัดการน้ำเพียง 2.15%

แผนที่ทางขวานี้ ต้องขอขอบคุณผู้จัดทำนะครับ ผมมองว่าให้ภาพหยาบๆ ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ไหน (ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี) ทั้งนี้ตามรายงานข่าวในโทรทัศน์ซึ่งก็พูดกว้างๆ อยากเห็นสถานีโทรทัศน์ ใช้แผนที่สถานการณ์ให้มากกว่านี้ครับ

อย่างไรก็ตาม ทางส่วนของราชการ ผมยังไม่เห็นแผนที่สถานการณ์ตัวจริงเลยครับ ภาพถ่ายดาวเทียมก็ได้ หากทางราชการมีแผนที่ว่า ณ.เวลาหนึ่ง เกิดน้ำท่วมขึ้นที่ไหนบ้าง ระดับน้ำสูงเท่าไร จะได้เตรียมแผนช่วยเหลือได้เหมาะสม ตลอดจนเป็นการแจ้งให้ผู้ที่อยู่ปลายน้ำ ได้เข้าใจสถานการณ์ตามที่เกิดขึ้น

เป็นเรื่องฝืนธรรมชาติที่น้ำท่วมอยู่ในที่สูง ในที่สุดน้ำก็จะไหลลงไปตามร่องน้ำธรรมชาติครับ ซึ่งสำหรับอีสานใต้คือแม้น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดไม่ใหญ่ มีอัตราไหลต่ำ และคดเคี้ยวไปมา ดังนั้นจำหวังให้น้ำปริมาณมหาศาลลดลงอย่างรวดเร็วนั้น คงจะยากเหมือนกัน

นอกจากนั้น เรื่องการระบายน้ำ ก็เป็นผลประโยชน์ขัดแย้ง หากนาข้าวเก็บเกี่ยวได้ พื้นที่นาก็จะใช้เป็นพื้นที่แก้มลิงได้

เมื่อตอนบ่าย ครูบาโทรมาคุยเรื่องน้ำท่วมครับ ท่านเป็นห่วงมาก ช่วงนี้เป็นฤดูการเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวมาแล้ว จะไปตากที่ไหน น้ำท่วมสุดลูกหูลูกตา แดดก็ไม่มี ฝนตกทุกวัน

จะฝืนธรรมชาติห้ามไม่ให้น้ำหลากมาคงไม่ได้หรอกครับ ยังไงน้ำก็จะไหลมา ดังนั้น

  1. นาที่อยู่ใกล้แม่น้ำมูล คลองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำมูล ให้เตรียมตัวได้แล้ว จะรอไปถึงไหนครับ เจอภัยธรรมชาติครั้งหนึ่ง ก็หมดตัวกันครั้งหนึ่ง แล้วก็เป็นหนี้สินเพิ่มพูนขึ้นไปอีก
  2. น้ำจะมาเป็นระลอกครับ ใครๆ ก็รู้ว่าน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ เมื่อฝนตกหนัก ต้นไม้ วัชพืช สภาพภูมิประเทศ ฯลฯ จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำเอาไว้ได้ส่วนหนึ่ง ส่วนที่ชะลอไว้ไม่ได้ ก็จะไหลไปรวมกันตามร่องน้ำ ลำคลอง กลายเป็นน้ำปริมาณมหาศาล ซึ่งอันนี้เรียกน้ำป่าครับ ส่วนน้ำที่มีความเร็วลดลง ถูกดูดซึมไว้โดยดินไว้ได้โดยไหลลงไปใต้ดินตามรอยแตก หรือตามรากพืช อันนี้จะกลายเป็นน้ำใต้ดิน แต่เนื่องจากพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น มีระดับความสูงต่างกันถึง 200 เมตร ดังนั้นแม้น้ำจะถูกดินดูดซับไว้ ก็ยังมีโอกาสเกิดเป็นน้ำผุดไหลกลับขึ้นมาบนดินอีกครั้งหนึ่ง อันนี้เป็นลักษณะทั่วไปของต้นน้ำลำธาร ซึ่งเกิดจากภูเขาทะยอยปล่อยน้ำออกมาเป็นน้ำผุด แม้เขาใหญ่ฝนจะหยุดตก แต่ก็จะยังมีน้ำอีกส่วนหนึ่งที่ทะยอยไหลตามมาทีหลัง!
  3. หากจะเร่งระบายน้ำลงไปตามร่องน้ำ ก็จะเป็นการย้ายปัญหาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งครับ — ฟังดูโหดร้ายจัง — ผมไม่ได้หมายความว่าผมอยากให้ปล่อยให้ขังอยู่ในบริเวณที่ท่วมอยู่หรอกนะครับ; ให้ไหลผ่านไป ที่อื่นก็เดือนร้อน (แต่การระบายน้ำนั้น ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติ) จะให้ระเหยก็ไม่มีแดด แถมยังมีฝนประปราย ดังนั้นยังมีอีกวิธีหนึ่งคือส่งน้ำลงไปใต้ดินครับ อาจจะฟังดูบ้าไปหน่อย แต่น่าจะดีกว่าไม่ทำอะไรนะครับ เรื่องนี้เอาไว้เขียนอีกบันทึกดีกว่า

« « Prev : เข้าถึงผู้ประสบอุทกภัย

Next : ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

10 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 0:56

    รออ่านตอน 2

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 1:18
    สงสัยจะมีหลายตอนครับ
  • #3 chakunglaoboy ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 10:48

    หน่วยงานราชการตามทางของแม่น้ำมูล หรือใกล้เคียง ไม่แน่ใจว่าทำอะไรกันบ้างหรือเปล่านะครับ นึกถึงภาพอุบลฯ นะครับ ปกติก็ท่วมทุกปี แต่ปีนี้น่าจะหนักนะครับ

  • #4 ลานซักล้าง » ฦๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2) ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 12:16

    [...] เขียนต่อจากบันทึกที่แล้วครับ บันทึกนี้เป็นเรื่องของการชะลอน้ำหลาก/น้ำป่า/runoff ลองดูภาพเงินเขาที่ถูกถางจนเรียบนะครับ [...]

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 13:19
    คิดเหมือนเดิม ทำเหมือนเดิม ผลก็เหมือนเดิมครับ — ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงผลสำหรับครั้งหน้า ก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำนะครับ

    ผลที่เกิดแล้ว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ผลต่อเนื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้น ยังเตรียมรับได้ ถ้ารู้จักเตรียมตัวครับ

  • #6 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 13:24

    คิดเรื่องนี้อยู่เหมือนกันค่ะ เรื่องเอาน้ำไปเก็บไว้ใต้ดิน
    จิตนาการถึงการลำเลียงทางท่อ ไปออกแม่น้ำ หรือ แหล่งพักน้ำ
    แต่ก็มองว่างานช้างเช่นกัน แต่ถนนเรายังทำได้ ถ้าจะทำ เราก็คงทำได้
    แผนระยะยาวน่าจะมี

    อีกวิธีที่คิด คือ เก็บเหนือดิน มีการแบ่งบริเวณให้ท่วม กับไม่ให้ท่วม
    มีวิธีเปลี่ยนทางเดินของน้ำ หรือ กั้นน้ำ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
    เรื่องความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทำได้บางส่วนก็ยังดี
    ทำได้ทั้งหมดเลย ยิ่งดี เช่น ในบริเวณเช่นหมู่บ้าน
    ที่เก็บน้ำ ทำให้ภายในหมู่บ้านไม่ท่วม
    ทำอย่างไร จะทำขนาดใหญ่เท่าใด
    ต่อเชื่อมไปยังตัวอื่นๆอย่างไร จะรองรับได้ปริมาณเท่าใด
    พอเพียง รับไหวไหม ถ้าทำได้แล้ว ที่คิดต่อคือ
    หาทางเอาน้ำมากมายมาใช้สร้างพลังงาน
    จะสร้างพลังงานกล หรือ พลังงานไฟฟ้าก็ได้
    แล้วเอาพลังงานนั้นมาช่วยลดวิกฤต
    ฝันๆ ..

  • #7 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 14:10
    เอาน้ำเก็บไว้เหนือดินรอเวลาระบาย เรียกว่าแก้มลิงไงครับ ปัญหาคือไม่มีพื้นที่แก้มลิงเนื่องจากว่าที่นายังไม่ว่าง [น้ำมาก ก็เป็นปัญหาอีก]

    พื้นที่อทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 2,100 ตารางกิโลเมตร รูปร่างเป็นสามเหลี่ยม มีเทือกเขาทางด้านเหนือเริ่มตั้งแต่เขายายเที่ยง ทางใต้เป็นเทือกเขาใหญ่ ส่วนที่เปิดอยู่คือ อ.ปากช่องและถนนมิตรภาพครับ มีที่ราบอยู่ตรงกลางสามเหลี่ยม ถ้าฝนตก 600 มม.ตามข่าว คิดเป็นปริมาณน้ำ 1,260 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำตะคอง (น้ำไหลผ่าน อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.เมือง ไป อ.เฉลิมพระเกียรติ) มีความจุ 314 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้นนะครับ จากลำตะคอง น้ำไหลผ่าน สีคิ้ว สูงเนิน ไป อ.เมือง — เขื่อนลำพระเพลิง (น้ำไหลไปทางปักธงชัย) มีความจุ 110 ล้านลูกบาศก์เมตร

    ที่ อ.ครบุรี มีอ่างลำมูลบน อ.ครบุรี ความจุ 141 ล้าน ลบม. และ อ่างลำแชะ ความจุ 275 ล้าน ลบ.ม. ทั้งสองอ่างรับน้ำจากอุทยานแห่งชาติทับลาน ส่งน้ำขึ้นเหนือผ่าน อ.โชคชัย อ.เฉลิมพระเกียรติ แต่คลองที่ไปโชคชัย มีน้ำจากปักธงชัยมารวมกันด้วย

    น้ำสองสายข้างบน ไปรวมกันที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ

    http://maps.google.com/?ie=UTF8&hq=&hnear=Bangkok,+Thailand&ll=14.648697,101.689453&spn=0.748024,1.134338&z=10

  • #8 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 15:45

    ประเด็นเล็กๆ…ของผม
    เคยทะเลาะกับกรมชลประทานเรื่องการสร้างขื่อนกั้น “แม่น้ำน้อย” ที่อยุธยา ซึ่งเส้นทางน้ำผ่านวิเศษชัยชาญ หน้าบ้านผมและต้นสายคือแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาท สมัยไม่มีเขื่อน ชาวบ้านได้ปลาสร้อย และสารพัดชนิดตามฤดูกาล ปลาสร้อยนั้นสุดยอดของการทำน้ำปลา ความชุกชุมของปลานั้นเรียกว่า ทำ “เรือผีหลอก” ปลาก็กระโดดเข้าเรือมากพอกินทีเดียว เมื่อสร้างเขื่อนเพื่อประโยชน์บังคับน้ำเพื่อการเกษตรก็ส่งผลต่อวิถีชีวิตปลาหายไปหมด ปลาสร้อยไม่เหลือ กุ้งน้ำจืดไม่เหลือ ปลากรายที่ทำลูกชิ้นชั้นยอดไม่เหลือ รวมไปถึงปลาบู่ ปลากะเบน ฯลฯ หมดเกลี้ยง เจ้าหน้าที่กรมชลว่าไม่เกี่ยวเพราะจำนวนพลเมืองเพิ่มขึ้นต่างหาก…

    ผมเคยทะเลาะกับกรมทางหลวงเรื่องการสร้างถนนว่าทำไมไม่ศึกษาการไหลของน้ำตามธรรมชาติแล้วเว้นถนนไว้ สร้างเป็นสะพานเพื่อให้น้ำตามธรรมชาติไหลไปตามปรกติของเขา วิศวกรกรมทางบอกว่า มีท่อมากเพียงพอแล้ว…แต่แล้วน้ำก็ท่วมสงขลาหลายปีก่อนเพราะถนน แม้ทุ่งกุลา และอีกหลายๆที่ก็มีปัญหาเพราะถนนไปขวางทางน้ำตามธรรมชาติ เพียงเพราะเหตุผลทางวิศวกรรมทางหลวงว่าืมีท่อจำนวนมากเพียงพอแล้ว.. อาจเนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการทำ EIA แม้ว่าพี่ชายอาจารย์ตุ๊จะเป็นนายช่างใหญ่กรมทางหลวงก็เคยคุยกันเรื่องนี้ ตราบใดที่ไม่เป็นนโยบายหรือไม่กู้เงิน WB ADB ฯลฯ ที่เขาบังคับการใช้เงินกู้ต้องผ่านการประเมินสารพัดประเมิน…

    อาจารย์ธรณ๊วิทยาขอนแก่นเคยเสนอสร้างเขื่อนใต้ดิน ผมเองไม่เคนศึกษารายละเอียดเรื่องนี คิดว่าโดนเทคนิคน่าที่จะมีวิธีการหลายวิธีที่จะเก็บกักน้ำยามมีมากเก็บไว้ใช้ยามขาดแคลน
    น่าจะเป็นประเด็นใหญ่ที่ถกกันให้ถึงที่สุดแล้วทำกันในระดับนโยบายลงมาจนถึง อปท.ระดับชุมชน และครัวเรือน ครับ

  • #9 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 16:17
    เขื่อนใต้ดินเป็นเรื่องใหญ่มากเลยครับพี่ [คืนแม่]

    บ่อบาดาลไม่ได้เป็นห้องโถงโล่งๆ เอาไว้เก็บน้ำ [เขื่อนส่วนตัว] แต่ว่าน้ำซึมอยู่ในชั้นดินทรายอุ้มน้ำรอบๆ ครับ การส่งน้ำลงไปในดินที่อยู่ในบันทึก เป็นแค่การเอาน้ำผิวดินเติมลงไปเป็นน้ำใต้ดินในสเกลเล็กๆ ครับ [น้ำบรรจุใหม่] อย่างน้อยก็ช่วยลดระดับน้ำท่วมได้บ้าง แถมมีเก็บไว้ในกรณีที่เกิดแห้งแล้วหนักอย่างที่เพิ่งผ่านมา

    โดยเฉลี่ย อปท. ใช้งบซ่อมสร้าง 8% แต่แบ่งงบไว้จัดการแหล่งน้ำ 2% เพราะซ่อมสร้างนั้น ได้ทำทุกปี แต่ขุดแหล่งน้ำ ได้ทำครั้งเดียว น่าเสียดายนะครับ ซึ่งเรื่องอย่างนี้ ชาวบ้านต้องถามไถ่กันเอาเอง

  • #10 ลานซักล้าง » ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (3) ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 October 2010 เวลา 19:17

    [...] ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.20405697822571 sec
Sidebar: 0.21334910392761 sec