งานอาสาสมัครกับ Crowdsourcing
ในบางกรณี อาจจัดงานอาสาสมัครเป็น Crowdsourcing ได้ในแบบหนึ่ง
Crowdsourcing เป็นฝูงชนอิสระที่มีพลัง (แต่ตัวคนเดียวไม่มีพลังพอ) ที่ทำให้ความเห็นเล็กๆ การกระทำเล็กๆ กลายเป็นสิ่งที่มีค่า — ทั้งนี้เป็นเพราะคนแต่ละคนแตกต่างกัน จึงเลือกทำอย่างที่ตนทำได้ดี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น Wikipedia ซึ่งแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้ และถูกตรวจสอบโดยคนอื่น ไม่มีใครเขียน Wikipedia ทุกเรื่อง ไม่มีใครทำทุกเรื่อง หรือพยักหน้าหงึกๆ กับทุกเรื่อง แต่ทั้งหมดร่วมกันสร้าง Wikipedia ให้เป็น Wikipedia; ในมุมหนึ่ง ก็เป็นการก้าวข้ามลักษณะพวกมากลากไป ทำอะไรเหมือนกันไปหมดทุกคน หรือมีขาใหญ่ที่รู้ไปหมดแล้วสั่งลูกเดียวไม่ฟังใคร
ไม่ใช่ว่า Crowdsourcing จะสำเร็จไปทุกกรณี คลิปข้างบน เสนอความคิด 4 องค์ประกอบ ซึ่งผมตีความแบบพิเรนเอาเองให้เข้ากับกรณีอาสาสมัคร
- รวบรวมกลุ่มคนที่มี “เป้าหมายร่วม” อันเดียวกัน ต่างมุ่งไปทางเดียวกันโดยอิสระ คนละเว็คเตอร์ก็ไม่เป็นไร พอปรับได้ ถ้าไม่มีเพี้ยนเลยซิครับ แปลก
- มี “เครื่องมือ” สำหรับทำงานร่วมกัน ร่วมมือกันได้ สื่อสารกันได้ ต่างคนต่างตัดสินใจได้เองแต่ยังคงมุ่งไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องรอคำสั่งจากใคร ทำเมื่อสะดวก ไม่ฝืน ไม่เบียดเบียนตัวเอง
- มีการจัดการ ประสานงาน ให้ข้อมูล ติดอาวุธ เพื่อให้กลุ่มคนมีพลัง สามารถทำงานที่ตนเลือกทำเองอย่างดีที่สุด ผลงานของแต่ละคนเป็นส่วนประกอบของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของกลุ่ม เพียงแต่ว่าแต่ละคนไม่ต้องแบกรับภาระทั้งหมด ต่างคนต่างทำในส่วนที่ตนทำได้ดีเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน — การจัดการ การประสานงาน จะชี้ให้เห็นเองว่าตรงไหนมีคนทำน้อยไป หรือมีคนไม่พอ ตรงไหนมีคนมากไป งานไหนเสร็จก่อนงานอื่น
- กล้าๆ หน่อยครับ!!! เลือกเป้าหมายร่วมที่มีความหมาย มีคุณค่า เป็นประโยชน์ร่วมกันของทุกคน จะได้รู้กันว่า คนหลายๆ คน ที่มีเป้าหมายร่วมกัน…จะทำอะไรได้ ในที่สุดแล้ว ผลงานก็เป็นประโยชน์ร่วมกันอยู่ดี
ในโครงสร้างการจัดการอาสาสมัครนั้น จะเป็นต้องมีเครื่องมือให้อาสาสมัครหน้างานทำงานได้ จะต้องรู้ว่าพื้นที่ตรงไหนเดือดร้อน เข้าถึงได้อย่างไร ต้องการอะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้ อาจใช้วิธีโทรประสานงานกับศูนย์ฯ ก็ได้ เมื่อทีมตกลงจะออกไปยังพื้นที่ ทางศูนย์ควรจะลงเวลาและรายละเอียดเอาไว้ด้วย ทีมอื่นจะได้ไม่ลงไปซ้ำซ้อน ตลอดจนไม่เข้าไปอีกถี่เกินไป-แบ่งกำลังไปช่วยพื้นที่อื่นบ้าง
โครงสร้างแบบนี้ ดูไปดีๆ ก็ไม่แตกต่างจากโครงสร้างแบบปิรามิดเท่าไหร่หรอกนะครับ เพียงแต่เป็นปิรามิดที่มีหลายยอด แต่ละยอดคือแต่ละทีม ตัดสินใจได้เอง ดึงข้อมูลเฉพาะพื้นที่จากส่วนกลางมาประมวลได้เอง รับฟังคำแนะนำจากศูนย์ประสานงาน ซึ่งในที่สุดอาสาสมัครหน้างานจะตัดสินใจเอง เพราะรู้ข้อจำกัดในพื้นที่มากกว่า — ส่วนกลางช่วยประสาน แจ้งข่าว และจัดสรรทรัพยากรส่งไปช่วย
ต้องไม่ลืมว่าอุทกภัยเกิดในวงกว้างมาก พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ก็ยังมีภัยอยู่นะครับ
เรื่องของงานอาสานั้น ขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง แต่ไม่น่าจะขึ้นกับความคิดว่าตัวคุณ “คนหนึ่งคน” ทำอะไรแล้วไม่เกิดผลหรอกครับ — คนแต่ละคนที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ มีความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกัน สามารถทำประโยชน์ได้แน่นอน สำคัญว่าลงมือทำหรือเปล่า และทำในสิ่งที่ทำได้ดี เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือเปล่า
ผมดีใจที่ทีวีไทยรับฟังข้อเสนอแนะเมื่อตอนประชุมเมื่อสองวันก่อน โดยใช้ข้อมูลเชิงแผนที่มากขึ้นครับ
Next : น้ำท่วม ข้อมูลก็ท่วมด้วย » »
3 ความคิดเห็น
[...] งานอาสาสมัครกับ Crowdsourcing [...]
http://www.prasong.com/highlight/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%96%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%96%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8/
[...] งานอาสาสมัครกับ Crowdsourcing เมื่อปริมาณสร้างทางเลือกให้มากขึ้น ทางเลือกนำสู่สิ่งที่ดีกว่า แต่… ปัญญาของฝูงชน Tags: การตรวจสอบ, น้ำท่วม, พื้นที่เสี่ยง, ภาพถ่าย, วิเคราะห์, แผนที่ บทความที่เกี่ยวข้อง [...]
[...] เอาแนวคิด crowdsourcing [...]