ความเป็นธรรมเรื่องพื้นที่น้ำท่วม

อ่าน: 4689

คงไม่มีใครอยากให้น้ำท่วมหรอกครับ แต่มันก็ท่วมนะ การไหลของน้ำเป็นไปตามหลักง่ายๆ แต่ในสภาพพื้นที่กลับมีความซับซ้อนมากมาย

ทำไมน้ำท่วมปักธงชัย เพราะติดทางหลวงหมายเลข 304 เมื่อไหลว่าปักธงชัย ไปโชคชัย ก็ติดทางหลวงหมายเลข 24 อีก เมื่อน้ำไหลผ่านช่องแคบๆ ไปได้ช้า ก็จะยกตัวเอ่อขึ้นล้นตลิ่ง กลายเป็นน้ำท่วม

ทำไมไม่ปล่อยให้น้ำท่วมกรุงเทพบ้าง

(ยังไม่รู้เลยว่าจะท่วมหรือไม่) รอบๆ กรุงเทพก็ถนนเยอะเช่นกัน เยอะที่สุดในประเทศเลยก็ว่าได้ อันที่ทำให้กรุงเทพเป็นไข่แดงที่น้ำ(ยัง)ไม่ท่วมคือทางหลวงหมายเลข 9 ซึ่งเรียกว่าถนนวงแหวนรอบนอก แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งนำน้ำลงมาจากทางเหนือนั้น เจอคอขวดแถวอยุธยา กล่าวคืออัตราการไหลของน้ำเหลือน้อยลง จากไหลได้ ~3,000 ลบ.ม./วินาที เหลือเพียง ~2,000 ลบ.ม./วินาที ถ้าอัตราการไหลของน้ำไม่เกิน 2,000 ลบ.ม./วินาที น้ำก็ไม่ล้นตลิ่งที่อยุธยา

แต่น้ำเหนือหลากมาเร็วกว่านั้นมาก บางวันถึง 4,000 ลบ.ม./วินาที น้ำในปริมาณมากนอกจากล้นตลิ่งแล้ว ยังดันน้ำที่อยู่เหนือขึ้นไปด้วย ทำให้น้ำยกตัวล้นตลิ่งเหนือขึ้นไป ดังที่ปรากฏเป็นเหตุอุทกภัยใหญ่ในขณะที่เขียนนี้

[หากใครยังไม่ได้ดู ก็ขอให้แวะดู Google Maps ซึ่งเพิ่งจะอัพเดตภาพถ่ายจากดาวเทียมเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้เห็นขอบเขตของความเสียหาย]

ทีนี้มาดูแผนที่เหนืออยุธยา เมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน อ.ป่าโมก อ่างทอง ลงมาถึง ต.โผงเผง อ.ป่าโมก แม่น้ำไหลไปทางตะวันออกไปยังตัวจังหวัดอยุธยา แต่มีคลองใหญ่แยกออกไปทางตะวันตกเข้าสู่โครงการชลประทานเจ้าเจ็ด-บางยี่หนอีกเส้นหนึ่ง [น้ำมาก ก็เป็นปัญหาอีก] เมื่อน้ำล้นตลิ่งฝั่งตะวันตกแล้ว มันจะไม่ไหลกลับข้ามแม่น้ำมาท่วมกรุงเทพฝั่งตะวันออกหรอกครับ น้ำไหลไปตามภูมิประเทศของพื้นที่

เหนือกรุงเทพฝั่งตะวันออก นอกจากทางหลวงหมายเลข 9 แล้ว ก็ยังมีถนนจากแยกบางปะอิน-สระบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1) กันอยู่อีกชั้นหนึ่ง แนวถนนหลายชั้น แล้วยังมีทางหลวงหมายเลข 31 (มอเตอร์เวย์) ปกป้องสนามบินสุวรรณภูมิและสมุทรปราการจากน้ำเหนืออยู่อีกครับ

เอาล่ะครับ ทีนี้ถ้าปล่อยน้ำปริมาณมหาศาลลงมา กรุงเทพก็อาจจะท่วมได้ (ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าไม่เคยท่วม) แต่ที่หนักกว่าคือชาวบ้านแถวอ่างทอง ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม นนทบุรี และสมุทรสาคร เพราะน้ำจะล้นตลิ่งตลอดทางของแม่น้ำ

กรุงเทพเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ จากรายงานประจำปีของกรมสรรพากร ปี 2552

ซึ่งแบ่งตามเขตพื้นที่ของกรมสรรพากร ภาค 1-3 คือกรุงเทพ เก็บภาษีได้ 50.9% ของภาษี(สรรพากร)ทั้งประเทศ; ภาค 4 ภาคกลางเหนือกรุงเทพ 6.8%; ภาค 5 ภาคตะวันตก 16.8%; ภาค 6 ภาคตะวันออก 2.8%; ภาค 7-8 ภาคเหนือ 1.7%; ภาค 9-10 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.0%; และ ภาค 11-12 คือภาคใต้ 2.2% — ที่เหลือเป็นกองคลังและหน่วยงานอื่น

งบประมาณแผ่นดิน ไม่ได้แบ่งมาลงกรุงเทพ 50.9% หรอกนะครับ — (ผมไม่ได้อยู่กรุงเทพ เดี๋ยวนี้ไม่ได้เข้าไปในเขตกรุงเทพบ่อยนักอีกแล้ว แต่กรุงเทพนั้นเป็นพื้นที่สำคัญจริงๆ ครับ)

« « Prev : การจัดการสิ่งที่จัดการไม่ได้

Next : ปั๊มน้ำกู้ชาติ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 October 2010 เวลา 5:59

    รู้ทั้งรู้ว่าอยู่ในแอ่งกะทะ ก็ก่อสร้างกันเหลือเกิน ถ้ากระจายตัวออกภูมิภาค
    การกระจายความเจริญพิ้นฐานก็ค่อนข้างดีแล้ว
    ต่อไปลดสิ่งก่อสร้างในเมืองหลวง
    กรมกอง หน่วยทหาร โรงงานขนาดใหญ่
    ออกมา ผู้คนก็จะออกมาตาม
    การสื่อสารก็สะดวกแล้ว น่าจะตัดสินใจได้
    น้ำท่วมปีหนึ่งๆใช้งบประมาณซ่อมแซม/ชดเชย เป็นหมื่นล้าน
    น่าเสียดาย แผ่นเสียงตกร่องกับเรื่องนี้ทุกปีๆ
    ถ้ามันมากขึ้นๆกว่านี้ละ
    -ยังมีเรื่องแห้งแล้งอีกนะ ต่อไปก็จะวิบัติพอๆกัน

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 October 2010 เวลา 18:16
    กรุงเทพไม่ค่อยมีการก่อสร้างถนนหนทางหรอกนะครับ ที่ดินแพงครับ ถนนที่กล่าวในบันทึกนี้ เป็นทางหลวงแผ่นดิน หลายถนนก็อยู่ในเขตจังหวัดรอบๆ กรุงเทพ

    ผมเคยถามแม่ยกรัฐบาลนี้ท่านหนึ่ง ว่าสร้างรถไฟฟ้ากันทำไมเยอะแยะ สู้เอางบไปสร้างเมืองหลวงใหม่เตรียมพร้อมไม่ดีกว่าหรือครับ [ย้ายเมืองหลวงเถิดครับ] ได้รับคำตอบว่าบางทีการเมืองก็เป็นเรื่องของคะแนนเสียง


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.092825174331665 sec
Sidebar: 0.13736796379089 sec