หลุมหลบภัย
อ่าน: 4409ข่าวการสู้รบที่ชายแดนแสดงอาการไม่ค่อยดี มีพลเรือนได้รับผลกระทบโดยตรงด้วย ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
รูปทรงเรขาคณิตที่รับแรงได้ดีที่สุดคือทรงกลม ซึ่งสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันเคยใช้บังเกอร์ส่วนตัวเป็นรูปทรงกลม แต่บังเกอร์แบบนี้ก็มีปัญหาในตัวเอง คืออยู่ได้คนเดียว ไม่เหมาะสำหรับเป็นที่หลบภัยสำหรับพลเรือนจำนวนมาก
บังเกอร์ที่ตั้งอยู่บนพื้น จะเป็นเป้าหมายของกระสุน จึงควรลงไปหลบอยู่ใต้ดินมากกว่า โดยขุดดินลงไปให้กว้างพอ แต่ไม่ต้องลึกนัก เป็นลักษณะแบบสนามเพลาะ เอาไว้หลบอย่างเดียว
สนามเพลาะแบบเปิดด้านบน สร้างง่าย รวดเร็ว แต่ไม่สามารถจะกันสะเก็ดจากด้านบนได้ ระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่ จรวด หรือระเบิดจากเครื่องบิน ระเบิดขึ้นด้านบน แต่ส่งแรงอัดไปยังดินด้วย แม้แรงส่วนใหญ่ (น่าจะ) ลงในแนวดิ่ง แต่ก็มีแรงที่ส่งออกทางด้านข้างด้วยเหมือนกัน
ดังนั้นหากใช้ท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 เมตร วางลงไปในสนามเพลาะที่ขุดขึ้น แล้วเอาดินกลบตรงกลางโดยเปิดหัว-ท้ายไว้ ก็จะเป็นบังเกอร์อย่างดี
ข้อมูลจาก บจก.ผลิตภัณฑ์สากลคอนกรีต เครือซีเมนต์ไทย ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 เมตร เสริมเหล็กขนาดต่างๆ กัน แสดงขนาดของแรงที่ทำให้ท่อแตก
แรงที่ทำให้ท่อแตก | ||
แบบ | N/m | kg/m |
ค.ส.ล. 1 | 168000 | 17131 |
ค.ส.ล. 2 | 120000 | 12236 |
ค.ส.ล. 3 | 78000 | 7953 |
ค.ส.ล. 4 | 60000 | 6118 |
สำหรับสถานที่ราชการและที่ที่อาจจะเป็นเป้าหมาย ก็ควรใช้ท่อสเป็คสูงไว้ก่อนครับ แต่ความรู้สึกส่วนตัว คิดว่าสเป็คอันต่ำสุด น่าจะพออยู่แล้ว
« « Prev : ดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้า
Next : การขอรับบริจาค เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้อพยพภัยจากการสู้รบ » »
ความคิดเห็นสำหรับ "หลุมหลบภัย"