ความเป็นเถ้าแก่: สร้างได้ แต่ยื่นให้ไม่ได้
อ่าน: 4101วันนี้ไปประชุมกรรมการของหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง
- มีกรรมการให้ความเห็นถึงเรื่องการส่งเสริมผู้ประกอบการว่า เมืองไทยไม่ค่อยมี Venture Capital
- กรรมการอีกท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า ทางภาคการเงินมีความพร้อมเรื่องเงิน แต่ขาดความรู้ในการประเมินความเสี่ยง/ความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ว่าให้เงินไปแล้ว มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน
- ส่วนอีกท่านหนึ่งให้ความเห็นว่าขึ้นกับตัวผู้ประกอบการด้วย หากเป็นคนที่ต่อสู้ ไม่ยอมแพ้ ยกตัวอย่างกางเกงในรอสโซ เจ้าของยังอายุน้อยอยู่ (<30 ?) เดี๋ยวนี้ขยายไปวางตลาดใน 7 ประเทศ ในกัมพูชา คำว่า “รอสโซ” แปลว่ากางเกงใน เหมือน “มาม่า” หมายถึงบะหมี่สำเร็จรูป
- กรรมการตั้งข้อสังเกตว่าการประกวด business case ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรณีที่ชนะเกือบทั้งหมด เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งนั้น — ความก้าวหน้า ไม่ใช่การทำเหมือนเดิม
เรื่องนี้ดูจะเป็นปัญหาไก่กับไข่
แต่ก็มีความจริงอยู่อย่างหนึ่งคือ สังคมไทยมีภาพของครอบครัวใหญ่ มีความอบอุ่น โดยที่ข้อเท็จจริงลักษณะครอบครัวใหญ่นั้นก็มีอยู่ แต่ไม่ได้มุ่งพัฒนาไปเป็นเถ้าแก่ แต่เป็นไปทางด้านการสืบทอดกิจการของครอบครัว ส่วนครอบครัวเล็กซึ่งพบเห็นตามสังคมเมือง มีจำนวนมากกว่า แต่ยังประคบประหงมเด็กเป็นอย่างมาก บางทีจบมหาวิทยาลัยแล้วยังเป็นคุณหนูอยู่เลย ถ้าเป็นผู้มีอันจะกิน ก็มักจะใช้เงินไม่เป็น หาเงินไม่เป็น แต่ถ้าชีวิตต้องต่อสู้ ก็จะไปเป็นลูกจ้าง ฝันว่าจะไต่เต้าไปสู่ความสำเร็จได้ แม้ว่าเงินจะไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกอย่างในชีวิต แต่ชีวิตก็ต้องมีกำลังจับจ่ายใช้สอยเหมือนกันครับ
จำเป็นไหมที่จะต้องเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ ผมคิดว่าจำเป็นครับ เพราะกิจการใหม่หมายถึงการจ้างงาน ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน มีชีวิตชีวา ความเป็นผู้ประกอบการใหม่นั้น มีปัญหาพื้นฐานอยู่หลายเรื่อง
- หากจะทำธุรกิจที่ตนมีความรู้ความชำนาญ ก็มักจะขาดความรู้เรื่องการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของคน และเรื่องของเงิน
- จะหาคนมาช่วย ก็ไม่ไว้ใจเขา กลัวว่าจะมาโกง ในที่สุดก็ทำเองทั้งๆที่ทำไม่ได้ดี (การทำได้ต่างกับการทำได้ดีมาก และอาจหมายถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลว)
- ระบบการศึกษาของไทย ยังเป็นระบบง่ายๆ ชอบฟันธงว่าผิดหรือถูกเหมือนทำข้อสอบ ไม่เน้นการเสริมสร้างทักษะทางความคิด และการประเมินโอกาส ทำให้คนไม่ค่อยกล้า หรือไม่ก็บ้าบิ่น
- หน่วยงานรัฐ แม้จะพยายามเข้ามาช่วย แต่ก็ติดขัดที่ทุกธุรกิจนั้น แตกต่างกันไป มีบริบทที่ไม่เหมือนกัน มีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน และมีทรัพยากรที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จ ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้ KPI ที่วัดปริมาณมาจับ
แต่ถึงกระนั้น เมืองไทยก็ยังต้องสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ให้มาก เด็กเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ควรจะเริ่มหาเงินเองบ้างครับ
« « Prev : Tony Robbins: Why we do what we do, and how we can do it better
Next : Sir Ken Robinson: Do schools kill creativity? » »
10 ความคิดเห็น
เรื่องนี้เยียมมาก อยากให้พวกเราได้อ่าน
ในเมืองไทย นอกจะจะคิดจะเขียนแล้ว
เรายังมีหน้าที่ต้องหาทางให้คนอ่านด้วย
การบ้านทุกเรื่องมีหลายขั้นตอน หลายชั้น เพราะเรากำลังอยู่ในสังคมที่ไม่ปกติ
ดีใจที่ได้อ่านเรื่องนี้ ประทับใจที่มีเรื่องนี้ใน ลานปัญญา
การเขียน การอ่าน การตอบในลานปัญญา พอไปไหวสำหรับมือเก่า
แต่มีอใหม่ขัดขับ คงต้องประชาสัมพันธ์กันต่อไป
ระบบรวดเร็วขึ้น จะขอใส่ภาพบ้างนิดหน่อยๆพอเป็นกระสายยา
เรื่องระบบเร็วขึ้น ต้องยกความดีให้กับผู้ก่อตั้ง ซึ่งโทรจากเยอรมันไปต่อว่าผู้ให้บริการที่สหรัฐหลายครั้งครับ
เมื่อวานนี้ระบบนิ่งมาก ถ้าวันนี้ยังนิ่งต่อหลังจากที่เริ่มใช้อนุทิน ผมคิดว่าเริ่มใส่รูปได้อย่างปลอดภัยแล้วล่ะครับ ที่ลองดูเมื่อคืนก็ยังนิ่งอยู่
แสดงว่าระบบเรายังพอไหว แต่ยังเร็วบ้างช้าบ้างตามธรรมชาติ
แต่ก็กลไกทางวิทยาศาสตร์นิ่งเมื่อไหร่ เราจะปรู๊ดปราดมากกว่านี้
หมู่ลองลงภาพได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
ปัญหาหนึ่งที่ยังไม่คล่อง คือตามอ่านเรื่องที่พวกเราเขียนยังไม่เร็ว งงๆ ระบบอยู่บ้าง
ปัญหาหนึ่งคือจำไม่ได้
ว่าใครเป็นเจ้าของลาน ไม่มีภาพ ไม่มีชื่อจริง
นานๆไปจะสับสนกว่านี้ จะทำยังไง
เมืองไทยก็ยังต้องสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ให้มาก เด็กเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ควรจะเริ่มหาเงินเองบ้าง
เรื่องการฝึกให้เป้นเถ้าแก่ หรือรู้จักการหาเงินเองบ้าง ตั้งแต่เด็กๆ ก้อยู่ที่สิ่งแวดล้อมและเพื่อนๆของเด้กด้วย ถ้าเจอแต่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ก็กระตุ้นยากหน่อย เรื่องเพื่อนๆ สำคัญมาก โดยเพาะเด้กผู้ชาย
เรื่องของเจ้าของลานนี่ เรื่องจริงค่ะ บางทีงงๆ ว่า ใครเป็นเจ้าของลาน
ค่ะ ขอบคุณค่ะ ตอนนี้พอทราบหมดแล้วค่ะ
สวัสดีคะ
อยากบอกว่าคนส่วนใหญ่ หรือคนรุ่นใหม่ เก่งทฤษฏีเหมือนกันคะ แต่ถึงเวลาจะลงมือทำ ขาดความกล้ามากๆๆ กลัวเสี่ยง ชอบอะไรที่ได้มาโดยไม่ต้องลงทุน (ไม่ได้หมายถึงแง่ของตัวเงินอย่างเดียวนะคะ) ส่วนใหญ่ชอบความนิ่ง เลยทำให้เราขาดคนที่จะมองไปข้างหน้า อันนี้ต่อไปในอนาคต ธุรกิจต่าง ๆ จะถูกเปลี่ยนมือไปหมด คนส่วนใหญ่ในประเทศเป็นได้แค่พนักงานกินเงินดือนเท่านั้น
ระบบการศึกษาของไทย ยังเป็นระบบง่ายๆ ชอบฟันธงว่าผิดหรือถูกเหมือนทำข้อสอบ ไม่เน้นการเสริมสร้างทักษะทางความคิด และการประเมินโอกาส ทำให้คนไม่ค่อยกล้า หรือไม่ก็บ้าบิ่น เห็นด้วยคะ บางครั้งการเอื้อในการคิดให้เขาก็เหมือนดาบสองคมย้อนมาทำร้ายระบบการคิดของเขาได้ เขาจะไม่กล้าคิดต่อยอด เพราะกลัวจะผิดจากที่เคยเห็น หรือเคยเลียน ไม่รู้จักเดิน ไปข้างหน้า ต้องรอคนจูงตลอด
ขอบคุณที่ทำให้ได้คิดรอบดึก อิอิ