เกลือ
อ่าน: 3307เกลือเป็นธาตุอาหารที่สัตว์ (รวมถึงคน) จำเป็นต้องบริโภค แต่เป็นอันตรายต่อพืช เนื่องจากทำให้การลำเลียงน้ำและสารอาหารจากราก ลำบากขึ้น
เดือนก่อน พี่บางทราย NGO ใหญ่เคยพูดถึง Salt Dome ในอีสาน ว่าเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ แต่เป็นเรื่องที่ผมไม่เคยศึกษา จึงไม่ได้คุยต่อ
ตอนนี้เวลาค้นแล้ว เห็นประเด็นบางอย่างครับ
- เขื่อนราษีไศลและปัญหาดินเค็ม: หายนะของคนอีสาน
- ดินเค็มในภาคอีสานกับปัจจัยทางธรณีวิทยา
- นักวิชาการระบุ วัฒนธรรมต้มเกลือกำลังจะตายจากอีสาน หลังอุตสาหกรรมโปแตซแทนที่
- ต่างชาติฮุปสัมปทาน เหมืองโปแตซ
- ถกปัญหาเกลือและโปแตชอีสาน…..ทางออกที่ยังไปไม่ถึง
ในเมื่อแผ่นดินอีสานเคยเป็นทะเลมาก่อน แล้วเมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้น น้ำทะเลที่ถูกกักอยู่ในแอ่งโคราชและแอ่งนครพนม ซึ่งไม่สามารถไหลลงทะเลได้ (เช่นเดียวกับ dead sea) จึงกลายเป็นชั้นเกลือขนาดใหญ่ฝังอยู่ใต้ดิน
หากมีการทำเหมืองเกลือด้วยวิธีเอาน้ำฉีด กระบวนการแยกเกลือออก ไม่สามารถทำได้สมบูรณ์ จะเหลือเป็นน้ำเกลือปล่อยทิ้งไปในธรรมชาติ เป็นผลทำให้ดินที่น้ำเกลือไหลผ่าน ไม่สามารถเพาะปลูกได้
ปัญหาของเหมืองเกลือ(โปแตช) จึงอยู่ที่กระบวนการผลิตที่ไม่เป็นมิตรกับธรรมชาติ
แต่หากน้ำที่ใช้ในการผลิตเป็นระบบปิด ก็ยังน่าพิจารณา เช่น
- โรงงานผลิตเกลือมอร์ตัน เมืองฮัตชินสัน มลรัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกา– ใช้ซูมออกด้วยเครื่องหมายลบ (-) หลายๆ ครั้งครับ จะเห็นสภาพแวดล้อมของเหมือง แต่ก็ขึ้นกับความเข้มแข็งที่จะรักษากฏหมายและสิ่งแวดล้อมด้วย
- Salt Mine (Wikipedia)
- เหมืองเกลือเวลิทซ์กา ในโปแลนด์ (เหมืองนี้ ผมเคยไปเที่ยว อากาศข้างในแห้งและเย็นสบายดี) มีลักษณะเป็นเหมืองแห้ง ที่ใช้แรงงานขุดแล้วขนออกไปบนผิวดิน ดำเนินการมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 (รูป 1 2)
แต่เมื่อเอาเกลือออกจากชั้นดินแล้ว ก็จะเกิดโพรงขึ้นใต้ดิน อาจทำให้ผิวดินยุบตัว ตรงนี้มองเป็นภัยคุกคามหรือมองเป็นโอกาสก็ได้นะครับ
หากชำระล้างขจัดความเค็มให้สิ้นไปจากโพรงใต้ดิน ก็อาจแปรสภาพไปเป็นเขื่อนใต้ดินใช้เก็บกักน้ำโดยไม่ระเหยไปในอากาศ เก็บน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลนได้ การนำน้ำลงไปเก็บในเขื่อนใต้ดิน ปั่นไฟฟ้าได้ ควรทำช่วงกลางคืนซึ่งมีความต้องการไฟฟ้าสูง และการนำน้ำขึ้นมา ทำในเวลากลางวันซึ่งมีความต้องการไฟฟ้าต่ำ หรือใช้ไฟที่กำเนิดจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้
« « Prev : การล่มสลายของประชาธิปไตย
Next : สร้างเมฆ » »
3 ความคิดเห็น
ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ส่วนการควบคุมการกระจายของเกลือ ควรใช้ธรรมชาติเยียวยาธรรมชาติ ด้วยการใช้พืชทุกชนิดทนต่อความเค็มปลูกล้อมกรอบบริเวณแหล่งเกลือ จะเป็นเขื่อนรากไม้ที่หนาแน่น จะช่วยลดการกระจายของเกลือได้ระดับหนึ่ง อีกทั้งเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวดิน ดินเค็มใช่ว่าจะเลวร้ายเสียที่เดียว หากได้รับจัดการที่ดี จะเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดของโลกก็เป็นไปได้
ที่สำคัญนะค่ะพี่หลิน ตอนนี้พืชที่ทนต่อความเค็มได้หลายชนิดเริ่มจะสูญพันธุ์ซะด้วยซิค่ะ
[...] จากบันทึกเรื่องเกลือ ซึ่งเป็นข้อกังวลเรื่องการกระจายตัวของเกลือ ทำให้ดินเค็ม เพาะปลูกไม่ได้ แต่ก่อนที่จะหาทางจัดการเรื่องนี้ให้ได้ ก็ต้องเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้นเสียก่อน [...]