เครื่องมือรายงานสถานการณ์
อ่าน: 3461วันนี้ไปประชุมแถวๆ รังสิต แต่ประชุมไม่ค่อยรู้เรื่องหรอกครับ
มีกรรมการท่านหนึ่ง พยายามจะพูดตลอดเวลา ไม่ค่อยฟังผู้ที่มาเสนอขอทุนวิจัย ผมว่ากรรมการมีสิทธิ์จะได้ความกระจ่างนะครับ แต่เวลาเค้าอธิบายก็ไม่ฟังเสียอีก พิลึกจริงๆ
ระหว่างรอให้พูดจบอย่างไม่ค่อยมีประเด็น ผมคิดไปถึงโปรแกรมง่ายๆ ที่จะนำข้อมูลจากพื้นที่ประสบภัย กลับเข้ามายังแนวหลัง เพื่อเตรียมการช่วยเหลือให้ได้อย่างตรงประเด็น ผมก็เลยโหลดโปรแกรมถ่ายภาพที่มี geotagging สำหรับแอนดรอยด์มาลองหลายตัว ตัวที่ชอบใจชื่อ GeoCam ของ SITIS ซึี่งมีรายละเอียดตามลิงก์นี้ โปรแกรมนี้ฟรีครับ
ที่ชอบเพราะโปรแกรมอ่านค่าพิกัด (ได้ทั้งค่าพิกัดหยาบๆ จากสัญญาณโทรศัพท์มือถือหรือ MAC address ของ Wifi (coarse) และพิกัดที่อ่านได้จาก GPS (fine)) ถึงปิด GPS ได้ค่าพิกัดหยาบๆ ก็ยังไม่เป็นไร เพราะอย่างน้อยเรารู้ว่าอยู่บริเวณไหน
ประเด็นสำคัญคือเมื่อเปิดโปรแกรมครั้งแรก ต้องเปิดใช้ค่า Location Services ทำครั้งเดียว อยู่ไปได้ตลอด หากไม่เปิดใช้ GPS ความแม่นยำก็จะลดลง แต่ไม่ถึงขนาดผิดหมู่บ้าน ผิดตำบล ผิดอำเภอ หรือผิดจังหวัดหรอกนะครับ
ผมลองถ่ายมาหลายรูป แต่เอามาให้ดูรูปเดียวระหว่างขับรถไปประชุม ถ้าใครอ่าน EXIF ได้(ครบ) คลิกบนรูปข้างล่าง แล้วโหลดไปตรวจสอบได้ครับ ผมใช้ ExifTool อ่านได้ถูกต้อง
http://lanpanya.com/wash/files/2011/08/cvb00002.jpg
รูปทั้งสอง มีวันเวลาที่ถ่ายรูป พิกัด และ User Comment
ทีนี้ หากผู้ช่วยเหลือลงพื้นที่ไป แทนที่จะบรรยายความมาอย่างยืดยาว (ซึ่งไม่แน่ว่าจะครบถ้วน) ใช้วิธีถ่ายรูป พร้อม geotagging มา ยิ่งกว่านั้น โปรแกรม GeoCam ยังแทรก User Comment ลงไปใน EXIF ได้อีก และแทรกหลังจากถ่ายรูปเมื่อไรก็ได้ ไม่ต้องพิมพ์(และอัพโหลด)ทันที
การที่เขียนรายละเอียดแบบ offline ได้ มีข้อดีคือผู้ที่ลงพื้นที่ ไม่ควรจะพิมพ์บนมือถือและ/หรืออัพโหลดข้อมูล ทั้งนี้เนื่องจากในพื้นที่ประสบภัย มีอันตรายแฝงอยู่เสมอ ดังนั้นหูตาต้องว่องไว รักษาความปลอดภัยของตัวไว้ก่อน ไม่อย่างนั้นก็ไปช่วยใครไม่ได้
เมื่อกลับที่พัก ที่มี Wifi หรือสัญญาณมือถือ จึงตรวจทานข้อความและอัพโหลดภาพพร้อมคำบรรยายได้ — แต่ถึงไม่ใส่คำบรรยายเลย ภาพ+เวลา+พิกัด ก็พอบอกอะไรได้มากแล้วครับ
สมาร์ทโฟนอื่นๆ ทำ geotagging และอัพโหลดภาพแบบนี้ได้เหมือนกัน… ในที่สุดแล้ว คงเขียนโปรแกรมอัพโหลดข้อมูลไปรวมกันที่เซอร์เวอร์กลางเครื่องเดียว ก่อนจะส่งลง social network และเปิดให้ผู้สนใจชมบนเซอร์เวอร์กลางนะครับ
สถานการณ์ภัยพิบัติเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดังนั้นต้องมีโปรแกรมคอยแยกแยะข้อมูลเก่ากว่าสามวันออกไป
แต่ถึงไม่ใช่สถานการณ์น้ำท่วมหรือภัยพิบัติอื่นๆ ก็ใช้โปรแกรมลักษณะแบบนี้ รายงานข้อมูลอื่นได้ เช่นถนนหรือสาธารณสมบัติที่เสียหาย ต้องการให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องซ่อมแซม หรือว่าถ่ายภาพรถติด การประสบเหตุร้ายต่างๆ หรือเทศกาลทั่วไทย ฯลฯ
Next : การจราจรหน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร » »
3 ความคิดเห็น
จึงโหลดมาเล่นโดยพลัน
แต่ถ้าเกิดไม่ชอบใจ จะอัพโหลดผ่าน Gallery มาตรฐาน ต้องสแกน sdcard ก่อนครับ ใช้ SDrescan ก็ดีเหมือนกัน
มือถือก็มีฟั่งชั่นนี้ เพิ่งลองใช้ดู ก็ใช้ได้ดีครับ ต้องใช้บ่อยๆ เดี๋ยวขาดทุน อิอิ