ว่าวปั่นไฟฟ้า
อ่าน: 3793ช่วงนี้งานเข้าครับ เอาอันนี้มาฝากก็แล้วกัน ดูไปเพลินๆ ดี
เค้าเอาว่าว ผูกโยงไว้กับพื้น แล้วใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กบนตัวว่าวบังคับให้ว่าวบินเป็นวงกลม อาการที่เกิดขึ้นที่ปีก ก็เหมือนอาการที่เกิดขึ้นที่ปลายใบพัดของกังหันลม โดย Makani Power
คลิปข้างล่าง โหลดครั้งแรกจะนานหน่อย แต่มันจะเล่นเองเมื่อโหลดจนหมดแล้ว — คลิกที่ลูกศรเพื่อเลื่อนไปดูสไลด์ต่อไปหรือก่อนหน้า
มีสมมุติฐานอันใหญ่ คือเค้ากะจะปั่นไฟจากลมบนเลย… ค่าพลังงาน แปรผันตาม (ความเร็วลม)³ ลมที่ระดับสูง พัดเร็วกว่าที่พัดอยู่ที่ผิวโลกมาก
อย่างไรก็ตาม ดูคร่าวๆ ก็ยังน่าสนใจอยู่ดี ว่าหากเอาใบกังหันขึ้นไปลอยที่ระดับสูงได้ โดยไม่ต้องสร้างหอ ต้นทุนการก่อสร้างก็จะลดลงมหาศาลครับ
« « Prev : เรือสำหรับพื้นที่ประสบภัย
Next : เครื่องมือรายงานสถานการณ์ » »
9 ความคิดเห็น
เรื่องเอากังหันลมไปลอยบัลลูนนั้นผมคิดมานาน (ท่านคอนดัคเตอร์คงจำได้สมัยอยู่ sct) เผลอๆ อาจเป็นคนแรกก็เป็นได้ ปัญหาคือ การตกท้องช้าง ดังนั้นควรใช้กังหันลมแกนตั้ง มีปัญหาอื่นๆอีกเช่น ต้องเติมลมบอลลูนเพราะมันมีการซึมรั่วออก เรื่องความหนักของเส้นเชือกผูก และ เส้นลวดทองแดดนำกระแสไฟ เรื่องการบิน
สำหรับเครื่อง Makani จะมีปัญหายิ่งกว่ากังหันลมเสียอีก เพราะเส้นเชือกผูกจะต้องแข็งแรงมาก = หนักมาก เราะเกิดแรงดึงมหาศาล ไม่รู้จะแบกนน. ตัวเองได้หรือเปล่า ยังค่าพลังงานที่จะต้องหมุนตัวเองอีกเล่า การเปรียบเทียบกับกังหันลมยังไม่ยุติธรรมนัก เพราะไม่ใช้พื้นที่วงกลมด้านใน ใช้เฉพาะปลายปีกมาคิด แต่ข้อเสียคือ เวลาเอาไปติดเป็นฟาร์มหลายๆตัว มันจะกินพื้นที่มากกว่าปกติ เพราะใช้พื้นที่ไม่เต็มพื้นที่นั่นเอง อีกอันคือเรื่องเสียง ลมแรงก็เสียงแรง ติดใกล้ชุมชนคงลำบาก
แต่ก็เป็นไอเดียที่แปลกดีครับ ถ้าไม่ต้องมีเชือกผูกจะดีมาก ใช้สนามแม่เหล็กยึดไว้กับพื้น ส่วนกระแสไฟฟ้า ก็ส่งเป็นความเข้มสนามแม่เหล็กลงมาเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าบนพื้นโลก
อ้าว..ลืมดาวเทียมเทียมไปเลยครับ ผมว่ายังใช้ได้ดีอยู่นะครับ ช่วยน้ำท่วมก็ได้ คือ เอากล้องไปติดไว้ส่องหาสภาพน้ำท่วมรอบบริเวณ รวมทั้งสัญญาณวิทยุติดต่อสือสาร เครื่องบินทหารตกป่า ก็ช่วยค้นหาได้
พลังงานที่จะใช้ ก็เอากังหันลมไปลอยไว้ซะเลย
ตอนผมจะกลับเมืองไทย บอกลา sct ท่านผอ. nectec ท่านยังแซวว่า อ้าว..เสียดายกังหันลมบัลลูนที่คิดจะทำ
เสาสัญญาณมือถือ นั้น ถ้าเราเอาบัลลูนไปไว้แทน จะถูกกว่าไหม ก็น่าคิด ที่แน่ๆ สูงกว่า และกินเนื้อที่น้อยกว่า อาจใช้ในป่าสงวนได้ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมนะครับ
ในส่วนของพื้นที่ลาดเอียงที่ประสบภัยน้ำป่า ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ต้องเอาเครื่องบินหรือ UAV+GPS บินถ่าย ถ่ายแล้วถ่ายอีกครับ iwhale เคยเสนอในที่ประชุม คชอ.หลายครั้ง แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น (เพราะไม่มีคำสั่งจากแม่ทัพ จึงเคลื่อนกำลังไม่ได้) ตอนนี้ใช้วิธีแก้ขัดทำแผนที่สถานการณ์ไปก่อนครับ
ส่วนภาพถ่ายมุมสูงของพื้นที่น้ำขัง ก็จะเห็นว่าควรจะสูบน้ำไปทางไหน (ไม่ใช่สูบวนไปวนมา)
การถ่ายรูปที่เห็นขอบเขตของน้ำท่วม ทำให้รู้ contour ของพื้นที่ + รู้ว่ามีชาวบ้านกี่คนที่ได้รับผลกระทบ => คำนวณปริมาณและความถี่ที่จะต้องส่งปัจจัยสี่ลงพื้นที่ประสบภัย + วางแผนเรื่องเส้นทางนำความช่วยเหลือลงพื้นที่ครับ
เรื่องการที่ดาวเทียมไม่ real time นี่แหละครับ ที่ผมคิดไว้แต่แรกว่า ballon ติดกล้อง จะให้ภาพ realtime รอบด้านดีกว่า ทำให้ศุนย์บัญชาการสั่งการโน่นนี่เพื่อบรรเทาภัยได้อย่างทันการ
time scale ของดาวเทียมจริงนั้นเป็นวัน แต่ของดาวเทียมเทียมเป็นวินาที มันละเอียดกว่ากันมาก
เอาไปใช้ปราบโจรใต้ รบเขมร ก็ได้นะครับ ไม่ต้องไปเอาเรือเหาะให้มันสอย เรือเหาะพวกนี้เอ็ม 16 ก็สอยได้แล้ว
เอว่าแต่ว่า ขอเรือเหาะมาถ่ายวิดิโอ ช่วยน้ำท่วมก็ได้นะครับ หรือว่าเราเอาบัลลูนติดรถปิ๊กอัพ ไปแลกกับเรือเหาะดี
แนวคิดนี้ได้ข่าวว่าม.เกษตรเอาไปทำเพื่อสำรวจพื้นที่เกษตรแล้วนะครับ (ฮื่อๆ ไอเดียผมแท้ๆ แต่ไม่เป็นไร เอาไปเลย ขอให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม เราก็ได้บุญทางอ้อมแล้ว แม้ไม่มีใครอ้างถึง)
อ๋อย ขออภัย ลืมไปจำได้ว่า กองทัพเรือ usa ก็เอา radar ลอยฟ้าด้วยบัลลูน ตรวจจับ เรือเถื่อนมาก่อนที่ผมคิดได้ ตอนอยู่ sct เพียงแต่ว่าผมคิดเองไม่ได้ลอกเขา มารู้ทีหลังว่าเขาก็คิดมาก่อนแล้ว
สำหรับการแก้น้ำท่วม ต้นทุนก็ต่ำกว่ามากครับ ระดับ 1-3 ล้าน แต่ยิงดาวเทียม 5 พันล้าน ยังไม่นับงบดำเนินการ resolution ก็ดีกว่า เพราะอยู่ใกล้