ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์สำหรับสวนป่า

อ่าน: 3658

เรื่องค่าไฟฟ้ามหาโหดก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ความไม่มีเสถียรภาพของระบบจ่ายไฟ เป็นประเด็นสำคัญที่สุดเสมอมาครับ

ไฟดับบ่อย ถ้าดับไม่นานก็ไม่เป็นไร เราอยู่โดยไม่ใช้ไฟฟ้าได้ชั่วคราว แต่ถ้าดับนานเหมือนเมื่อคราวนิสิตแพทย์ จุฬา รพ.ชลบุรีมาเข้าค่ายเมื่อหลายปีก่อน ไฟดับนาน 40 ชั่วโมง สูบน้ำบาดาลไม่ได้ น้ำในหอเก็บหมดลง เดือดร้อนกันมาก

หลักความมั่นคงสามแนวทาง: อาหาร น้ำ พลังงาน เมื่อไม่มีไฟฟ้า ก็ไม่มีน้ำ เมื่อไม่มีน้ำ ผลิตพืชอาหารได้ลำบาก ดังนั้นจึงรวนไปหมด… อาจารย์นันท์ ภักดี จัดสองอาชีวะพลังงานในเขตบุรีรัมย์หลายครั้ง ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม อาจารย์ก็ชวนให้ไปดูด้วย ก็อยากไปล่ะนะครับ แต่สวนป่ามีงานอบรมเหมือนกัน ทิ้งไปไม่ได้ จนวันหนึ่งใกล้จะหมดกำหนดของงานติดตั้งพลังไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่โณงเรียนมีชัยพัฒนา อ.ลำปลายมาศ บุรีรัมย์ ผมชวนครูบากับแม่หวีไปเที่ยวสำเร็จ จึงชวนอาจารย์นฤมลกับฤๅษีอ้นไปด้วย ก็ได้เห็นหลายอย่างครับ แต่ความต้องการของสวนป่านั้น มีชัดเจนอยู่แล้ว

อ่านต่อ »


เตาเผาถ่านไบโอชาร์รุ่นพัดลม

อ่าน: 10235

แรกทีเดียว สองจิตสองใจอยู่ว่าจะลองที่บ้านซึ่งหาอุปกรณ์ได้ง่ายหรือว่าจะยกไปทำที่สวนป่าซึ่งขนเครื่องมือไปแล้วบางส่วน

ในที่สุดก็คิดว่าไปทำที่สวนป่าดีกว่าครับ จะได้มีคนช่วยกันดูหลายๆ คน

เตาเผาถ่านไบโอชาร์แบบพัดลมนี้ เป็นถังทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแตกต่างกัน (แต่ความสูงเท่ากัน) ซ้อนกันอยู่สามถัง เมื่อมองจากด้านบน (Top View) ก็จะเห็นเป็นวงกลมสามวงซ้อนกันอยู่โดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน

image

ถังนอก เราติดพัดลม (กระแสตรงสำหรับคอมพิวเตอร์) เป่าลมเข้าถังนอกในแนวเฉียง เพื่อให้ลมที่วิ่งในถังนอก (พื้นที่สีน้ำเงิน วงนอกสุด) หมุนทวนเข็มนาฬิกา ลมที่เป่านี้ เป่าในจุดเดียวก็ได้ อากาศในถังนอกซึ่งไม่มีที่ไป ก็จะพาทุกอณูหมุนตามกันไปทวนเข็มนาฬิกาตามแรงลมเป่า

ถังกลาง ผมจะเจาะร่องสูงสัก 1 นิ้วจากของล่าง ดัดให้ลมหมุนจากถังนอก รั่วเข้าไปถังกลางได้ และเหนี่ยวนำให้อากาศในถังกลาง (พื้นที่สีแดง วงกลาง) หมุนทวนเข็มนาฬิกาเช่นกัน

ส่วนถังใน เจาะช่องเปิดเล็กๆ แล้วดัดจนลมจากถังใน (พื้นที่สีเทา วงในสุด) ไหลมมองมาถังกลาง (พื้นที่สีแดง) ได้โดยไหลทวนเข็มนาฬิกาเช่นกัน

อ่านต่อ »


หมู่บ้านโลก (4)

อ่าน: 4091

ผู้ที่ศึกษาทางพุทธมาบ้าง จะเข้าใจว่าชีวิตเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่สามารถกำหนด บังคับ ควบคุมได้ หากแต่ชีวิตนั้นมีค่า ไม่ควรปล่อยเวลาและศักยภาพทิ้งให้สูญเปล่า (”เรื่องใหญ่ของมนุษย์ มีอยู่แค่เรื่องเดียว คือเรื่องความไม่รู้ ว่าเรื่องใดน่ารู้” — คิดจากความว่าง โดยดังตฤณ)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เมื่อนำมาปฏิบัติให้ได้ผลแล้ว ชีวิตจะไม่ตกต่ำลง เนื่องจากปัจจัยสี่มาจากดิน เป็นการเก็บกินไม่ใช่ทำกิน ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเป็นลูกจ้าง ในเมื่อมีชีวิตอยู่ได้ หากสิ่งใดที่ทำแล้วเกิดคุณค่า ต่างเป็นกำไรของชีวิตทั้งนั้น ในเมื่อทุกคนเป็นนายจ้างของตนเอง จะทำกำไรได้มากเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ว่าทำสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นหรือไม่ และขยันขันแข็งเพียงใด

แต่ว่าร่างกายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา คนจำเป็นต้องหาเครื่องมือผ่อนแรงช่วยให้ เครื่องมือเหล่านี้จะเปลี่ยนพลังงานรูปหนึ่งเป็นอีกรูปหนึ่ง มีส่วนต่างที่เกิดเป็น “งาน” ขึ้น ซึ่งงานตรงนี้ เรานำเอามาใช้ผ่อนแรง เช่นแทรกเตอร์ ปั้นจั่น ปั๊มน้ำ ลิฟต์ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ​ เตา ฯลฯ คงจะพูดไม่ได้ว่าอะไรจำเป็นกว่าอะไร เนื่องจากแต่ละคนมีความจำเป็นที่แตกต่างกัน

ที่กลับมาอัพเดตความคืบหน้าของโครงการหมู่บ้านโลกหลังจากไม่ได้เขียนมาปีหนึ่งนี้ ผมไม่ได้ตั้งใจจะทำให้ใครเสียกำลังใจ ตรงกันข้ามเลยครับ ตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มทำโครงการนี้มาอย่างเงียบๆ (ซึ่งเพิ่งประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อสิ้นปีที่แล้ว) ผมได้เรียนรู้อะไรมากมาย อยากนำประสบการณ์นี้มาแบ่งปัน เพื่อให้ผู้ที่คิดจะออกจากระบบเมืองแล้วกลับสู่วิถีธรรมชาติ ได้มองเห็นประเด็นและเตรียมตัวต่างๆ ล่วงหน้า ตั้งความคาดหวังให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เมื่อพาครอบครัวออกไปสู่วิถีนี้แล้ว จะได้ไม่ต้องผิดใจกันว่ามันไม่เป็นอย่างฝันที่โรแมนติค มีอะไรจะต้องทำอีกเยอะเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรก ถ้าคิดว่าจะไปตายเอาดาบหน้า อาจได้เจอดาบเร็วกว่าที่คิดเพราะความไม่รอบคอบครับ

เรื่องความมั่นคงสามแนวทางสำหรับสวนป่าและหมู่บ้านโลกนั้น กล่าวไปแล้วในบันทึกที่แล้วว่าอาหารไม่เป็นห่วงเลย น้ำมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงและปรับปรุงได้ไม่ยาก ส่วนเรื่องที่ยังไม่ได้พูดนั้นคือเรื่องพลังงาน

อ่านต่อ »


อบแห้งพลังแสงแดด

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 April 2012 เวลา 22:13 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5340

ถ้าเรื่องนี้จะเป็นโครงงาน ก็น่าจะเป็นโครงงานระดับประถม การทำให้เกิดข้นนั้นไม่ยากหรอกครับ แต่การทำให้ดีนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ

อ่านต่อ »


ฟืนเทียม

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 January 2012 เวลา 6:11 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3162

พอไม่เขียนบันทึกทุกวัน ก็มีถามถึง

จากการที่ทดลองสร้างเตาเผาถ่าน biochar แบบง่ายๆ ที่สวนป่า โดยประสบความสำเร็จอย่างน่าชื่นชมตัวเอง ได้ความร้อนสูงโดยใช้ไม้เชื้อเพลิงน้อย [ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.] ก็เกิดคำถามตามมาว่าความร้อนเหล่านี้ จะเอาไปทำอะไรดี

ถ้าจะให้ดี ควรใช้ Cogeneration (CHP) หรือ กระบวนการแปลง syngas เป็นสารคล้ายน้ำมัน (Fischer-Tropsch process) แต่รู้สึกว่าจะไปกันใหญ่ ช่างมันก่อน เก็บเรื่องนี้ไว้แล้วหันมาดูเรื่องเชื้อเพลิงดีกว่าครับ

การใช้กิ่งไม้แห้งซึ่งไม่มีค่ามาเป็นเชื้อเพลิงนั้นก็ดีอยู่ กิ่งไม้เล็กๆ ไม่ต้องตัดต้นไม้ แค่เก็บเอากิ่งที่หักจากลม หรือหักตามอายุก็พอแล้ว หรือไม่ก็ตัดแต่งกิ่งซึ่งยิ่งตัดก็ยิ่งแตก สร้างร่มเงาให้กับดินทำให้ดินไม่เสื่อมสภาพเร็วนัก

แต่ถ้าไปเก็บกิ่งไม้เอาตอนที่จะจุดไฟ มักไม่ทันการแล้ว หมายความว่ากิ่งไม้ต้องเก็บไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งก็มีปัญหาการเก็บอีก เพราะกิ่งไม้เล็กมักจะหงิกงอไม่เป็นระเบียบ ถ้ามีผงถ่านหรือเผาถ่านแล้วแตกหักเสียหาย เราสามารถเอาถ่านมาอัดใหม่เป็นก้อนได้ (เรียกว่า charcoal briquette) จะเป็นเบ้าเหล็กกระทุ้งให้ถ่านเข้าไปอัดกันก็ได้ หรือว่าจะใช้เครื่องอัดก็ได้ มักรวมเศษถ่านเป็นถ่านก้อนใหญ่ออกมา

แต่ยังมี briquette อีกแบบหนึ่งซึ่งนำเยื่อไม้มาอัด โดยไม่ต้องเผาถ่าน เปลือกไม้และเนื้อไม้เป็นเซลลูโลสทั้งนั้น เมื่อนำมาทุบแล้วเอาไปแช่น้ำ ก็จะมีลักษณะยุ่ย จากนั้นจึงนำไปอัดรวมกันครับ

อ่านต่อ »


ว่าวปั่นไฟฟ้า

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 August 2011 เวลา 13:28 ในหมวดหมู่ พลังงาน #
อ่าน: 3776

ช่วงนี้งานเข้าครับ เอาอันนี้มาฝากก็แล้วกัน ดูไปเพลินๆ ดี

เค้าเอาว่าว ผูกโยงไว้กับพื้น แล้วใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กบนตัวว่าวบังคับให้ว่าวบินเป็นวงกลม อาการที่เกิดขึ้นที่ปีก ก็เหมือนอาการที่เกิดขึ้นที่ปลายใบพัดของกังหันลม โดย Makani Power

คลิปข้างล่าง โหลดครั้งแรกจะนานหน่อย แต่มันจะเล่นเองเมื่อโหลดจนหมดแล้ว — คลิกที่ลูกศรเพื่อเลื่อนไปดูสไลด์ต่อไปหรือก่อนหน้า

อ่านต่อ »


ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (3)

อ่าน: 4954

ต่อจากตอนที่แล้ว เอาอย่างนี้ก็แล้วกันครับ ผมอยากเขียนอะไรก็จะเขียน ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นมินิซีรี่ส์ เพียงแต่ใช้ชื่อเดียวกันเพื่อให้อยู่ด้วยกัน

ทบทวนความรู้พื้นฐานกันหน่อย ยกน้ำหนัก 1 กก. ขึ้นสูง 1 เมตร ภายใน 1 วินาที ต้องใช้พลังงาน 1 g วัตต์ (โดยที่ g เป็น gravitational constant แก้ไขตามความคิดเห็นที่ 1) — ถ้าปล่อยน้ำ 1 ลิตร (ซึ่งหนัก 1 กก) ลงจากความสูง (head) 1 เมตร ทุกๆ วินาที แล้วดักจับพลังงานได้สมบูรณ์ ก็จะได้พลังงาน g วัตต์ ถ้ากั้นลำธารที่มีอัตราไหลของน้ำวินาทีละ 1 ลูกบาศก์เมตร (1000 ลิตร) ไว้ด้วยฝายที่มีความสูง 1 เมตร แล้วดักจับพลังงานได้ทั้งหมด ก็จะได้พลังงาน g กิโลวัตต์ ซึ่งนั่นเป็นหลักการของไฟฟ้าพลังน้ำ

พื้นที่ที่เหมาะสำหรับไฟฟ้าพลังน้ำนั้น ผู้ใดได้ครอบครอง ถือว่าโชคดีมหาศาล ไม่ใช่แค่มีน้ำ แต่น้ำไหลเปรียบเหมือนพลังแห่งชีวิต ซึ่งภูมิประเทศที่มีน้ำไหลนั้น ขึ้นกับธรรมชาติว่าได้สร้างความลาดเอียงไว้ขนาดไหน แม่น้ำลำคลองลำธารก็เป็นน้ำไหล แต่เราไม่สามารถยกระดับน้ำขึ้นสูงได้ เพราะอยู่ดีๆ เราสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำไม่ได้ ถ้าเป็นฝายยังพอเป็นไปได้ (มีเงื่อนไขเยอะเหมือนกันแต่ยังพอเป็นไปได้)

สำหรับฝายเตี้ยนั้น เคยเขียนไว้หลายบันทึกแล้ว พอหาได้สองอันครับ

แต่บันทึกนี้เป็นเรื่องเกลียวของอคีมิดีส

อ่านต่อ »


ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (2)

อ่าน: 3942

ต่อจากตอนที่แล้ว ในบรรดาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้น ควรหรือไม่ควรจะใช้อะไร ขึ้นกับความเหมาะสมของพื้นที่

โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ทุกวัน เป็นสิ่งที่ถึงไม่ร้องขอก็ได้มาอยู่ดี การพยายามเอาพลังงานเหล่านี้มาใช้ (ซึ่งธรรมชาติได้แปลงไปเป็นรูปแบบต่างๆ แล้ว) เรากลับไปเรียกว่าพลังงานทดแทน

ถึงจะมีต้นทุนในกระบวนการ (A) บ้าง แต่ในระยะยาว เมื่อ Input ได้มา “ฟรี” Output ก็ควรจะ “ถูก” — ซึ่งถ้าหาก output “ไม่ถูก” ก็ไม่รู้จะทำไปทำไมนะครับ

อ่านต่อ »


ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (1)

อ่าน: 3719

เมื่อดูแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานแล้ว ก็รู้สึกหนักใจ

แผนนั้นเริ่มจากความเป็นจริงในปัจจุบัน แล้วขยายด้วยประมาณการการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งก็เชื่อได้ว่าไตร่ตรอง+สอบทานมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าการผลิตไฟฟ้าของเมืองไทยนั้น พึ่งพาก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 70 จริงอยู่ที่ก๊าซในอ่าวไทยยังมีอยู่ ซึ่งเราก็ใช้มาหลายสิบปีแล้ว แถมไม่ว่าจะเป็นก๊าซจากแหล่งใด ก็ขายเป็นสกุลดอลล่าร์สหรัฐเสมอ หากอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไป ราคาไฟฟ้าก็จะผันผวนมาก กระทบต่อเศรษฐกิจ

ในเอกสารแนบของแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2553-2573 (PDP 2010) มีความพิลึกพิลั่นที่ทำให้ผมไม่สบายใจครับ

อันแรกก็คือ จากกำลังการจ่ายไฟฟ้า (ผลิตและซื้อ) ปี 2553 รวมทั้งสิ้น 23,249 MW เป็นพลังงานทดแทนเพียง 754 MW

อ่านต่อ »


พืชน้ำมัน: ทานตะวัน

อ่าน: 4432

ความคิดเดิมที่คุยกันในบรรดาชาวเฮ ก็คิดกันว่าต้นเอกมหาชัยซึ่งเมล็ดมีน้ำมันมาก คุณภาพดีแบบน้ำมันมะกอก น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่กว่าต้นเอกมหาชัยจะโตพอที่จะออกดอกออกผลก็ใช้เวลาหลายปี ระหว่างที่รอจนเก็บเกี่ยวเมล็ดได้ ยังไม่มีคำตอบว่าจะทำอะไรดี

คืนนี้ค้นเน็ตไปเรื่อย ก็เจออีกไอเดียหนึ่งคือทานตะวันครับ เมล็ดทานตะวันเอามาบีบน้ำมัน ได้น้ำมันทานตะวันขายกันเกร่อ

ทานตะวันเป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถออกดอกให้ผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมื่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจำ นวนมากในเขตแห้งแล้งทั่วๆไป

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน มีคุณค่าทางอาหารสูง ขายได้ราคา แต่หากเกิดการขาดแคลน สามารถใช้เป็นน้ำมันพืชได้โดยตรง หรือจะใส่เครื่องดีเซลเป็นไบโอดีเซล 100% แก้ขัดไปก็ยังได้

อ่านต่อ »



Main: 0.050757884979248 sec
Sidebar: 0.14141917228699 sec