เกลือกับแผ่นดินอีสาน
จากบันทึกเรื่องเกลือ ซึ่งเป็นข้อกังวลเรื่องการกระจายตัวของเกลือ ทำให้ดินเค็ม เพาะปลูกไม่ได้ แต่ก่อนที่จะหาทางจัดการเรื่องนี้ให้ได้ ก็ต้องเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้นเสียก่อน
ในอดีตกาลนานมาแล้ว อีสานเคยเป็นทะเลมาก่อน เมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้น/ระดับน้ำลดลง น้ำทะเลก็ถูกขังอยู่ใน “แอ่ง” และเมื่อน้ำระเหยไปเรื่อยๆ จึงเหลือแจ่เกลือตกตะกอนอยู่บนแผ่นดินอีสาน แล้วก็มีซากพืชซากสัตว์มาทับถม กลบฝังเกลือปริมาณมหาศาลเอาไว้ใต้แผ่นดิน ใต้แอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร
จากคำถามในบันทึก
อีสานมีฝนเฉลี่ย 1000 มม. (เกือบ)ทุกพื้นที่ แต่มีปัญหาเก็บกักน้ำไม่อยู่ เมื่อฝนตกลงมา ก็ซึมลงไปใต้ดินหมด หากชั้นของเกลืออยู่ตื้น น้ำที่มีความเค็ม ก็จะทำให้ดินเค็ม ใช้เพาะปลูกไม่ได้
กรมทรัพยากรธรณี อธิบายไว้ว่า
รูปแสดงภาพตัดขวางแสดงชั้นเกลือหิน จาก อ.พล จ.ขอนแก่น ถึง จ.หนองคาย (จาก นเรศ สัตยารักษ์, 2533)
|
||
พื้นที่ดินเค็ม บริเวณอำเภอจตุรัส จังหวัดนครราชสีมา ปรากฎคราบเกลือสีขาวพบผิวดิน ไม่สามารถทำการเกษตรได้
|
พื้นที่ห้วยคอกช้าง บ.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม เป็นพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งแม้จะ ไม่มีคราบเกลือให้เห็น แต่ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้
|
พื้นที่ หนองบ่อ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม แสดงความแตกต่างของระดับพื้นที่พื้นที่ใกล้ ระดับน้ำใต้ดินจะมีคราบเกลือบนผิวดิน ปลูกพืชไม่ได้พื้นที่เนินที่อยู่ด้าน หลัง อยู่สูงกว่า มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น
|
โดยเกลือหินชั้นล่างสุด จะมีความหนามากที่สุด และจากการที่ชั้นเกลือมีความหนาแน่นต่ำ (1.8-2.1 ตัน/ลูกบาศก์เมตร) ในขณะที่ชั้นหินที่ปิดทับมีความหนาแน่นสูง กว่า (2.5-2.7 ตัน/ลูกบาศก์เมตร) จึงเกิดความแตกต่างของความหนาแน่นระหว่าง มวลทั้งสองขึ้น ดังนั้น มวลเกลือจึงสามารถดันตัวเองให้ “ลอย” ขึ้นมา เกิดเป็น “เนินเกลือ (salt pillow)” “โดมเกลือ (dome)” หรือ “แท่งเกลือ (salt diapir)” ขนาดต่างๆ ได้ และจากการเจาะสำรวจพบว่า แท่งเกลือบางแห่งทางตอนกลางแอ่งโคราช มีความสูงถึง 1 กิโลเมตร จากระดับชั้นเกลือ เดิม (ดังรูปลำดับชั้นหินของหมวดหินมหาสารคามดัดแปลงจาก ผลการเจาะสำรวจบริเวณ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์) กรมทรัพยากรธรณีเรียกหน่วยหินที่มีชั้นเกลือหินแทรกสลับว่า “หมวดหิน มหาสารคาม (Maha Sarakham Formation)” ซึ่งลำดับชั้นดั้งเดิมประกอบด้วย ชั้นเกลือหิน (rock salt) 3 ชั้นแทรกสลับกับหินตะกอนสีน้ำตาลแดง มี ความหนารวมกันประมาณ 300-400 เมตร
« « Prev : CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา
Next : กล้าไหม » »
4 ความคิดเห็น
พี่เพิ่งส่งข้อมูลเกลือมาให้คอนนะครับ อิอิ
เกลืออีสานนั้นมีมหาศาลดังกล่าว ที่ว่าอีสานเคยเป็นทะเลมาก่อนนั้นนักธรณีก็กล่าวว่า ลักษณะการท่วมแล้วเหือดแห้งไปนั้นเป็นถึงสองครั้ง จากหลักฐานต่างๆทางธรณีวิทยาว่างั้น…
เกลือแพร่ขยายการระเหิดมาอยู่บนผิวดินและกระจายตัวกว้างขึ้นทุกปี ฟังแล้วก็น่าเป็นห่วงอนาคต แต่ก็มีการทดลองสร้างโมเดลการให้คงสภาพการไม่กระจายตัวของเกลือบนผิวดินโดยการสร้างป่า ความอุดมสมบูรณ์ของป่าจะกดทับเลกือไว้ข้างล่างเฉยๆ สมัยที่ทำงานทุ่งกุลาร้องให้ ดูเหมือนเขาจะทดลองสิ่งนี้ และพี่ก็รู้ว่า ความเค็มบนผิวดินนั้นมีทั้งโทษและประโยชน์ โทษคงไม่ต้องพูดถึงมากมายมหาศาล ส่วนประโยชน์นั้นก็คือ มันกลายเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือที่เรารู้จักข้าวมะลิ ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพดีชั้นหนึ่งของไทย ของโลก ข้าวมะลิกลับชอบดินที่มีความเค็มในปริมาณที่นักวิชาการค้นคว้ามาแล้ว(ที่มีหน่วยเป็น ppm) ดังนั้นพืชที่มีการแนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินเค็มบริเวณทุ่งกุลาคือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105
นอกจากนี้นักธุรกิจก็ทราบดีว่าเกลืออีสานนั้นทำประโยชน์มากมายมหาศาล เพียงแต่ยังไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง และดูเหมือนติดขัดหลายประการอยู่ หนึ่งในนั้นก็คือ กลุ่มอนุรักษ์นิยมก็จะต่อต้านในเชิง ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็เป็นหลักการที่ต้องรับฟัง
เคยทราบมาว่า บางแห่งบางประเทศเขาขุดอุโมงค์ในบริเวณที่มีภูเขาเกลือ แล้วทำเป็นสถานที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างได้ผล …?
ปริมาณเกลือที่มหาศาลนี้จะเอามาใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด คุ้มค่าที่สุด สอดคล้องกับเงื่อนไขต่างๆของสังคม ประเทศชาติ เป็นคำถามที่นักวิชาการคงต้องทำการบ้านกันต่อไป….
สวัสดีครับพี่
เพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาอ่านครับ ดีมากๆ เลยครับที่เอามาถกกันต่อ สำหรับทางการเกษตรนั้นผมมองว่าจะมีพืชบางกลุ่มที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ดินเค็ม
ในเบื้องต้นสามารถปลูกพืชพวกที่ดูดความเค็มเอาไปไว้ในลำต้นหรือส่วนต่างๆ ของใบ พืชพวกนี้ก็หาทางนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่นเอาไปย่อยเพื่อทำเป็นส่วนผสมของปุ๋ยในการเติมดินหรือปรับสภาพดินในบางพื้นที่ก็คงจะมีประโยชน์ บางจำพวกก็เอาไปผสมในการทำอาหารสัตว์ การใช้พืชในการดูดเกลือออกก็เป็นแนวทางทางธรรมชาติครับ แม้ว่าจะช้าเป็นก็เปิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศครับ
สำหรับการเกษตรในการปลูกพืชเบื้องต้นสำหรับพืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ดินที่ลึกมาก หากมีดินและน้ำใต้ดินไม่เอ่อท่วมขึ้นมาความเค็มก็จะไม่ย้อนกลับขึ้นมาถึงระบบรากพืช แต่ในขณะที่น้ำไหลลงดินเกลือก็จะมีการแพร่เช่นกัน จนกว่าน้ำจะอิ่มตัวเกลือก็จะแพร่ขึ้นทางด้านบน ย้อนมาจากด้านล่างขึ้นด้านบน
ปัญหาการจัดการบริหารระดับน้ำและความเค็มจึงน่าสนใจมากๆ เพราะเป็นเงื่อนไขพิเศษเพิ่มขึ้นมา หากเราจำลองการแพร่ของความเค็มในทั้งแผ่นดินอีสานก็คงจะดีครับ โดยทราบ soil profile ของทั้งระบบว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไร แล้วผสมร่วมกับระบบการไหลของน้ำที่ตกลงผิวดินก็อาจจะนำไปสู่การบริหารจัดการได้
สำหรับพื้นที่ที่มีคราบเกลือหรือเกลือบริเวณผิวดินเลย ก็คงต้องหา KM (เค็ม) กันต่อไปว่าจะนำไปใช้อย่างไร
ขอบคุณมากๆ นะครับ
[...] และใต้ดินมีชั้นเกลืออยู่ หากที่ดินแถวนั้นมีขี้เกลือขึ้นมา [...]