เตากระป๋องแบบ down draft gasifier

โดย Logos เมื่อ 21 January 2011 เวลา 6:59 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6803

เตาแบบนี้ก็ง่ายดีครับ ไม่ต้องเชื่อมด้วย เสียงบรรยายอู้อี้ไปหน่อย ดูแล้วเข้าใจดี แต่ก็ไม่รู้จะหากระป๋องขนาดเหมาะได้หรือเปล่า

  1. ใช้กระป๋องสองขนาด กระป๋องเล็กสุดในคลิปไม่ต้องใช้ก็ได้ครับ
  2. กระป๋องขนาดใหญ่สุด เป็นกระป๋องนอก เจาะรูอากาศทางด้านล่าง ส่วนฝาด้านบน เจาะวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง “น้อย” กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องขนาดกลางอยู่สัก 1 ซม.; ทั้งนี้เป็นเพราะเราจะยัดกระป๋องขนาดกลางลงไปในรูนี้ เพื่อให้เป็นกระป๋องใน เป็น burn chamber
  3. กระป๋องขนาดกลาง ใช้เป็นกระป๋องใน เจาะรูรอบๆ ทางด้านบน เจาะรูที่ฝาด้านล่างเยอะๆ เพื่อให้เป็นรูที่ก๊าซออกทางก้นกระป๋อง แล้ววกขึ้นมาข้างบน
  4. รูที่เจาะทั้งสองกระป๋อง เป็นขนาด 6 มม. ห่างกันประมาณ 2 ซม.
  5. จุดไฟที่ก้นกระป๋องจะดีกว่าด้านบนครับ

« « Prev : ทดลอง gasifier กระป๋อง

Next : สิ่งหนึ่ง นำสู่อีกสิ่งหนึ่ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 January 2011 เวลา 12:49

    ผมเห็นว่านี่เป็นแบบ updraft นะครับ (แย้งตลอดเลยนะผมเนี่ย :-) ไม่ต่างอะไรจากเครื่องก่อนนี้ เพียงแต่เครื่องนี้มันเปิดฝาบนโล่งเท่านั้นเอง 

    กระป๋องในสุดแม้ไม่จำเป็น แต่จะช่วยให้ 2_nd air ผสมกับ 1_st air ได้ดีขึ้นนะครับ เพราะตรงใจกลางของ 1_st air นั้นมันอยู่ห่างเกินไป ถ้าจะให้ดีกว่านี้ต้องทำปากกระป๋องในเป็นพลีทด้วย แต่นั่นก็ทำให้มันยุ่งยากขึ้นไปอีก

    และผมก็ยังเห็นว่านี้ก็ไม่ใช่ gasifer อย่างสมบูรณ์แบบ แต่น่าจะจัดเป็นเตาปสภ.สูงที่มีการจัดการ gas เผาไหม้ได้ดีกว่าเตาอั้งโล่ธรรมดา ผมเคยทำเตาลักษณะนี้มาแล้ว แต่ต่อท่อ เอา 2_nd air ไปเติมตรงกลางเตา ปรากฎว่าได้ปสภเพิ่มประมาณ 3-5% ผมต้องการวัดหาความเข้ม CO แต่ห้องแล็บเขาหวงเครื่องทดลอง ไม่ให้ยืมออกนอกสถานที่ ไอ้เครื่องวัดเคลื่อนที่มันประมาณ 1 แสนบาท ผมรึ่มๆว่าจะสละเงินไปซื้อมันให้รู้แล้วรอด เพราะผมเองก็สนุกกับการทดลองเตาถ่านมาก

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 January 2011 เวลา 13:10
    แย้งได้ครับ แต่ถ้าแย้งบนความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน พูดเรื่องเดียวกันจากคนละมุม ก็จะไม่จบ

    คำว่า down draft gasifier นั้น ผมถือตามสภาวะที่ว่าก๊าซที่เกิดจากกระบวนการ pyrolysis ใน burn chamber ไหลลงไปข้างล่างนะครับ

    รูของกระป๋อง burn chamber เจาะเอาไว้ด้านก้นกระป๋อง แล้วมีรูให้ก๊าซออกอยู่ใกล้ขอบของกระป๋องด้านบน สมมุติ pyrolysis เกิดที่กลางกระป๋อง ความร้อนก็จะทำให้อากาศระหว่างกระป๋องทั้งสองลอยขึ้น ทำให้เกิดแรงดูดที่ใต้ burn chamber ดึงเอาก๊าซลงมาได้

    ตามแบบของ FEMA หรือ down draft gasifier [ก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้] จะมีพัดลมคอยดูดก๊าซซึ่งผมไม่ชอบเลยครับ มันไม่ใช่เทคโนโลยีชาวบ้าน ก็เลยหาแบบที่ไม่ต้องใช้พัดลม (ซึ่งก่อนหน้านี้ จึงเลือกแต่แบบ updraft มาเขียน)

  • #3 aram ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 January 2011 เวลา 21:53

    ยังหาจุดพอดีไม่ได้ครับ ที่ว่าเปลวไฟต้องเป็นสีน้ำเงินขี้นมาแล้วลุกไหม้ไม่ดับกลางคัน
    ตอนนี้กำลังลองกระป๋องเล็กอยู่ครับ

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 January 2011 เวลา 6:32
    เปลวไฟสีน้ำเงินให้ความร้อนสูง การเผาไหม้ฟืนไม่ได้ให้ความร้อนขนาดนั้นครับ ดังนั้นจึงสามารถใช้เป็นที่สังเกตได้ว่าเกิดจากการเผาไหม้ก๊าซที่ออกมาจากเศษไม้ได้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อเนื่องคือไม่มีควัน

    แต่หากปล่อยอากาศเข้าไปผสมในอัตราส่วนที่มากขึ้น ถึงแม้ว่าเกิดจากก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้ เปลวไฟก็จะไม่ใช่สีน้ำเงิน ลองสังเกตเปลวจากเตาแก๊สดูนะครับ ใกล้หัวเตาเป็นสีน้ำเงิน แต่ปลายเปลวไฟเป็นสีเหลืองเพราะอากาศภายนอกไปผสม

    สิ่งที่ผมมองอยู่นั้น ไม่ใช่ประสิทธิภาพสูงสุดหรอกครับ แต่อยากเปลี่ยนเศษไม้ขนาดจิ๋วที่ไร้ค่า ให้เป็นแหล่งความร้อนพอบรรเทาความหนาว เตามือถือ:ลองดูลิงก์นี้พอเป็นไอเดียนะครับ ถ้าจุดเตากระป๋องครั้งหนึ่งอยู่ไปได้นาน ½-1 ชั่วโมง ดีกว่าตัดต้นไม้ที่ปลูกมาหนึ่งปีมาทำฟืนก่อกองไฟแล้วจุดไฟได้ 45 นาที

    เตามือถือที่เด็กใช้ คงเป็นเตาถ่าน ใหญ่นักไม่ได้ หนักเกินไปก็ถือไม่ไหว แล้วถ้าปล่อยควันพิษออกมากลับจะเป็นอันตราย เตา gasifier แบบกระป๋องเหมาะกว่าครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.17379999160767 sec
Sidebar: 0.29504084587097 sec