เสริมตลิ่ง
เรื่องเขื่อนเขียนไว้หลายบันทึกแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง [กระสอบทราย]
เนื่องจากวันนี้ จะต้องไปประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชเรื่องแผนป้องกันน้ำป่าแถบเขาใหญ่ ก็ขอเอาตัวอย่างของเขื่อนผ้าใบ(แบบใหม่)มาเล่าอีกทีนะครับ หาเรื่องมาเขียนใหม่ทั้งหมดไม่ทันแล้ว
เขื่อนผ้าใบมีหลักการเหมือนกระสอบทราย ตือใช้น้ำหนักของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน กดลงดิน ใช้ความเสียดทานกั้นน้ำไว้ไม่ให้แทรกเข้ามาหลังเขื่อน มีข้อดีคือใช้วางบนภูมิประเทศสูงๆ ต่ำๆ ได้ ไม่ต้องปรับฐานให้เรียบ ภายในแทนที่จะใส่ทราย ก็ใส่น้ำลงไปแทน เอาน้ำที่ท่วมนั่นแหละเติมครับ วางแนวต่อกันเป็นแถวยาวๆ ได้ การต่อระหว่างชุด เมื่อใสน้ำแล้ว ถึงจะปลิ้นออกเล็กน้อย ทำให้แนวสองชุดเบียดประกบ กั้นน้ำได้
ตามความเห็นที่ให้เอาไว้ในบันทึกกระสอบทราย ถ้าใช้สัณฐานสามเหลี่ยม ระดับน้ำหน้าเขื่อน ไม่ควรจะเกินครึ่งหนึ่งของความสูง แต่เมื่อใช้สัณฐานเป็นลูกซาละเปาแบบในบันทึกนี้ ก็อาจสูงขึ้นได้อีกครับ [รูปการใช้งาน]
ถุงผ้าใบชั้นเดียว เมื่อเติมน้ำข้างใน ก็จะกลายเป็นลูกซาละเปา แต่ว่าน้ำมีแรงดัน ก็อาจจะทำให้ลูกซาละเปา ไถลไปข้างๆ ได้ นอกจากนั้น แรงดันน้ำจากด้านหน้า ก็จะทำให้ถุงโป่งที่ด้านหลัง ถ้าไม่แข็งแรงพอ ถุงอาจปริขาดได้ หยุ่ยๆ หยุ่นๆ ดึ๋งๆ แล้วมันอาจจะกลิ้งได้ | ||
ถ้าวางซาละเปาสองแถว เพิ่มพื้นที่ฐาน จะมีแรงเสียดทานเพิ่มขึ้น แต่ว่าซาละเปาอาจเริ่มกลิ้งได้เหมือนกัน | ||
ถ้านำถุงสองลูกที่ติดกันมาวาง ก็จะมีแรงเสียดทานมากขึ้น ไถลได้ยากขึ้น แต่ซาละเปาลูกหน้าอาจลอยได้ ถ้าหากน้ำหนักของน้ำภายในถุงกับแรงดันของน้ำจากภายนอกไม่สมดุลย์กัน | ||
วิธีการที่ใช้แก้ปัญหา คือการใช้ถุงสองชั้นครับ ถุงใหญ่ที่ชั้นนอก บรรจุถุงเล็กอยู่ภายในสองถุง เวลาเติมน้ำ ก็เติมที่ถุงในทั้งสอง การเพิ่มถุงชั้นนอก ป้องกันการกลิ้งได้ครับ |
ทีนี้แทนที่น้ำขึ้นให้รีบตัก ก็เปลี่ยนเป็นน้ำขึ้นให้รีบเติมซาละเปา
ย้ำอีกที ถุงผ้าใบมีสองชั้นครับ ผ้าใบถุงนอก บรรจุถุงผ้าใบที่เล็กกว่าอยู่สองใบ ซึ่งวางถุงนอกตามแนวที่ต้องการ จากนั้นก็เติมน้ำใส่ถุงในจนเต็ม ก็จะเป็นตลิ่งเทียมแบบง่ายๆ ได้ ไม่ต้องใช้ผ้าใบก็ได้ กระสอบก็น่าจะยังไหวครับ — ถ้าสร้างเขื่อนดินได้ เขื่อนดินก็ง่ายและถูกสตางค์ดีนะครับ
Next : ประชุมกับ CSR โคราชอีกที » »
ความคิดเห็นสำหรับ "เสริมตลิ่ง"